หมูน้อย
นางสาว สุภาวดี อ้อมแอ้ม คำดี

การศึกษาทางไกล


การศึกษาทางไกล

การศึกษาทางไกล

ปัจจุบันการศึกษาอยู่ในรูปแบบการศึกษาไร้พรมแดน

    การศึกษาทางไกล คือ การถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ต่างๆ ผ่านสื่อ โดยผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องพบกันเป็นประจำ แต่ผู้สอนจะถ่ายทอดเนื้อหาวิชา ความรู้ และประสบการณ์ไปทางสื่อ ซึ่งอาจจะเป็น สื่อหนังสือพิมพ์, วิทยุ, โทรทัศน์, เทปเสียง, วีดิทัศน์, คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ ทั้งนี้ผู้เรียนสามารถศึกษาในลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และบริหารการเรียนเอง และสามารถมีการพบปะกับอาจารย์ผู้สอน และผู้เรียนตามโอกาส โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทบทวน และซักถามประเด็นปัญหาในสิ่งที่เรียน หรือเป็นการสรุปเนื้อหาที่เรียน

     ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การศึกษาทางไกล เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันก็คือ การพัฒนาของเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) โดยเฉพาะการมีใช้เครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบ Personal Computer โดยเริ่มมีการนำ PC มาใช้กับการศึกษาทางไกลประมาณปี 1982 และด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ก็ยิ่งทำให้รูปแบบการจัดการศึกษาทางไกล มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น

   เป็นการประสมประสานกันระหว่างการศึกษาในห้องเรียนและการศึกษาทางไกล และเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย ข่าวสารจากแหล่งต่างๆสามารถส่งถึงกันได้อย่างแพร่หลายและรวดเร็ว การจัดการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต จึงเน้นให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียนและรัฐต้องนำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่มาพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาให้กว้างขวางมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อไป

     การศึกษาไร้พรมแดน คือ เป็นการประสมประสานกันระหว่างการศึกษาในห้องเรียนและการศึกษาทางไกล โดยเครือข่ายสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์และคมนาคมทุกรูปแบบในการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทำให้เกิดสังคมการเรียนรู้ที่เรียกว่า Just in Time คือตอบสนองต่อสังคมในยุคปัจจุบัน ให้บุคคลมีความก้าวมั่นทันโลก และก้าวล้ำนำโลก

    การศึกษาไร้พรมแดนมี 3 ระบบ คือ

1. ระบบการถ่ายทอดและปฏิสัมพันธ์

2. ระบบเนื้อหาและระบบหลักสูตร

3. ระบบสื่อ

    1.1 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ภาพ เสียง ตัวอักษรเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องมาเชื่อมต่อกันเพื่อวัตถุประสงค์ คือ

- เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกัน

- เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน

- เพื่อใช้ข้อมูลแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

 

    1.2 ระบบเครือข่ายการประชุมทางไกล

เสียง ภาพ คอมพิวเตอร์เทคโนโลยีการประชุมทางไกล เป็นวิธีการนำสื่อทางไกลทั้งภาพ และเสียง คือ การนำ เอาวิทยุ โทรศัพท์ โทรทัศน์มาใช้ในการให้การศึกษากับประชาชน ด้วยการจัดให้ผู้สอนสามารถมีการส่งสัญญาณสื่อสารกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านระบบโทรทัศน์และวิทยุ จากสถานีแม่ที่ตั้งอยู่ห่างไกล ไปยังผู้เรียนที่รอรับสัญญาณอยู่ที่สถานีลูกหลายแห่งได้ ซึ่งในสถานีลูกแต่ละแห่งก็มีการจัดการชั้นเรียน

     1.3 เครือข่ายอินเตอร์เน็ต E-MAIL,WWW

   เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นระเครือข่ายเพื่อรับและส่งข้อมูล ให้กับสมาชิก โดยรวบรวมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งปัจจุบันนี้มีเครือข่ายข้อมูลมากว่า 70,000 เครือข่าย ใน 152 ประเทศ และคาดว่าจะมีจำนวนเครือข่ายและสมาชิกผู้ซื้อบริการเครือข่ายเพื่มขึ้นเรื่อย และในปัจจุบันนี้มีการจัดการศึกษาผ่านอินเตอร์เน็ตแล้ว ทั้งในลักษณะของการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย และ มหาวิทยาลัยเสมือนจริงจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยี และการสื่อสารที่ทันสมัย ข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ สามารถส่งถึงกันได้อย่างแพร่หลายและรวดเร็ว การจัดการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต จึงเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียน และรัฐต้องนำเอาเทคโนโลยี และสื่อสารใหม่มาพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษาให้กว้างขวางมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เจริญรุดหน้าพร้อมที่จะแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ

    อินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นได้อย่างไร

  รากฐานของอินเตอร์เน็ต เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 20ปีมาแล้ว โดยเริ่มจากเครือข่าย ARPANETของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลวิจัยทางการทหาร หลักจากนั้นระบบเครือข่ายย่อยอื่น ๆ ก็ได้ทำการต่อเชื่อมและขยายแวดวงออกไปทั่วโลกดังนั้นอินเทอร์เนตจึงไม่ได้เป็นของใครหรือของกลุ่มใดโดยเฉพาะ

    อินเตอร์เน็ตทำอะไรได้บ้าง ?

  เดิมทีการใช้บริการจำกัดให้ใช้ในด้านการศึกษาวิจัยและอยูในแวดวงการศึกษาเท่านั้น ต่อมาได้มีการขยายในเชิงธุรกิจมากขึ้น ทำให้ขอบข่ายการใช้ Internet มีมากมาย เช่น

1. สามารถติดต่อกับคนได้ทั่วโลก

2. สามารถใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล , ความคิดเห็น

3. สามารถใช้ช่วยในการค้นหาและโอนย้าย Software ต่าง ๆ มาได้ฟรี

4. สามารถค้นคว้าวิจัย เปรียบเหมือนคุณเข้าห้องสมุดไปศึกษาค้นคว้าหนังสือต่าง ๆ โดยที่ตัวคนเองไม่ต้องไปยังห้องสมุดนั้น

5. สามารถอ่านข่าวสารของกลุ่มสนทนาต่าง ๆ

6. สามารถท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์ , สวนสัตว์ เป็นต้น

1..4 ระบบเครือข่ายใยนำแสง ระบบสื่อตามประสงค์ VOD

    2. ระบบหลักสูตร

2.1 มีความหลากหลายทั้งเนื้อหาและการเรียนการสอน จบลงในตัว

2.2 เนื้อหามีความยืดหยุ่น ไม่ตายตัว สามารถนำความรู้จากแหล่งต่างๆมาประยุกต์ใช้ในวิชา การต่างๆได้

    3. ระบบสื่อ

ในระบบสื่อนั้นต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นดิจิตอล เป็นภาพที่มีการเคลื่อนไหว และมีเสียงที่สามารถกระตุ้นการเรียนรู้ผ่านสื่อจากยังผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพการใช้สื่อ ประกอบด้วย สื่อหลักและสื่อเสริมสื่อหลัก ได้แก่

    1.การสอนด้วยคอมพิวเตอร์ stand alone CBI ( CBI= Computer – Based Instruction)ได้แก่ สื่อเสริม สิ่งพิมพ์ คู่มือการเรียนการที่ผู้สอนพบกับผู้เรียนเป็นครั้งคราวการเรียนรู้ผ่านห้องปฏิบัติการ assignment เป็นการนำผลงานมานำเสนอ

    2.การสอนด้วยระบบการประชุมทางไกล (TBI= Teleconference – Based Instruction ) มีความเป็นสภาพที่เหมือนจริง สื่อเสริม สิ่งพิมพ์ เป็นในแง่ของการนัดหมาย และวีดีโอออนดีมานด์ เป็นภาพเคลื่อนไหว เพื่อให้ผู้เข้าเรียนไม่ทันสามารถมาดูได้

    3.การสอนด้วยระบบเครือข่าย WWW (WBI)

(WWW = World Wide Web) , (WBI = Web – Based Instruction)

สื่อเสริม สิ่งพิมพ์ โน๊ตย่อเป็นการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ การเคลื่อนไกวภาพนิ่งของคอมพิวเตอร์ และการประชุมทางไ

    หลักการเลือกใช้สื่อชนิดต่างๆ

- ศึกษาคุณสมบัติของสื่อแต่ละประเภท ใช้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน ผู้ใช้สื่อต้องศึกษาให้ดีไม่ว่าจะเป็นวัน เวลา สถานที่

- แสดงผลการสอนผ่านจอภาพ จะเป็นการสอนผ่านคอมพิวเตอร์

- เหมาะสมกับเวลาและสถานที่

   จุดอ่อนของระบบสื่อ

  CBI จุดอ่อน ภาพแข็ง เป็นโปรแกรมที่เสร็จสมบูรณ์

  IBI จุดอ่อน ยุ่งยากที่การเตรียม

  TBI จุดอ่อน สอนไม่ทัน เป็นการบรรยาย

  WWW(WBI) จุดอ่อน เปิดไฟด์สลับซับซ้อน ไม่รู้ปุ่มไหนเป็นปุ่มไหนมีหลายชั้นมาก

 

         ปัจจุบันระบบการศึกษาได้มีการพัฒนาและมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การศึกษาในโรงเรียนได้พัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เกิดสังคมการเรียนรู้ เช่น ประชาชนเป็นผู้ประกอบอาชีพและก็เป็นผู้สอนไปในตัว จึงทำให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิต ในขณะที่เราดำเนินชีวิตต้องมีการศึกษาไปด้วย ยุคโลกาภิวัตร์ มีการพัฒนาในการใช้สื่อสารทางการศึกษาจึงเกิดเครือข่ายข้อมูล ฐานข้อมูล ฐานความรู้ อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์สามารถที่จะปฏิสัมพันธ์กันได้ แบบทันทีทันใด ยืดหยุ่นเวลาได้ และในการทำงานของแต่ละระบบก็มีจุดอ่อนเหมือนกันหมด แตกต่างกันที่การใช้งานและความซับซ้อนของแต่ละระบบ

หมายเลขบันทึก: 47999เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2006 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

5555555555555+

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท