การวางแผน content ก็สำคัญนะ


Never a Day, Without Content

มายกร้อด...ที่เขียนไว้หายหมดเลย

ลูกค้ารายหนึ่งของอิฉัน เพิ่งสั่งเปลี่ยน Copywriting หน้าแรก รอบที่สิบแปด ด้วยความยาวของตัวหนังสือเป็นหกเท่าของของเดิม

ลูกค้าอีกรายหนึ่งของอิฉัน ทวง Copywriting ไปตั้งแต่สามชาติที่แล้ว จนเกิดการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์เล็กหลายครั้งหลายหน ป่านนี้ก็ยังไม่สนใจจะส่งมา ได้แต่รีเควสต์ function เป็นหลัก

บางคนอาจจะสงสัยว่า จะเอาอะไรกับเนื้อหามากมาย ทำเพจออกมาเสร็จ ก็เอาเนื้อหายัดๆใส่เข้าไป ก็จบ

มันไม่ง่ายอย่างนั้นสิท่าน

การจัดการ content เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่ปฏิบัติตามได้ค่อนข้างยากเหมือนกัน ในเว็บไซต์แต่ละที่ก็มีปัญหาอุปสรรคในเรื่องนี้ต่างๆกันไป การจัดการ Content จะช่วยให้เราๆพัฒนาเว็บไซต์ได้อย่างมืออาชีพ และทำหน้าเพจได้อย่างเนี้ยบ เช่นเดียวกับการวางแผนส่วนอื่นๆ การวางแผนจะทำให้เรามีแนวทางในการพัฒนาและดูแลรักษาเว็บเพจอย่างชัดเจน

ยกตัวอย่างเช่น หน้า Help ของเว็บไซต์ ในมุมมองนักพัฒนา อาจจะเห็นแค่ก็เป็น static page ตัวนึง แล้วไง มีอะไรน่าสนใจไปกว่านี้เหรอ(ยะ)

เราไม่รู้หรอกว่าเจตนาของลูกค้าต้องการให้ Help ออกมาเป็นอย่างไร การแสดง Help มีหลายแบบ จะแสดงออกมาทั้งกระบิเลยก็ได้ หรือจะแยกว่า ถ้ากดมาจากหน้านี้ ให้แสดงเนื้อหาอย่างนี้ๆขึ้นมา หรือจะให้มี icon ตรงไหนที่สงสัยก็กด help icon ตรงนั้นก็จะมีเนื้อหา help ป๊อบออกมาตรงจุดนั้นๆ จะมีภาพออกมาไหม ความยาวของ help ตอนละเท่าไหร่

ถ้า Content ออกมาจากฝ่ายเราก็ยังพอคุยกันได้ แต่ Content หลายๆอย่างก็ต้องออกมาจากลูกค้าเช่นกัน ในกรณีที่ออฟฟิศเราไม่มี writer ยิ่งต้องการความเห็นที่ชัดเจนจากลูกค้า

ถ้าลูกค้าไม่สนใจ บอกว่าทำๆระบบมาเหอะ เดี๋ยวเขาใส่เองทีหลัง ก็จะเกิด Layout กันเหนียวขึ้น คือ ใส่เนื้อหาได้ครอบจักรวาลเอาไว้ก่อน อาจจะไม่กระชับ ไม่ได้ใช้เนื้อที่ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด อีกทั้งเป็นไปได้ที่จะมี interaction กับเนื้อหาได้น้อยที่สุดด้วย

 

ที่สรุปมาได้คร่าวๆแบบไม่ได้เปิดตำรา CM เลย การจัดการ Content โดยรวม ควรจะคำนึงถึง
1. ประเภทของเนื้อหา เนื้อหาเกี่ยวกับอะไร เป็นคำนำ เป็น help เป็น error message เป็นข่าว เป็นอะไร ถ้าไม่ระบุ ก็ไม่รู้จะเอาเนื้อหานี้ไปใส่ไว้ตรงไหน ใส่ผิดใส่ถูกอันนี้ก็ว่าคนทำไม่ได้ เพราะเราไม่ได้บอก หรือที่คล้ายคลึงกันกว่านั้น เช่นบริษัทใหญ่ๆ มีเนื้อหาเกี่ยวกับบริษัทลูกยี่สิบบริษัท ถ้าไม่ได้กำหนดดีๆ อาจจะมีงานอธิบายบริษัทสลับชื่อบริษัทได้

2. ตำแหน่งของเนื้อหา เนื้อหานี่จะเอาไปไว้ที่หน้าไหน ที่หน้านั้นเนื้อหานี้จะอยู่ส่วนใดของหน้า จะทำให้นักออกแบบเห็นได้ว่า เนื้อหาอะไรบ้างที่อยู่ในหน้านี้ เขาจะได้จัดเลย์เอาท์ได้อย่างเหมาะสม

3. ความ dynamic ของเนื้อหา เนื้อหามีความเปลี่ยนแปลงเยอะไหม ร้อยปีเปลี่ยนที หรือว่าเปลี่ยนทุกวัน นักพัฒนาจึงจะทราบได้ว่า ส่วนไหนที่ควรจะจับยัดใส่ CMS ส่วนไหนปล่อยให้แมงมุมเกาะไปโดยไม่ต้องเสียเวลาทำให้เป็น Dynamic content เนื้อหามีการลิงค์ต่อไปที่หน้าอื่นหรือเว็บอื่นหรือไม่อย่างไร หรือจะเป็น text ทื่อๆไปวันๆ ก็ว่ากันไป

4. ชนิดของเนื้อหา เนื้อหาเป็นรูปภาพ หรือไฟล์เสียง หรือวีดีโอ หรือแผนที่ เราไปเอาเนื้อหามาจากไหน ไปลิ้งจากที่อื่น หรือว่าอัพโหลดเอง จะได้รู้ว่า UI ควรรับรองการ feed content เข้าเว็บยังไง ไม่ใช่จะเอาหมด คือทำได้ แต่แพง ยอมจ่ายมะล่ะ

5. ขนาดของเนื้อหา เนื้อหามีขนาดเท่าไหร่ ถ้าเป้นตัวหนังสือ หน้านี้จะให้เนื้อหานี้ขึ้นกี่บรรทัด บรรทัดละกี่คาแรกเตอร์ เพื่อกำหนดความกว้างยาวของพื้นที่ได้อย่างชิวๆ ไม่ใช่อย่างลูกค้าอิฉัน อยู่ๆก็เพิ่มคำนำเป็นแปดบรรทัดโดยที่ไม่รู้เหนือรู้ใต้เล้ย (แต่ก็ลูกค้านี่นะ ถ้าเขารู้มากเขาก็ทำเองไปแล้วสิ)

6. ปริมาณของเนื้อหา เนื้อหามีเยอะขนาดไหน ต้องต่อไปหลายๆหน้าไหม ถ้ามีรูปภาพ จะให้เปลี่ยนได้ในพื้นที่เดียวกันหรือว่าให้แปะต่อๆกันลงมา หรือแปะได้ไปทั่วเนื้อหาที่เป็นตัวหนังสือ ก็ว่ากันไป

7. อารมณ์ของเนื้อหา เว็บไซต์เพื่อผู้ใหญ่ มีลักษณะเป็นจริงเป็นจัง ดันเอาเนื้อหาสำนวนเด็กแนวสยามแสควร์มาใช้ อันนี้ตกในด้าน concept และ credibility ของเว็บไซต์ ถ้าเราเห็นกันเนิ่นๆหรือกำหนดเนิ่นๆ จะได้ไม่เกิดอาการแบบนี้ขึ้น

8. เสป็กของเนื้อหา ก็คือเสป็กที่กำหนดขอบเขตต่างๆของเนื้อหา เช่น เนื้อหาให้มีอารมณ์แบบไหน มีพาดหัว แล้วมีคำโปรยไหม หรือว่ามีรายละเอียดไปเลย รูปภาพ ต้องมีขนาดกว้างยาวไม่เกินเท่าไหร่ มีคำอธิบายใต้ภาพหรือไม่ต้องมี อะไรยังไงกัน


มีใครจะมีอะไรเพิ่มเติมจากนี้ไหม เชิญโลด

คำสำคัญ (Tags): #cm#contentmanagement#web#design#ui#usability
หมายเลขบันทึก: 48163เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2006 13:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เห็นด้วยกับพี่มะลิ นะค่ะ เนื่อหานี่ สำคัญจิง ๆ เพราะสิ่งที่จะสื่อสารกับผู้ใช้ก็คือ เนื้อหาต่าง ๆ ที่เราจะแสดงบนหน้าเว็บ

ปัญหาคือ จะทำยังไงให้ง่ายต่อการอ่าน จะทำยังไงให้น่าอ่าน และจะทำยังไงให้ดึงดูดคนอ่าน และอีกหลายๆ ประเด็น

หนูคิดว่าเนื้อหาของแต่ละเว็บไซต์ จะต้องแสดงตามรูปแบบหรือประเภทของเว็บไซต์นั้นด้วยก็น่าจะดี แต่อันนี้ก็คงจะต้องมองกลุ่มผู้ใช้งานเป็นหลักด้วย

พี่มะลิ คิดอย่างไร กับประเด็นของเนื้อหาที่จะต้องนำเสนอในเว็บไซต์ให้ตรงกลุ่มผู้ใช้ค่ะ

เรื่อง Content เป็นสิ่งสำคัญที่หลายคน(บอกว่า)เห็นความสำคัญมาก แต่ท้ายที่สุดก็คนที่บอกว่าเห็นความสำคัญทั้งหลายนั่นแหละที่มองข้ามมันไป

แต่บางทีจะไปว่าลูกค้าเสียทั้งหมดก็ไม่ได้นะครับ ผมว่าเขารู้ว่าจะหา Content อะไร ชนิดไหนมาลงในเว็บไซต์ได้ แต่เรียบเรียงให้ค้นหาพบได้ง่าย นำมาใช้ซ้ำได้ง่ายนั้น ผมว่าเราเองจำเป็นที่จะต้องทำงานด้าน Content กันคนละครึ่งกับลูกค้า เช่น อาจจะวางโครงสร้าง Content ให้ลูกค้าไปก่อนเลย

 เช่น ตกลงกับลูกค้าไปว่า 

1) เนื้อหาตรงส่วนที่ต้องการเป็น Dynamic content อัพเดททุก ๆ กี่วันก็มี CMS Module คลุมไว้ ผูกเชื่อมกับฐานข้อมูลเอาไว้

2) เนื้อหา Dynamic ที่ว่านั้นเกิดจาก User หรือทีมงาน Content แล้วทีมงานของเขามีกี่คน วิธีการทำงานเป็นแบบไหน ทั้งบริษัทมีคนทำอยู่คนเดียวหรือมี 20 คน เราจะได้จัดระดับของ CMS ได้ถูก

3) เนื้อหาที่ทำเป็น FAQ (มีแต่ text) นาน ๆ อัพทีนึง ก็วางเป็น text editor เอาไว้ก็พอ ไม่ต้องเชื่อมกับฐานข้อมูล ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับเรื่อง Content management

สรุปคือ ต้องตกลงกันให้ชัดเจนในเรื่อง Content ด้วยว่ายังไง ถ้าทางนั้นไม่ทำ จะให้เราทำให้ไหม เราก็จะได้ตังค์เพิ่มไง อิอิ (ล่าสุดมี web writer แล้วไม่ใช่เหยอ)

www.Jakrapong.com

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท