rucha
nuch รุจิราพร โชคพิพัฒน์พร

รอยต่อแห่งความปราณีให้กับชีวิตเล็กๆ


ชีวิต ที่ไม่ต้องยื่นขอสถานะบุคคลกับใคร ไม่ถูกจำกัดสิทธิ ไม่ถูกกล่าวหา เหลือเพียงชีวิตนี้สืบทอดมาจากกลุ่มชาติพันธุ์

      กำเนิดชีวิต  ที่ไม่ต้องยื่นขอสถานะบุคคลกับใคร  ไม่ถูกจำกัดสิทธิ  ไม่ถูกกล่าวหา  เหลือเพียงชีวิตนี้สืบทอดมาจากกลุ่มชาติพันธุ์  เผ่าปกาเกอญอ  แห่งบ้านป่าละอู   โชคดีของชีวิตน้อยๆนี้จริงหรือ 

      วันนั้นได้มีโอกาสกลับเข้าไปช่วยงานทะเบียน กับอำเภออีกครั้ง   ได้พบชาวบ้านที่มารอการเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎร  ให้เป็นบุคคลสัญชาติไทย  จากการยื่นคำร้องขอมีสัญชาติไทย  มาตรา 7 ทวิ ฯ  

       เด็กหญิงผกามาศ  จันทร์อุปถัมภ์   กำเนิดเกิดเมื่อวันศุกร์  ที่  28  กรกฎาคม  2549  ขึ้น  3  ค่ำ  เดือน  9  ปีจอ  สถานที่เกิดบ้านป่าละอู  เลขที่  139/ช  หมู่ที่  3  ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่  อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  โดยมีหมอตำแหยหญิงชราเผ่าปกาเกอญอในหมู่บ้านเป็นผู้จัดการการกำเนิดให้    

       เด็กหญิงผกามาศ   เป็นบุตรคนแรกของ  นางสาวดอกพุ่น  จันทร์อุปถัมภ์  บุคคลสัญชาติไทย  ที่อดีตเคยถือบัตรประจำตัวชุมชนบนพื้นที่สูง  (บัตรสีเขียวขอบแดง  หรือ  ที่เรียกกันว่าบัตรชนกลุ่มน้อย)  โดยจากมารดาของ  เด็กหญิงผกามาศได้ทำการยื่นคำร้องขอมีสัญชาติไทย   เมื่อปี พ.ศ.2547  ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการจังหวัดเมื่อ  7  กรกฎาคม  2548  ซึ่งได้รับการอนุมัติให้สัญชาติไทย  ตามมาตรา  7 ทวิฯ  โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  เมื่อวันที่  23  กุมภาพันธ์  2549     

       บิดาของเด็กหญิงผกามาศ  ชื่อ  นายลามะ   ใจเย็น   บุคคลสัญชาติกะเหรี่ยง   ซึ่งยังไม่มีโอกาสยื่นคำร้องเช่นเดียวกับภรรยา  เนื่องจากมีข้อเท็จจริงที่ยังไม่มีสิทธิยื่นขอสถานะ  โดยเข้าเมืองมาหลังวันที่  3  ตุลาคม  2528  เพียง   2  ปี   ตามเอกสารที่ระบุไว้ในทะเบียนประวัติชุมชนบนพื้นที่สูง  ซึ่งจัดทำประวัติไว้เมื่อ  พ.ศ.2542  นายลามะ  บิดาของเด็กหญิงผกามาศ  ยังคงเป็นบุคคลต่างด้าวที่ได้รับสิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทยชั่วคราว    

     เด็กหญิงผกามาศ  เกิดหลังจากที่ท่านรัฐมนตรีอนุมัติ  จึงได้รับสัญชาติไทยโดยผลอัตโนมัติของกฎหมาย  (ไม่รู้ว่าเขียนตรงหรือไม่  อันนี้คงต้องขอคำแนะนำในการเขียนเป็นภาษากฎหมายจากผู้ทรงคุณวุฒิ  กระมัง)  หรือเรียกว่ามีสัญชาติไทยโดยการเกิด  ก็อาจได้   ทำให้เด็กหญิงผกามาศ  มีเลขประจำตัวประชาชนที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข  (1)   ซึ่งเกิดจากมารดาที่มีเลขประจำตัวประชาชนหมายที่ขึ้นด้วยเลข  (8) - (0000)-  (76000) - (00) -  (0) 

    ที่กล่าวข้างต้นมาทั้งหมดนั้น  อาจให้ดูถึงขั้นตอนอันซับซ้อนของกระบวนการการมีสถานะเป็นบุคคลที่ถูกกฏหมาย  ในประเทศไทย  และเพียงอยากจะหยิบยกเด็กอีกชีวิตหนึ่ง  ที่เกิดก่อนที่ท่านรัฐมนตรีอนุมัติสัญชาติมารดาเพียงไม่กี่วัน 

     เด็กชายเอ็ม  (นามสมมุติ)  เกิดเมื่อวันที่  15  มกราคม  2549   เกิดที่หมู่บ้าน บ้านแพรกตะคร้อ  หมู่ที่  11  ตำบลบึงนคร  อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์   ซึ่งเด็กชายเอ็ม  เกิดก่อนที่มารดาจะได้รับอนุมัติสัญชาติ ตามมาตรา 7 ทวิฯ  เมื่อวันที่  23  กุมภาพันธ์  2549  เช่นเดียวกันกับมารดาของ เด็กหญิงผกามาศ    

     ปัจจุบัน    เด็กชายเอ็ม    มีอาการป่วยเป็นไข้มาเลเลีย  ที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที  แต่ถึงแม้   เด็กชายเอ็ม  มีเอกสารสูติบัตร  ที่เป็นหลักฐานเพียงชิ้นเดียว   แต่เพียงยังขึ้นต้นด้วยเลข  (7)  ที่สถานพยาบาลในเมืองไม่สามารถให้สิทธิตามโครงการ  ให้คนไทยห่างไกลโรคได้  ก็เพราะเพียง  เด็กชายเอ็ม ไม่มีสัญชาติไทย  มารดาของเด็กมีฐานะยากจน  จำต้องกู้ยืมเงินจากคนรู้จักที่พอมีเงินในละแวกบ้านมาเป็นค่ารักษา  

     ส่วนการช่วยเหลือให้มีสัญชาติตามกฎหมาย  เด็กชายเอ็ม    ต้องมาขอยื่นคำร้องขอมีสัญชาติไทย  ตามมาตรา 7 ทวิฯ   กับทางอำเภอ  ที่ต้องผ่านการพิจารณาระดับอำเภอ และระดับจังหวัด กว่าจะไปถึงโต๊ะของท่านรัฐมนตรี   เด็กชายเอ็มก็ต้องเติบโตขึ้นทุกวัน  .......  แต่ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าจะพ้นจากทุกข์ของไข้ป่าหรือเปล่า 

     อยากต้องการออกเสียงดังๆ  ให้มีการยืดหยุ่นกับช่วงรอยต่อระหว่างที่บิดาหรือมารดา  อยู่ระหว่างการยื่นคำร้องขอสถานะ   เด็กที่เกิดมาหลังจากการอนุมัติของรัฐมนตรี  อาจจะมีเกณฑ์กำหนดช่วงเวลาเพื่อที่จะลดขั้นตอนของช่วงรอยต่อนี้ได้  ทำอย่างไรหรือ   ออกเสียงดังๆ  ให้มีบุคคลที่มีเลขประชาชน  (6) , (7)  ได้รับสิทธิตามโครงการ  ให้ตนไทยห่างไกลโรค  ดีคะ 

     ช่วยมาคิดวิธีกันนะคะ  เพราะนุชเชื่อว่าไม่เฉพาะเพียง   เด็ก.......  (ที่ถูกชะตากรรมจากที่ใดไม่รู้มากำหนด)   แต่อีกหลายร้อยชีวิตที่เดียวที่ขณะเกิดอยู่ในลักษณะรอยต่อเช่นนี้   

หมายเลขบันทึก: 48050เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2006 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

นุชก็อย่าแค่ร้องซิคะ เอาปากกามาเขียนโครงการสำรวจ แล้วพาเด็กไปยื่นคำร้อง และดูแลเร่งรัดให้จบขั้นตอนซิคะ องค์กรทุนด้านเด็กคงอยากสนับสนุนนุชอยู่แล้วมังนะ แต่นุชล่ะ โตที่จะคิดแบบผู้ใหญ่แล้วยัง

ที่แน่ๆ ก็คือ ควรจะเรียนรู้ที่จะวิเคราะห์สถานะทางกฎหมายของบุคคลให้ได้แบบชัดๆ หน่อยซิ คุยกับอาจารย์แหววมากี่ปีแล้ว โบราณว่า ใกล้เกลือกินด่างนะ จริงไหม ? ควรเรียนรู้แบบจริงจังได้แล้ว พี่ต้องก็ไม่จบกฎหมาย ก็เรียนรู้ได้ ถ้าแน่วแน่ ก็เรียนรู้ได้ค่ะ

ขอบคุณคะอาจารย์ 

นุชพอทราบว่าทางกฎหมายบอกว่า  เด็กเกิดก่อนอนุมัติอย่างไรก็ต้องยื่นคำร้อง

อยากได้คำแนะนำสักนิดจากอาจารย์ว่า  โดยผลของกฎหมายเด็กอย่างไรก็มีสัญชาติไทย ใช่หรือไม่คะ   แต่นุชไม่รู้ว่าเพราะเหตุใด  จึงไม่ได้สัญชาติแบบอัติโนมัตเลย 

เรื่องสำรวจตอนนี้ก็ดำเนินการอยู่คะ  แต่โดยเครือข่ายชาวบ้านแต่ละหมู่เป็นผู้สำรวจกันเอง (ผลพวงจากห้องเรียนโดยธรรมชาติ)

แต่ส่วนโครงการขณะนี้นุชเอง  ยังไม่โตจริงๆ  ถ้าคิดแบบผู้ใหญ่  นุชยังชั่งน้ำหนักไม่ได้  จริงๆ

ส่วนด้านการเรียนวิเคระห์แนวกฎหมายของบุคคลนั้น  ..............อืม   เป็นที่การศึกษาที่ต่างระดับนะคะ  ถ้าในเชิงลึกๆ เนี่ยนุชเข้าไม่ถึง........แต่ก็พยายามคะ 

ส่วนจะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด  นั้น   ...........เรียนรู้  เรียนรู้

 

 

แหม...อาจารย์ใช้คำนี้ 

ใกล่เกลือกินด่าง

แต่ความสามารถทางความคิดที่จะสื่อสารออกมาเป็นตัวหนังสือ  มันยังซึบซับยากพอสมควรสำหรับตัวนุช

โครงการต่อยอดองค์ความรู้แม่อายกำลังจะเดินต่อ

เธอว่าไงล่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท