คนอยู่กับป่าอย่างยั่งยืนระดับครัวเรือน ที่ อ. ธาตุพนม นครพนม


มีทรัพยากรของครอบครัวอยู่ในพื้นที่ที่ฟื้นตัวจากระบบการทำลายด้วยระบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมากว่า 40 ปี ที่ทำให้ระบบนิเวศมีความอุดมสมบูรณ์ใกล้เคียงกับธรรมชาติ และเสริมแต่งจากกิจกรรมของเจ้าของพื้นที่จนสามารถพึ่งพาอาศัยได้ในระดับครัวเรือนและชุมชน ทั้งเชิงปัจจัย 4 อย่างสมบูรณ์แบบ

จากการเข้าเยี่ยมชมและสัมภาษณ์

นายสถาน ตุ้มอ่อน  ชาวภูไท ณ บ้านยางคำ ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

  • ซึ่งมีทรัพยากรของครอบครัวอยู่ในพื้นที่ที่ฟื้นตัวจากระบบการทำลายด้วยระบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมากว่า 40 ปี
  • ที่ทำให้ระบบนิเวศมีความอุดมสมบูรณ์ใกล้เคียงกับธรรมชาติ และ
  • เสริมแต่งจากกิจกรรมของเจ้าของพื้นที่จนสามารถพึ่งพาอาศัยได้ในระดับครัวเรือนและชุมชน ทั้งเชิงปัจจัย 4 อย่างสมบูรณ์แบบ
  • บนพื้นที่ประมาณ 80 ไร่
  • ทำให้มีป่าที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์
  • มีน้ำซับไหลออกมาตลอดทั้งปี
  • สามารถทำนาได้โดยไม่ต้องรอน้ำฝน กล่าวคือ
    • สามารถทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง
    • ปลูกผักได้ตลอดปี
    • มีอาหารธรรมชาติทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น กบ เขียด ปู หอย ปลา หลากชนิด ผักไม้ยืนต้น สมุนไพร ไม้ใช้สอย และไม้ก่อสร้าง ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
  • จึงเป็นที่น่าสนใจและน่าศึกษาเพื่อเป็นต้นแบบและภาพฝันของการพัฒนาให้คนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืนนั้นมีขั้นตอนการดูแล รักษา และพัฒนาพื้นที่ให้อุดมสมบูรณ์เช่นนี้ได้อย่างไร

                       

แปลงนาที่ปรับแต่งมาจากร่องน้ำเดิม

 

        จากข้อมูลการสัมภาษณ์ นายสถาน  ตุ้มอ่อน 

  • เป็นชนเผ่าผู้ไท (ภูไท)
  • ปัจจุบันอายุ 56 ปี เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2496 เป็นบุตรของ นายวาน และนางขัน  ตุ้มอ่อน
  • มีที่ทำกินเป็นมรดกหลายแปลงด้วยกัน แต่นายสถาน ได้รับมรดกจากครอบครัวมาประมาณ 80 ไร่ ซึ่งเป็นดินทรายจัด ใช้ปลูกข้าวไร่มาแต่เดิม จำนวนประมาณ 20 ไร่ และเป็นป่าโคกที่เคยใช้ปลูกพืชไร่อายุสั้นประมาณ 40 ไร่ และที่เหลือเป็นแอ่งแบบร่องน้ำไหล ซึ่งนายสถานได้ปรับมาเป็นที่นาในระยะประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา

 

พื้นที่ป่าโคกที่มีความสมบูรณ์ทั้งอาหารธรรมชาติและสมุนไพร

 

พื้นที่ป่าดงที่มีความรกทึบมีไม้เลื้อยและไม้ยืนต้นสารพัดชนิด

 

        นายสถาน (หรือชื่อที่เรียกกันในหมู่บ้านว่า จารย์ศรี) สมรสกับนางวิไล อายุ 44 ปี มีบุตรด้วยกัน 3 คน ประกอบด้วย นายอดิศักดิ์ (กอลฺ์ฟ) อายุ 28 ปี นางสาวอรวรรณ (เป็ด หรือ น้ำหวาน) อายุ 27 ปี และพระภิกษุยุทธนา (ต๊อบ) อายุ 25 ปี ปัจจุบัน นายอดิศักดิ์ ได้กลับจากงานรับจ้างที่กรุงเทพฯ มาอยู่กับพ่อแม่ เมื่อประมาณ 1 ปีมาแล้ว ส่วนนางสาวอรวรรณ ปัจจุบันทำงานบริษัทที่กรุงเทพฯ สำหรับพระภิกษุยุทธนา จำพรรษาอยู่ที่วัดธาตุพนม  ปัจจุบัน นายสถานมีวัว 3 ตัว ควาย 8 ตัว จึงทำนาโดยใช้ควายไถ แบบนาดำ เกี่ยวด้วยแรงงานในครัวเรือน จำนวนประมาณ 10 ไร่ โดยการใช้น้ำจากน้ำซับที่ไหลออกมาจากพื้นที่ป่าดงที่ฟื้นตัวจากการทำข้าวไร่ และการเก็บกักน้ำด้วยระบบเครือข่ายบ่อน้ำบนป่าโคก ในพื้นที่ประมาณ 40 ไร่

 

       

อาหารพื้นบ้านแบบภูไท

ที่ได้จากนา สวน และป่า

 

ในอดีต นายวาน พ่อของนายสถาน เป็นแกนนำพัฒนาชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง แต่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ จึงถูกจับจำคุก และเมื่อพ้นคุกออกมาจึงเข้าร่วมการสู้รบกับทหารป่า และเสียชีวิตในป่า ทำให้นายสถาน อยู่อาศัยกับแม่ในหมู่บ้าน ที่เป็นแนวร่วมของทหารป่า และมีผู้ร่วมสู้รบจำนวนมากมายในปัจจุบันกลายเป็นกลุ่มที่ทำงานร่วมกันด้านการพัฒนาชุมชน การดำรงชีวิต และทรัพยากรธรรมชาติ ในฐานะผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ภายใต้นโยบาย 25/23 สมัยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งอภัยโทษให้กับผู้ที่มอบตัวและวางอาวุธทุกคน ให้กลับมาทำมาหากินในพื้นที่ของตนเอง โดยนายสถานก็ได้มาดูแลและพัฒนาในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งได้รับมรดกจาก นางขัน ตุ้มอ่อน

        พื้นที่ทำกินประมาณ 80 ไร่นั้น เดิมเป็นพื้นที่ป่าดง ประมาณ 20 ไร่ ทางด้านทิศตะวันตก และป่าโคก ประมาณ 40 ไร่ทางด้านทิศตะวันออก เป็นที่ทำมาหากินแปลงหนึ่งของนายวาน ก่อนจะยกให้นายสถาน ปัจจุบันนายสถาน ได้แบ่งพื้นที่ดังกล่าวออกเป็น 3 แปลง ให้กับลูก 3 คน ๆ ละประมาณ 22 ไร่ครึ่ง ยังเหลือส่วนที่เป็นนาที่ยังไม่ได้ยกให้ใคร ลูกคนที่กลับมารับมรดกแล้ว คือ นายอดิศักดิ์ ตุ้มอ่อน และคาดว่า พระภิกษุยุทธนา กำลังจะลาสิกขาบท มาประกอบอาชีพอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับมรดก ในเวลาไม่กี่ปีต่อจากนี้

 

 

แปลงผักสวนครัวปลอกสารพิษ ที่ปลูกหมุนเวียนตลอดปี

 

การทำมาหากินของครอบครัวนี้

  • ได้พึ่งพาทรัพยากรหลักจากป่า สัตว์เลี้ยง และนาข้าว
  • ที่ทำให้ได้อาหารธรรมชาติ สารพัดชนิด พืชผักธรรมชาติ สมุนไพร ที่มีความอุดมสมบูรณ์และเสริมด้วยปุ๋ยคอกจากวัวและควาย
  • ทำให้สามารถปลูกผักอายุสั้นบนพื้นที่นาดอนได้ตลอดทั้งปี
  • รวมทั้งการมีน้ำซับไหลมาจากป่าดงทางทิศตะวันตกตลอดทั้งปี ก็ได้ทำให้มีความยั่งยืนด้านการทำนา ปลูกผัก อาหารธรรมชาติสารพัดชนิด ที่เกิดจากน้ำซับและการนำน้ำซับมาใช้ประโยชน์
  • ในขณะเดียวกันบริเวณพื้นที่ป่าโคก ก็ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ และการใช้งบประมาณส่วนตัวเพื่อทำบ่อน้ำขนาดต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 10 บ่อ เพื่อสร้างแอ่งน้ำธรรมชาติแบบกึ่งฤดูกาล
  • ที่ทำให้การขยายพันธุ์ของสัตว์จำพวกกบ เขียด อึ่ง หอย ปู และสัตว์ป่าที่ชอบน้ำอื่นๆ อยู่ในพื้นที่ป่าโคกอย่างสมบูรณ์
  • ทำให้มีอาหารหลากหลาย ทั้งเพื่อการบริโภคในครอบครัวและการอนุญาตให้เพื่อนบ้านได้มาเก็บหาเพื่อการบริโภค แต่ห้ามมิให้นำไปเพื่อการค้า
  • จึงทำให้เกิดแหล่งอาหารธรรมชาติที่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ตลอดปี เป็นรายได้เสริมรายจ่ายที่จำเป็นของครอบครัว
  • และเป็นที่พึ่งทางอาหารและของใช้ต่างๆ ของเพื่อนบ้านและญาติพี่น้องได้เป็นอย่างดี

 

นาข้าวปลอดสารพิษ ได้รับปุ๋ยธรรมชาติจากใบไม้ในป่าดงและป่าโคก

 

        การดำเนินการชองนายสถาน

  • ได้ทำให้เกิดแรงบันดาลใจทั้งในครัวเรือนของนายสถาน เอง
  • โดยนายอดิศักดิ์ ได้กลับมาจากการรับจ้างที่กรุงเทพฯเพื่อมาดูแลพ่อแม่และสานต่อเจตนารมณ์ของการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพึ่งตนเองร่วมกับพี่น้องอีก 2 คน 
  • ในขณะเดียวกันก็มีกลุ่มอดีตทหารป่าได้ร่วมพัฒนาแนวคิดเพื่อการพึ่งตนเอง โดยพัฒนาเป็นกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อคุณภาพชีวิต โดยการพัฒนาทุนทางธรรมชาติ ทุนทางภูมิปัญญา และทุนทางสังคม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • โดยการฟื้นฟูวิถีชีวิตของคนไทยเผ่าผู้ไท ที่เคยอยู่กับธรรมชาติแบบพึ่งตนเอง มานับพันปี
  • จึงนับได้ว่า นายสถาน ตุ้มอ่อน เป็นบุคคลตัวอย่าง เป็นผู้นำ เป็นนักปฏิบัติ และเป็นผู้เข้าใจการพัฒนาชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ในทุกมิติของความจำเป็นของการดำรงชีวิตของคนและชุมชน
  • สมควรอย่างยิ่งที่จะได้รับการยกย่อง และนำไปสู่การสรุปบทเรียนเพื่อการขยายผลการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
  • ที่สามารถให้คนเข้าไปร่วมอยู่ ร่วมใช้ชีวิต และพัฒนาปรัชญา “คนอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน”

ผมจึงขออนุญาตขนานนามสถานที่นี้ว่า

วิมาน สถาน จารย์ศรี วิไล

จากความสมบูรณ์แบบ วิมาน

อนุสรณ์แด่

  • พ่อสถาน ที่มีชื่อเรียกพื้นบ้านว่า จารย์ศรี และนางวิไลผู้ภรรยาคู่ชีวิตในวิมานแห่งนี้

 

หมายเลขบันทึก: 481997เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2012 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เหมือนได้เข้าไปนั่งรับประทานอาหารชาวภูไทด้วยครับอาจารย์

อร่อย บวก คุณภาพ จากธรรมชาติแท้ๆ เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอมเลยละครับ

มาเรียนรู้แบบธรรมชาติ

แบบนี้ถึงจะเรียกว่าปลอดโดยแท้

ปลอดสารพิษ

ปลอดภัย

ปลอดโรค

และปลอดจากการซื้อ

ชอบค่ะ

ขอบคุณครับ สำหรับแรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดความฮึกเหิม

Very beautiful name for a paradise in Isan.

I have been working toward that sort of paradise for some time now.

My achievement is not half as much as วิมาน สถาน จารย์ศรี วิไล.

But I enjoy my journey as well -- and even thought what would I do if I got there?

[My aim is (in modern terms) to create a web of relations that also supports my family. I think จารย์ศรี and วิไล also have the same aim in any language.]

You are right (in your recent blogs), these people are good news for Thailand.

They deserve recognotion.

They deserve medals for Community Leaders of Thailand.

(I would even say that they deserve recognition for their work much more than our first female prime minister.]

เห็นด้วยอย่างยิ่งคร้าบบบบบบบบ!!!!!!!

 

เป็นเรื่องของธรรมชาติและมนุษย์ต่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน https://www.facebook.com/kasetkittisak

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท