หมออนามัย การประเมินภาวะสุขภาพ


หมออนามัย การประเมินภาวะสุขภาพ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ

 

การประเมินภาวะสุขภาพ ความหมายและความสำคัญ

     การประเมินภาวะสุขภาพหมายถึง การวิจัยปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชน เพื่อดูว่าสถานะภาพทางสุขอนามัยอยู่ในระดับใดและมีปัญหาใดๆบ้างที่ต้องปรับปรุง พฤติกรรมเสี่ยงของชุมชน คือพฤติกรรมใดๆของคนในชุมชน เมื่อปฏิบัติแล้วก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ นำไปสู่โรคภัยและอันตรายถึงชีวิต สิ่งที่ต้องประเมินได้แก่

  1. 1.       ข้อมูลประชากร

ข้อมูลประชากร หมายถึงตัวเลข หรือข้อความที่เกี่ยวข้องกับประชากรในเรื่องต่างๆ เช่น การเกิด การตาย การย้ายถิ่น การเจ็บป่วย หรือองค์ประกอบทางด้านประชากร เช่น อายุ เพศ การศึกษา ศาสนา สถานที่อยู่อาศัย สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้ เป็นต้น การเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรทำได้ 3 วิธี ได้แก่ สำมะโนประชากร การจดทะเบียนราษฎร การสำรวจตัวอย่าง

-            สำมะโนประชากร หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูล ที่แสดงลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคม ของคนทุกคนภายในประเทศ โดยการแจงนับประชากรทั้งหมดในพื้นที่  ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปจะทำทุกๆ 5 ปีหรือ10 ปี วัตถุประสงค์ของสำมะโนประชากร คือเพื่อมีตัวเลขที่สำคัญเกี่ยวกับประชากร อันจะเป็นประโยชน์ ในการบริหารงานของหน่วยงานต่างๆของรัฐ เช่นประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี และประโยชน์ทางการทหารและการวางแผนพัฒนาประเทศ เป็นข้อมูลพื้นฐานของประเทศ ที่ให้รายละเอียดทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และประชากรขั้นพื้นฐาน ยังเป็นประโยชน์ต่องานวิจัย โดยวิเคราะห์อัตราเพิ่มของประชากรในอดีต และแนวโน้มการเพิ่มของประชากรในอนาคต รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านอายุ และเพศของประชากร

-            การจดทะเบียนราษฎร การศึกษาของมูลประชากร ที่มักเกี่ยวข้องกับงานทะเบียน 3 ประเภท คือ (1.ทะเบียนราษฏร์ เป็นทะเบียนที่แสดงสถานภาพของบุคคลประกอบด้วย ทะเบียนบ้าน ทะเบียนคน ทะเบียนคนเกิดและทะเบียนคนตาย (2.ทะเบียนครอบครัว ประกอบด้วยการจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียนหย่า การจดทะเบียนรับรองบุตร การจดทะเบียนรับและเลิกรับบุตรบุญธรรม (3.ทะเบียนคนเข้าเมือง เป็นการจดทะเบียนผู้ที่เดินคนเข้าและออกจากประเทศไทยทั้งทางบก เรือและทางอากาศ หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ กองตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจ

-            การสำรวจตัวอย่าง เป็นการสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลที่มีวัตถุประสงค์เป็นการเฉพาะแต่จะเลือกเก็บข้อมูลเฉพาะตัวอย่าง ที่ถูกเลือกมาเป็นตัวแทนทั้งกลุ่มที่ต้องการศึกษา

 

  1. 2.       อัตราเกิด/อัตราตาย/อัตราเพิ่ม

 

  1. 3.       อัตราเจ็บป่วย ด้วยโรคสำคัญ(ไม่ติดต่อ)ปี พ.ศ.2550-2554

 

อันดับ

 

รายโรค

จำนวน

รวม

2550

2551

2552

2553

2554

1

ผู้ป่วยจากโรคทั้งหมด 75กลุ่มโรค

 

 

 

 

 

 

2

โรคความดันโลหิตสูง

 

 

 

 

 

 

3

โรคหัวใจขาดเลือด

 

 

 

 

 

 

4

โรคเบาหวาน

 

 

 

 

 

 

5

โรคหลอดเลือดสมอง

 

 

 

 

 

 

6

มะเร็ง(ตับ ปอด เต้านม มดลูก)

 

 

 

 

 

 

7

อุบัติเหตุ

 

 

 

 

 

 

8

โรคเอดส์

 

 

 

 

 

 

9

ผิดปกติทางจิต/ประสาทหลอน

 

 

 

 

 

 

10

ความเครียด/อารมณ์แปรปรวน

 

 

 

 

 

 

11

โรคปอดอักเสบ

 

 

 

 

 

 

12

อัมพฤกษ์/อัมพาต

 

 

 

 

 

 

13

ผู้พิการ

 

 

 

 

 

 

 

 

  1. 4.       ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม

 

  1. 5.       สิ่งแวดล้อมในชุมชน สิ่งแวดล้อมในชุมชนอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่คือ

-                      สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้แก่อากาศ แม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบ มหาสมุทร พื้น ดิน แร่ธาตุ ภูเขา ป่าไม้และสัตว์อื่นๆ

-                      สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ บ้านเรือน โรงเรียน ถนน รถยนต์ เขื่อนเก็บน้ำ ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจและสังคมด้วย

          สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ประกอบขึ้นเป็นชุมชน โดยมีขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มนุษย์สร้างขึ้นและข้อจำกัดทางธรรมชาติ เป็นกฎเกณฑ์และเป็นหลักสำหรับการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน เพื่อให้เกิดการดำรงชิวิตอย่างผาสุกและเสริมสร้างคุณภาพแห่งชีวิต ในแต่ละชุมชนก็จะมีสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ ทัศนะคติ และนิสัยใจคอของผู้คนที่อยู่อาศัยในชุมชนด้วย เช่น บางแห่งอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ บางแห่งอาจมีความกว้างใหญ่ของทะเลและบางแห่งก็สลับซับซ้อนด้วยทิวเทือกเขา มีภูเขามากบางแห่งใชเป็นแหล่งท่องเที่ยว บางแห่งก็เหมาะทำเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์

  1. 6.       การดำเนินชีวิต

ชีวิตคนส่วนใหญ่ ต้องการมีความสุขในชีวิต ต่างก็สรรหาสิ่งของและวัตถุที่อำนวยความสะดวกสบาย และสร้างความสุขให้กับชีวิต ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตไม่ใช่เพียงแค่ปัจจัย 4 (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค) แต่ยังมีปัจจัย 5(รถยนต์) ปัจจัยที่ 6 (โทรศัพท์มือถือ) และปัจจัยอื่นอีกมากมาย ที่มากตอบสนองความต้องการของตัวเอง ทั้งที่รู้ว่าตัวเองมีเงินไม่มากพอ หรือไม่มีเลย เพราะเที่ยวหยิบยืมเงินเพื่อนบ้านหรือแม้แต่เงินกู้นอกระบบ โดยจ่ายดอกเบี้ยถึงร้อยละ 10 หรือร้อยละ 20 เพราะยากได้จริง เข้าทำนองที่ว่าขาดเจ้าและข้าจะขาดใจตาย มันก็ต้องขาดใจตายไปจริงๆนะ มองๆไปรอบๆข้างมีแต่ค่าใช้จ่ายที่เป็นหนี้มากมาย ไหนจะค่าผ่อนบ้านหรือค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าเล่าเรียนค่ากินของลูก ค่าผ่อนรถยนต์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันรถ จิปาถะอีกมายมาก คิดแล้วอยากตายให้พ้นไปจากโลกนี้ ชีวิตที่มีอยู่ก็หามีความสุขไม่ ไม่ว่าชีวิตจะสุขหรือชีวิตจะทุกข์ขึ้นอยู่ตัวเรา ก่อนที่เราจะดำเนินชีวิตของเราให้มีความสุข เราต้องปฏิบัติตนให้รู้จักคำว่า พอ พอในที่นี้หมายถึงความพอเพียงความพอใจในสิ่งที่เรามีอยู่ รู้จักแบ่งปันความรักให้กับผู้อื่น ประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี รวมทั้งจัดสรรรายได้กับค่าใช้จ่ายเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม ไม่เป็นหนี้เป็นสินคนอื่น วิถีชีวิตก็มีสุข มิใช่หรือ

 

  1. 7.          พฤติกรรมสุขภาพ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านที่เกี่ยวกับสุขภาพที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก พฤติกรรมสุขภาพจะรวมถึงการปฏิบัติที่สังเกตได้ และการเปลี่ยนแปลงในที่สังเกตไม่ได้ แต่สามารถวัดได้ว่าเกิดขึ้น เป็นการปฏิบัติหรือการแสดงออกของบุคคลในการกระทำหรืองดเว้นการกระทำในสิ่งที่มีผลต่อสุขภาพ โดยอาศัยความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ และการปฏิบัติตนทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

- พฤติกรรมการป้องกันโรค หมายถึง พฤติกรรมที่ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย ปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ การตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

- พฤติกรรมเมื่อเจ็บป่วย เป็นการปฏิบัติเมื่อร่างกายมีอาการผิดปกติหรือเจ็บป่วย ได้แก่ การเพิกเฉย เกี่ยวกับอาการของตนเอง การแสวงหาการรักษาพยาบาล การหลบหนีจากสังคม

- พฤติกรรมบทบาทของการเจ็บป่วย เป็นการปฏิบัติตัวเมื่อผลการวินิจฉัยโรคแล้ว เช่นรับประทานอาหาร ยาตามแพทย์สั่ง เลิกสูบบุหรี่

 

ข้อดีของการประเมินดังกล่าว คือหากเกิดปัญหาสุขภาพขึ้นในชุมชน ย่อมสามารถหาวิธีการป้องกันแก้ไขได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ยังเป็นการรักษาภาวะสุขภาพของคนในชุมชนไห้ดี ต่อไปอีกด้วย

การประเมินภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของชุมชน เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล ของชุมชน 3 ด้านที่สำคัญดังนี้

1. คน เป็นตัวบ่งชี้สุขภาพอนามัยของชุมชนโดยรวมแสดงให้เห็นของปัญหาสุขภาพ การเจ็บป่วยและความต้องการด้านสุขภาพ ประกอบไปด้วยด้านต่างๆดังนี้

- ลักษณะประชากรและสถานภาพต่างๆของประชากรในชุมชน นำมาทำนาย ภาวะสุขภาพของคุณได้

-  ข้อมูลบ่งชี้ภาวะสุขภาพ อนามัย ของประชากรในชุมชน

-  ข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิต ความรู้ เจตคติ แลพฤติกรรมสุขภาพ

2. สิ่งแวดล้อมและลักษณะทั่วไปของชุมชน สามารถบอกภาวะสุขภาพและระดับสุขภาพของชุมชน นำมาวิเคราะห์กับข้อมูลทางประชากรของชุมชน ก็จะพบสาเหตุของปัญหาสุขภาพในชุมชน โดยข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมบอกลักษณะทั่วไปที่นำมาศึกษา ได้แก่สภาพพื้นที่ สถานที่ตั้ง ภูมิประเทศ ความสะอาด ความมั่นคง ความเป็นระเบียบของชุมชน รวมทั้งสภาพของมลภาวะเป็นพิษ ซึ่งสามารถเป็นตัวทำนายภาวะสุขภาพของชุมชนได้

3. ระบบสังคมและการบริการด้านสาธารณสุข เป็นตัวบ่งชี้สุขภาพโดยรวมของชุมชน เช่นรูปแบบการปกครอง ผู้นำชุมชนกระบวนการตัดสินใจของบุคคลในชุมชน

การประเมินพฤติกรรมสุขภาพเสี่ยงทางสุขภาพของชุมชน พฤติกรรมเป็นการกระทำหรือการแสดงออกของบุคคล ถ้าบุคคลมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพไม่ถูกต้องโดยเฉพาะพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพซึ่งหมายถึงพฤติกรรมในชุมชนปฏิบัติ อาจนำไปสู่การเกิดอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และสุขภาพของคนในชุมชนโดยรวม และทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับปัญหาสุขภาพ รู้ถึงสาเหตุของพฤติกรรมเสี่ยง ทำให้ง่ายต่อการแก้ไข

    พฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพของชุมชน

  1. พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การฝ่าฝืนกฎจราจรของผู้ขับขี่
  2. พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติด เช่นชุมชนเป็นแหล่งแพร่ระบาดของยาเสพติด
  3. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับการเกิดโรคเอดส์ เช่น พฤติกรรมสำส่อนทางเพศ ไม่สวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  4. พฤติกรรมเสี่ยงต่อการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม และการขาดการออกกำลังกาย
  5. พฤติกรรมเสี่ยงต่อความเครียดและปัญหาความรุนแรง

 

กลวิธีลดความเสี่ยงและการสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง ชุมชน และสังคม

     นำหลัก 6 อ.ของกระทรวงสาธารณสุขมาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพดังนี้

  1. ออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาทีและควรเลือกออกกำลังกายให้เหมาะสมกับเพศและวัย
    1. อาหาร ควรรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย
    2. อารมณ์ หมั่นดูแล และจัดการกับอารมณ์ของตนเองให้อยู่ในภาวะปกติเสมอ เช่น นอนให้เพียงพอ นั่งสมาธิ ถ้าอารมณ์ดีร่างกายก็จะหลั่งสารความสุขออกมา มีผลดีต่อร่างกาย
    3. อนามัยสิ่งแวดล้อม คนในชุมชนควรดูแลสิ่งแวดล้อมให้มีความสะอาด ปลอดภัยและน่าอยู่อาศัย ถ้าสิ่งแวดล้อมรอบตัวเป็นพิษก็ยากที่จะมีสุขภาพที่ดี
    4. อโรคยา คือการไม่มีโรคเบียดเบียน การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาการเกิดโรคและการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น ไม่ดื่มสุรา เสพยาเสพติด สำส่อนทางเพศ รับประทานอาหารสุกๆดิบ เป็นต้น
    5. อบายมุข หลีกเลี่ยงอบายมุขทุกชนิด

 

คุณภาพชีวิต หมายถึงการดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ดี มีความสุข มีความสมบูรณ์ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ สามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ อีกทั้งยังทำประโยชน์ให้กับตนเอง สังคมประเทศชาติด้วย คุณภาพชีวิตเป็นเครื่องชี้วัดความเจริญก้าวหน้าของมิติทางประชากร สังคม สุขภาพ จิตวิญญาณ สิ่งแวดล้อม และองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ เป็นเป้าหมายที่สำคัญของการพัฒนาประชากร ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า คำว่าสุขภาพ กับ คุณภาพชีวิต นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก นั่นคือมนุษย์ทุกคนต้องการ ที่จะมีชีวิตที่มีคุณภาพในทุกๆด้านซึ่งการที่มนุษย์เราจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นั้นจำเป็นต้องมีสุขภาพที่ดีประกอบด้วยเสมอ ซึ่งการมีสุขภาพดี ก็จะต้องครอบคลุมทั้งในด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านจิตวิญญาณไปพร้อมๆกัน การมีสุขภาพที่ดีด้านใดด้านหนึ่ง ก็ไม่สามารถที่จะทำให้มนุษย์มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสมบูรณ์ได้

หมายเลขบันทึก: 480945เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2012 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2012 23:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท