แลกเปลี่ยนเรียนรู้ R2R: (3) ระดมสมอง


ผลงานตีพิมพ์ ไม่ใช่ end (เป้าหมายสุดท้าย) แต่เป็น means (วิถี) end คืองานที่ดีขึ้น และการสร้างวัฒนธรรมองค์กร

การลปรร.R2R ในช่วงบ่าย เป็นการพูดคุยคละกลุ่มในประเด็นต่างๆ และมีความคิดเห็นโดยรวมทั้ง 3 กลุ่มดังนี้ค่ะ

1) Research methodology จำเป็นหรือไม่

  • มือใหม่หัดขับ วิธีหนึ่งคือ learning by doing ไประยะหนึ่จึงจะไปเข้า workshop  การจัด course บรรยาย ประโยชน์น้อย เพราะบรรยายไป บางทีก็ไม่ตรงกับวิธีที่จะใช้จริงในโครงการ  ตรงนี้ ทีมจัดการ น่าจะทำหน้าที่เป็น match maker ให้
  • อ.ธาดา ให้ข้อคิดประเด็นนี้ไว้น่าสนใจมากว่า ไม่อยากให้แบ่งชัดเจนว่าอะไรเป็น R2R อะไรเป็นพัฒนางาน อีกอย่าง ไม่อยากให้เริ่มด้วยวิธีวิจัย  ควรเริ่มว่า จะตอบโจทย์อะไร แล้วจึงไปหาวิธีการหาคำตอบ
  • ปัญหาสำคัญคือ literature review ทำไม่เป็น อ.อัครินทร์ ผู้จัดการโครงการ R2R ศิริราชบอกเป็นปัญหามาก ตนเองก็เห็นด้วย แต่ก็ยังไม่มีทางออก
  • การเขียนโครงร่าง ก็ยังมีปัญหา ศิริราชวางแผนจะให้มีผู้ช่วยเขียน หลังจากฟังกลุ่มพูดคุยกัน ก็ให้ผู้ช่วยท่านนี้ ช่วยเขียน  first draft ให้  น่าสนใจมากค่ะ  แต่ก็กลัว dependent
  • คุณกิจ วิชชุดา จากศิริราช ยกประเด็นว่า พยาบาลต้องทำทุกขั้นตอนหรือ บางขั้นตอนไม่ถนัด ทำให้เกิดความไม่อยากทำ
  • อ.วิจารณ์ พูดถึงประเด็นนี้ว่า  ไม่มีสูตรสำเร็จ ค่อยทำ ค่อยเรียนรู้ไป  และจะเกิดความสามารถในแต่ละคนไม่เท่ากัน เกิดขึ้นไม่เร็ว ถ้าคาดหวังให้เกิดขึ้นเร็ว ก็จะอึดอัด  ผู้ทำหากมีฉันทะในระดับที่ต้องการเรียนรู้ ก็จะพยายามทำในสิ่งที่ทำไม่ได้ หรือไม่ถนัด

2) เวลาไม่พอ ทำอย่างไร

  • มีความแตกต่างในภารกิจ  กลุ่มที่วิจัยเป็นงานอยู่แล้ว  กับกลุ่มที่งานบริการเป็นงานประจำหลัก ทั้งนี้น่าจะทำความเข้าใจว่าการทำ R2R ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำ   ส่วนที่จะเพิ่ม คือการเขียน และ การวิเคราะห์ข้อมูล   ข้อเสนอแนะคือ ช่วยกันเก็บข้อมูล  และให้เห็นประโยชน์ว่า ผลของ R2R จะกลับมาช่วยหน่วยงานนั่นเอง 
  • อีกอย่างผู้บริหารต้องเห็นความสำคัญ
  • เรื่องที่ส่วนใหญ่ทำนอกเวลา  ผู้บริหารควรจะเอื้อและสนับสนุนตรงนี้
  • คุณอำนวยช่วยเผยแพร่ บอกกล่าวเล่าเรื่องความสำเร็จ หรือวิธีการกลุ่มวิจัยที่ใช้เวลาได้ดี ให้กลุ่มที่ทำได้ยังไม่ดี ก็อาจมีส่วนช่วย
  • อ.ธาดา บอกว่า ทำงานให้มีประสิทธิภาพ
  • แต่ทั้งหมด เห็นตรงกันว่า ถ้ามีใจแล้ว เวลาเป็นเรื่องรอง

3) งบประมาณ

  • เห็นว่าจำเป็นต้องมี แต่ต้องระวังจะเป็นเผือกร้อน ตอนนี้ กรมการแพทย์ตั้งงบเงินค่าตอบแทน PI ได้ ถึง 30%!
  • เรื่องแหล่งเงินไม่เป็นปัญหา แต่ที่เป็นปัญหามากกว่า คือไม่มีใครมาขอ
  • กลุ่มคุณกิจบอกว่า เป็นงานที่ทำในงานประจำอยู่แล้ว ใช้งบไม่มาก คนที่มาทำ มาด้วยใจ ไม่ต้องการค่าตอบแทนมาก
  • ผู้บริหารต้องสนับสนุน infrastructure เช่น คอมพิวเตอร์  อ.ธาดา เสนอว่า การของบตรงนี้ ก็ให้เขียนว่า ขอเพื่อพัฒนา 

4) การจัดการ

  • การมีหน่วยงานกลาง ช่วยทำให้การทำงานง่ายขึ้น แต่รูปแบบจะเป็นโครงสร้างชัดเจน หรือเป็นแค่คณะทำงาน

5) การสนับสนุน สิ่งแวดล้อม

  • ต้องการที่ปรึกษา อาจไม่ใช่คนในรพ.เอง
  • ต้องการเครือข่าย
  • มีค่าตอบแทนให้อาจารย์ที่ปรึกษา
  • มีการเกาะติดงานคุณภาพในเวทีนำเสนอ ทีมงานไปเฝ้าดูว่าทีมงานไหนที่ต่อยอดเป็นงานวิจัยได้
  • การปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อการทำงานวิจัย
  • สร้างบรรยากาศเชิงบวก ผู้บริหารมาอยู่เวลามีประชุม
  • ผู้ปฏิบัติมุ่งเน้นที่ผู้ป่วยร่วมกัน จะทำให้เกิดกำลังใจ
  • การสร้างเวที ให้รางวัล
  • คุณเอื้อ เอื้อสุดๆ ประสานให้เวลา ให้คนมาทำงานร่วมกันได้
  • คุณอำนวย และ คุณกิจ มีกัลยาณมิตร

6) จำเป็นต้องการเขียนรายงาน R2R?

  • เรื่องนี้ ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าจะต้องมีการเขียนรายงาน หากไม่สามารถลงตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ ที่มีอยู่ ก็อาจรูปแบบในอินเตอร์เน็ต
  • เนื่องจากความสามารถของผู้ทำ R2R หลายคนอาจมีข้อจำกัด ทีมผู้สนับสนุน คงต้องช่วยให้เกิดการเขียนรายงานให้ได้
  • อ.ธาดา เห็นว่าเป็น commitment หนึ่งของผู้ทำวิจัย  เขียนทุกอย่างที่ทำ ทำให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร
  • อ.สมศักดิ์  เห็นตรงกันว่า ควรมีการเขียนรายงานไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน  แต่สิ่งที่อยากได้มากที่สุดคงไม่ใช่ตัวโครงการหรือ publication แต่เป็นว่า การทำงานทำอย่างไรให้มีหลักฐานยืนยัน (evidence-based)  อ.สมศักดิ์ อ้างอิง อ.วิจารณ์ ที่พูดไว้เมื่อตอนเริ่มโครงการ R2R ศิริราชว่า ผลงานตีพิมพ์ ไม่ใช่ end (เป้าหมายสุดท้าย) แต่เป็น means (วิถี)   end คืองานที่ดีขึ้น  และ การสร้างวัฒนธรรมองค์กร
  • อ.สมศักดิ์ คิดว่า ผลงาน R2R น่าจะถือเป็น asset ขององค์กร ดังนั้น น่าจะมีเวที หรือพื้นที่ที่จะเก็บผลงานเหล่านี้ ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

ทั้งหมดคือที่เก็บได้จากการระดมสมอง ไม่อยากสรุป คิดว่าแต่ละความคิดเห็น ล้วนมีประโยชน์ที่หยิบไปใช้ในบริบท และ สถานการณ์ต่างๆ   รายละเอียดเพิ่มเติม อ่านได้จากบันทึกของ Dr. Ka-Poom ตอนที่ 5  และ 6 ค่ะ

 

คำสำคัญ (Tags): #ลปรร#r2r#cop#routine#research
หมายเลขบันทึก: 48035เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2006 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ.หมอปารมีคะ...

ช่วงนี้ท่านกับกะปุ๋มคงได้เล่า..เรื่องเล่าดีดีมีความสุขไปก่อนนะคะ..อ.หมอสมศักดิ์ท่านก็ได้เล่าไปบ้างแล้ว..รวมทั้งท่าน อ.หมอวิจารณ์ด้วย...และท่านๆ จากศิริราชกำลังทยอกเข้ามาคะ...ท่านสมัครสมาชิกแล้วแต่ไม่เปิด Blog คะ...กะปุ๋มติดต่อท่านไปที่ "คำถาม" แล้วคะ...อาจต้องเน้นย้ำไปที่เมล์ท่านอีกรอบให้ท่านเปิด Blog คะจะได้ add เข้า planet CoP R2R คะ...

...

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

"....ผลงาน R2R น่าจะถือเป็น asset ขององค์กร"
  • เป็นเป้าหมายหลักของ "ตาวิเศษ" เลยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท