HRM Scorecard ปี 49


ทิศ ที่พึงพิจารณา ในการบริหารจัดการกับคน "สาระ กับ การจัดการความรู้"

  ผมได้อ่านข้อความจาก www หนึ่ง เห็นว่าเป็นประโยชน์ และ เป็นแนวทางในการพัฒนา ตน และ คน ซึ่งเป็นการเริ่มต้น ของ การจัดการความรู้ ดังนี้ครับ

     ทิศ
ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง ทิศ ที่เราคุ้นเคยกัน เช่น ทิศตะวันออก ตะวันตก เหนือไต้ ทิศบูรพา อย่างนี้เป็นต้น

     แต่คำว่า ทิศ ในที่นี้( ในพระพุทธศาสนา) นั้นหมายถึง บุคคล ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรา คือผู้ที่เราควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามหน้าที่ มีด้วยกัน 6 อย่างคือ

  ( น่าจะนำไปบูรณาการกับการจัดการความรู้ได้ครับ )


  1. ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ มารดา บิดา
  2. ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครู อาจารย์
  3. ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตร ภรรยา
  4. ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตร สหาย
  5. ทิศเบื้องต่ำ ได้แก่ บ่าว ไพร่ ผู้อยู่ไต้บังคับบัญชา
  6. ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ สณะพราหมณ์ หรือ นักบวช

     ที่มาของคำว่า ทิศ
  ในครั้งสมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอยู่ในกรุงราชคฤห์ เช้าวันหนึ่ง ขณะพระองค์กำลังเสด็จรับบิณฑบาต ได้ทอดพระเนตรเห็นมาณพ(ผู้ชาย)คนหนึ่ง ชื่อ สิงคาละ กำลังประนมมือน้อมนมัสการทิศทั้งหกนั้น (หมายถึง ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ฯลฯ เป็นต้น) เพื่อสกัดกั้นอันตรายอันจะมีมาแต่ทิศนั้นๆ เขาซึ่งเคารพเชื่อฟังคำพูดของพ่อ จึงทำเช่นนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสบอกว่า ทิศทั้งหก นี้ ในพุทธศาสนาเขาไม่ได้ไหว้กันอย่างนั้น แล้วทรงแสดงวิธีไหว้ทิศทั้งหก ในพระพุทธศาสนาให้เขาฟัง ดังนี้คือ

  1. ปุริตถิมทิศ คือทิศเบื้องหน้า หมายถึง พ่อและแม่ วิธีไหว้คือปฏิบัติตน ดังนี้
- เลี้ยงดูท่าน
- ช่วยท่านทำกิจการงาน
- ดำรงศ์วงค์สกุลไว้
- ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
- เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ต้องทำบุญอุทิศไปให้ท่าน

( ในทางกลับกัน ผู้เป็นพ่อ แม่ พึงอนุเคราะห์ต่อลูก ดังนี้ คือ
- ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว
- สอนให้ตั้งอยู่ในความดี
- ให้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะวิทยา
- หาภรรยาที่เหมาะสม และสมควร ให้
- มอบทรัพย์มรดกให้ )

  2. ทักขิณทิศ คือ ทิศเบื้องขวา หมายถึง ครูอาจารย์ วิธีไหว้ คือ ปฏิบัติตนดังนี้
- ลุกขึ้นยืนรับ
- เข้าไปคอยรับใช้
- เคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของท่าน
- อุปฐาก ปรนนิบัติท่าน
- ตั้งใจเรียนศึกษาเล่าเรียนด้วยความเคารพ

( ในทางกลับผู้เป็นครู อาจารย์ พึงอนุเคราะห์ตอบต่อศิษย์ ดังนี้คือ
- ให้คำแนะนำที่ดี
- ให้ตั้งใจเรียน
- บอกวิชาความรู้แก่ศิษย์โดยไม่ปิดบัง
- ยงย่องศิษย์ให้ปรากฏแก่เพื่อนฝูง
- ปกป้องศิษย์จากอันตรายจากทุกทิศทาง )

  3. ปัจฉิมทิศ คือ ทิศเบื้องหลัง หมายถึง ภรรยา วิธีไหว้ คือปฏิบัติตนดังนี้
- ยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา
- ไม่ดูหมิ่น
- ไม่ประพฤตินอกใจ
- มอบความเป็นใหญ่ให้
- ให้เครื่องแต่งตัว

( ในทางกลับกันผู้เป็นภรรยา พึงปฏิบัติต่อสามี ดังนี้คือ
- จัดการงานให้ดี (ดูแลบ้าน)
- สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี (ญาติของสามี)
- ไม่ประพฤตินอกในสามี
- รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
- ขยันไม่เกียจคร้านในการงานทั้งปวง ).

  4. ปัจฉิมทิศ คือ ทิศเบื้องซ้าย หมายถึง เพื่อน วิธีไหว้คือปฏิบัติตนดังนี้
- เผื่อแผ่แบ่งปัน
- พูดจาไพเราะ มีน้ำใจ
- ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
- ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วย
- ซื่อสัตย์จริงใจต่อกันและกัน


  5. เหฏฐิมทิศ คือ ทิศเบื้องล่าง หมายถึง คนงาน หรือ คนรับใช้ (บ่าว) วิธีไหว้ คือปฏิบัติตนดังนี้
- จัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง ความสามารถ
- ให้ค่าจ้าง และให้รางวัล
- รักษาพยาบาลในเวลาที่เขาเจ็บไข้
- ได้ของแปลกๆ พิเศษๆ มาก็แบ่งปันให้
- นอกจากวันหยุดปกติแล้ว ก็ปล่อยให้หยุดในวันอื่นบ้างตามสมควรแก่สมัย

ในทางกลับกัน บ่าวคนรับใช้ หรือ ลูกจ้าง พึงปฏิบัติต่อ เจ้านาย หรือ นายจ้าง ดังนี้คือ
- ลุกขึ้นมาทำงานก่อนนาย
- เลิกงานทีหลังนาย
- ถือเอาแต่สิ่งของที่นายให้เท่านั้น
- ทำงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
- นำคุณธรรมความดีของนายไปสรรเสริญในที่ไปที่นั้นๆ

  6. อุปริมทิศ คือทิศเบื้องบน หมายถึง พระสงฆ์ สมณพราหมณ์ หรือ นักบวช วิธีไหว้คือปฏิบัติตนดังนี้
- จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยความเมตตา
- จะพูดอะไร ก็พูดด้วยความเมตตา

- จะคิดอะไร ก็คิดด้วยความเมตตา
- ต้อนรับด้วยความเต็มใจ (ไม่ปิดประตูเรือน)
- อุปัฏฐากบำรุงท่านด้วยปัจจัย ๔ ( เครื่องนุ่งห่ม, อาหาร, ที่อยู่อาศัย, ยารักษาโรค)

ในทางกลับกันฝ่ายพระสงฆ์ สมณะพราหมณ์ นักบวช พึงอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้คือ
- ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว
- สั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี
- อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม
- ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง (ศึกษารู้ธรรมะอะไรมาที่ยังไม่เคยฟัง ก็มาเล่าให้ฟัง)
- ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง (อธิบายธรรมะที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
- บอกหนทางสวรรค์ให้ (บอกวิธีทำความดีต่างๆที่จะเป็นหนทางไปสวรรค์ให้)

  หลายประเด็นที่ ผมเน้นด้วยหลากหลายสี น่าจะเป็นหนทางที่เหมือนกับ เทคนิค ที่นำการจัดการความรู้มาเพื่อพัฒนาคน ครับ

 ไม่ทราบว่าเป็นสาระ เหมือนต้นไม้ข้างล่างนี้ ที่ ชื่อ "สาระ ซึ่ง พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ใต้ต้นไม้ต้นนี้ครับ"

  JJ

คำสำคัญ (Tags): #hrm
หมายเลขบันทึก: 4813เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2005 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท