การศึกษาไทย : 6 ครูไม่ยอมรับภาระปูชนียบุคคล


         นี่ไม่ใช่ผมคิดขึ้นเองนะครับ   ผมเอามาจากหนังสือ "การเมืองคืออะไร  หนทางรอดของมนุษย์คือธรรมิกสังคมนิยม  และพุทธทาสลิขิตข้อคิดทางการเมือง"  หน้า 175  ในหัวข้อ  การพัฒนาประเทศไม่สำเร็จเพราะเหตุไร?   โดยท่านเขียนคำตอบไว้ 7 ข้อ   ข้อที่ 4 เขียนว่า
          ครูแทบทั้งหมดไม่ยอมรับภาระปูชนียบุคคล

วิจารณ์  พานิช
 31 ส.ค.49

หมายเลขบันทึก: 48184เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2006 15:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เราจะทำให้คุณครูภูมิใจและยอมรับภาระกันได้อย่างไรล่ะคะ อาจารย์ อย่าว่าแต่ครูระดับเด็กเล็ก ซึ่งต้องการความเสียสละทุ่มเทและความรักมากมายเลย ขนาดครูอาจารย์ของแพทย์ ก็ยังมีบางส่วนที่ไม่รักที่จะเป็น มองไม่เห็นความสำคัญของการเป็นครู ทั้งในทางวิชาการ และทางคุณธรรม จริยธรรม
  • ความตั้งมั่นในจิตใจ "รับภาระปูชนียบุคคล" ไม่น่าจะมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยมในช่วงเริ่มต้นของการเข้าสู่วิชาชีพครู

  • แต่ความรู้สึกต้องการที่จะสอนเด็ก สร้างเขาให้เ็ป็นคนดี มีวิชาความรู้ ผมเชื่อว่ามีอยู่ในผู้ที่ใฝ่ฝัันและเลือกที่จะมาเป็นครู

  • เหมือนท่านอาจารย์เลือกเป็นหมอ, คุณโอ๋-อโณ เลือกที่จะเรียนทางวิทยาศาสตร์การแพทย์...เรามีความใฝ่ฝัน มีอุดมการณ์อะไรบางอย่างเป็นแรงผลักดัน

  • น่าสนใจนะครับว่า อะไรคือกระแสก่อกวนที่เป็นตัวเบี่ยงเบนให้ความคิดและชีวิตของครูส่วนใหญ่ "ทิ้งภาระของการเป็นปูชนียบุคคล" เมื่อผ่านชีวิตของความเป็นครูมาระยะหนึ่ง

  • สังคมไทยจะเข้าใจและแก้ไขกับปัญหานี้ได้หรือไม่? อย่างไร?
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท