พยัญชนะท้าย (ตัวสะกด)


กบ /ป/ และ กด /ต/

พยัญชนะท้าย  (ตัวสะกด)

                มาตรตัวสะกด  มี  ๙  มาตรา  ดังนี้

๑.   ไม่มีตัวสะกด  ๑  มาตรา  คือ  แม่ก กา

๒.  มีตัวสะกด  ๘  มาตรา  คือ  แม่  กง  กม  เกย  เกอว  กก  กด  กบ  กน  แบ่งได้เป็น  ๒  ลักษณะ

๒.๑  มาตราที่ใช้ตัวสะกดเพียงตัวเดียว  (แม่ กม  กง  เกย  เกอว)

๒.๒  มาตราที่ใช้ตัวสะกดได้หลายตัว  (แม่กก  กด  กบ  กน)

ข้อสังเกต

                พยัญชนะไทยที่ไม่ใช้เป็นตัวสะกดมี  ๗  ตัว  ได้แก่  ผ  ฝ  ฉ  ฌ  อ  ฮ  และ  ห  สำหรับ  ห  หากมี  ม  ด้วย  จะเป็นตัวสะกดได้  เช่น  พรหม  พราหมณ์  เป็นต้น

บทสรุปเรื่องพยัญชนะท้าย  (ตัวสะกด)

มาตรา

หน่วยเสียง

ตัวสะกด

/ ก /

ก  กร  ข  ค  คร  ฆ

/ ป /

บ  ป  พ  ฟ  ภ

/ ต /

ด  จ  ช  ชร  ซ  ฎ  ฏ  ฐ  ฑ  ฒ  ต  ตร  ถ  ท  ทร  ธ  ส  ศ  ษ

/ น /

น  ณ  ญ  ร  ล  ฬ

/ ม /

ม  (สระ  –ำ)

เก

/ ย /

ย  (สระ ใ-    ไ-)

เกอ

/ ว /

ว  (สระ  เ – า)

/ ง /

-

/ อ /

* พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นไม่มีตัวสะกด  ที่ลงเสียงหนัก

(ในส่วนนี้จะใช้ในการสอบเรื่อง  การนับจำนวนเสียงตัวสะกด

และพยางค์ปิดพยางค์เปิด)

***  ข้อสังเกต

                ๑.   การจำมาตราตัวสะกดทั้ง  ๘  ตัว  จำว่า  “ กบด  นมยวง ”

                ๒.  หน่วยเสียง  แม่กบ  ใช้  / ป /    และ  แม่กด  ใช้  / ต /  จำให้ดีนะครับเพราะ  จะมีผลในการวิเคราะห์โครงสร้างพยางค์

                ๓.  สระ  –ำ  ใ-  ไ-  เ-า  ถือว่ามีตัวสะกด  –ำ  แม่กม   ใ-,  ไ-  แม่เกย   เ-า  แม่เกอว  ระวังเวลาสอบเรื่องพยัญชนะท้ายนะครับ

หมายเลขบันทึก: 482036เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2012 09:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท