เลี้ยงโคอย่างพอเพียง


การเลี้ยงโคจะพอเพียงได้นั้นต้องอาศัยทั้งต้นทุนทางปัญญา และต้นทุนทางสังคม

            ต้นทุนทางปัญญาและต้นทุนทางสังคมในการเลี้ยงโค

            จากที่กล่าวมาแล้วเมื่อวานเกี่ยวกับการสร้างความพอเพียงในอาชีพต่าง ๆ นั้นควรยึดตามหลักการพัฒนาที่เน้นการพึ่งตนเอง การเป็นคนดี การพอประมาณ และการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

             การเน้นเรื่องการสร้างต้นทุนทางปัญญาให้ชาวบ้านเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้นั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะทุกคนและทุกชุมชนต่างก็มีบทเรียนที่มาจากการเรียนรู้และประสบการณ์มากมายทั้งด้านดีและไม่ดี  การนำบทเรียนต่างๆ ที่ได้รับมานั้นมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ถึงแนวทางการแก้ปัญหาและการดำรงอยู่ของสิ่งที่ดีงามเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนให้ชาวบ้านปฏิบัติได้จนเป็นนิสัย เพราะเมื่อชาวบ้านมีนิสัยแห่งการเรียนรู้ติดอยู่กับตัว พวกเขาจะกล้าคิดกล้าทำเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตัวเองโดยไม่หวังพึ่งคนอื่น

             แต่บางครั้งชาวบ้านที่ต้องการเรียนรู้ก็ไม่มีโอกาสที่จะเข้าถึงปัญญาและความรู้เหล่านั้น เพราะโอกาสแต่ละคนไม่เท่าเทียมกัน จึงเป็นหน้าที่ของภาครัฐ สถานศึกษา นักวิจัย ที่จะต้องทำให้ชาวบ้านอยากรู้แล้วค่อยนำความรู้ และปัญญาที่เหมาะสมไปให้ชาวบ้านเรียนรู้ ปรับใช้ความรู้ด้วยการลองผิดลองถูกด้วยตนเอง จนได้ความรู้ฉบับของชาวบ้านอย่างแท้จริง ไม่ใช่ไปยัดเยียดให้คนที่ไม่อยากรู้ เพราะจะไม่เกิดผลแต่อย่างใด

            นอกจากนี้ในชุมชนเองก็มีต้นทุนทางสังคมหรือภูมิความรู้เดิมมากมายที่ภาครัฐไม่ควรมองข้าม ทั้งในเรื่องของประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ที่หล่อหลอมผู้คนในชุมชนให้อยู่กันมาได้ ภาครัฐหรือใคร ๆ อย่าคิดว่าไม่ดี ไม่ทันสมัย เพราะมีอะไรหลายอย่างที่แฝงอยู่และไม่สามารถอธิบายได้ในเชิงสถิติ  อีกทั้งแต่ละชุมชนต่างอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เช่น ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ พืชพรรณธรรมชาติ  แม้แต่ในภาคอีสานเหมือนกันสภาพแวดล้อมเหล่านี้ยังแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นการนำเอาสูตรสำเร็จตายตัวไปแก้ปัญหาหรือไปพัฒนาชุมชนนั้นอาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกนัก

            ตัวอย่างของสูตรสำเร็จที่พบก็เช่น  นโยบายเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงโค  ที่ทำให้ชาวบ้านหันมาให้ความสนใจเลี้ยงโคพันธ์ต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพันธุ์บราห์มันทั้งหลาย บางคนลงทุนมหาศาลชื้อพ่อพันธุ์มาเลี้ยง ซื้อน้ำเชื้อราคาแพงมาผสม แต่พอเลี้ยงก็ไม่ประสบผลสำเร็จ โคไม่งาม ตกลูกมาก็เสียชีวิต นี่แหล่ะคือปัญหาเบื้องต้นที่คนเลี้ยงโคพบ  การจะให้คนเลี้ยงโคเหล่านี้ประสบผลสำเร็จ คงจะต้องให้คนเลี้ยงรู้ศักยภาพของต้นเองว่ามีต้นทุนทางปัญญาและต้นทุนทางสังคมพอหรือยัง

           ต้นทุนทางปัญญาก็คือรู้ธรรมชาติของโคที่ตนเองจะเลี้ยง ทั้งในเรื่องการเลี้ยง การให้อาหาร การผสมพันธุ์ ฯลฯ

           ต้นทุนทางสังคม คือรู้ตลาด รู้ชุมชนที่เราเลี้ยงเราอยู่อาศัยว่าเมื่อเราเลี้ยงแล้วจะขายให้ใครทั้งในชุมชนและนอกชุมชน เลี้ยงแล้วขาดทุนหรือไม่  มีสถานที่เลี้ยงและสภาพแวดล้อมเหมาะสมหรือไม่เพราะโคแต่ละพันธุ์นั้นทนต่อสภาพแวดล้อมได้ไม่เหมือนกัน

           ดังนั้นการจะส่งเสริมให้แต่ละชุมชนประกอบอาชีพอะไรนั้นควรมองที่ความเป็นไปได้ที่สอดคล้องกับต้นทุนที่สังคมนั้นมีด้วยจึงจะประสบความสำเร็จได้           

 

หมายเลขบันทึก: 48008เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2006 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
มีปัญญา มีคุณธรรม นำพาสุขกาย สบายใจครับ การเลี้ยงโคที่ดีน่าจะเลี้ยงโคแบบครบวงจรตั้งแต่เริ่มเลี้ยงเอง จนถึง กินเองจึงจะเป็นการพึ่งพาตัวเองที่สมบูรณ์ที่สุดครับ....เจ้านาย

ขอบคุณค่ะพี่พงษ์ แต่ปัญหาที่พบตอนนี้คือ ชาวบ้านเลี้ยงขาดๆ เกิน ๆ ไม่ครบวงจร จึงเป็นทุกข์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท