โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)


Chronic obstructive pulmonary disease (COPD) หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

   เป็นกลุ่มโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติของทางเดินหายใจอย่างช้า ๆ จนกระทั่งมีการตีบแคบลงอย่างเรื้อรังและเป็นโรคไม่ติดต่อ

สาเหตุ

   -การสูบบุหรี่ (80 – 90 %)

   -เคยเป็นวัณโรคมาก่อน

   -การติดเชื้อ HIV ร่วมกับการสูบบุหรี่

   -การใช้ถ่าน ฟืน

   -ทำเหมือง

   -สูดดมมลพิษนอกอาคาร

   -พันธุกรรม

   -chronic bronchitis (หลอดลมอักเสบเรื้อรัง)

   -emphysema (โรคถุงลมโป่งพอง)

 

กลไกการเกิดโรค

   -สูดอากาศที่มีอนุภาคหรือก๊าซพิษประจำ

   - มีสารอนุมูลอิสระ (oxidant)

   - กระตุ้นจำนวน neutrophil และ alveolar macrophage   

   -ทำลายสารanti-oxidant

   - เกิด oxidative stress >> เซลล์ถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ

 

ลักษณะอาการ

   -ระยะที่ 1 (Mild COPD)         >>> ไอเรื้อรัง  มีเสมหะ

   -ระยะที่ 2 (Moderate COPD) >>> ไอเรื้อรัง  มีเสมหะ  , เหนื่อยเวลาออกแรง หอบ 

   -ระยะที่ 3 (Severe  COPD)   >>> หอบเหนื่อยแม้เวลาพัก มีภาวะหัวใจล้มเหลวคือหอบบ่อยและรุนแรง      

   -ระยะที่ 4 (Severe  acute exaceration) >>> หอบเหนื่อยขณะพัก มีการใช้กล้ามเนื้อเสริมการหายใจ

 

 คุณภาพชีวิต

   >>>ด้านร่างกาย

   -อาการหายใจเหนื่อยหอบรุนแรง กำเริบบ่อย และใช้กล้ามเนื้อส่วนอื่นช่วย

   -ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย และความทนทานในการออกกําลังกายลดลง

  >>>ด้านจิตสังคม

   -การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ลดลง
   -การมีส่วนร่วม
   -กลัวการต่อต้านจากสังคม ขาดความมั่นใจ
   
   >>>ด้านเศรษฐกิจ
   -ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
   -ใช้เวลานาน
   -ค่าใช้จ่ายสูง
   -สูญเสียรายได้ เพราะไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ

 เป้าหมาย

   -สามารถกำหนดขั้นตอนการฟื้นฟูสำหรับผู้ป่วยได้
   -ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้เต็มศักยภาพ
   -ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆได้
 
บทบาทนักกิจกรรมบำบัด

  >>ประเมินคุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต >>โดยเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยอยากจะทำ รวมถึงสังเกต heart rate, breathing rate, and oxygen saturation
   
   >>ประเมินและฝึกทักษะการจัดการตนเอง 
     -ผลกระทบของ COPD ต่อทักษะการใช้ชีวิต

     -การจัดการเวลาและพลังงานในการทำกิจกรรมยามว่างและกิจวัตรประจำวัน

     -สุขภาวะทางจิต

   >>วางแผนการรักษา
   >>ฟื้นฟูสมรรถภาพปอดแบบประยุกต์
     -ออกกำลังกายร่างกายส่วนบนโดยการใช้แรงต้าน (resistance exercise)
     -Theraband (วงยืด)
     -Active exercise
   >>ประเมินซ้ำ
   >>Aftercare at home


                                             
ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณจันทร์จิรา แสงสินธุ์ นะค่ะ


         

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 479968เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2012 18:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท