ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับชุมชน


องค์กรกับชุมชน

ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับชุมชน

            ในการทำงานพัฒนานั้น  นอกจากผลที่เกิดขึ้นต่อตัวชาวบ้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการปรับปรุงคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ความสามัคคีในการวางกลุ่ม การรื้อฟื้นคุณค่าที่ดีงามต่างๆของชุมชนแล้ว ยังมีตัวการที่สำคัญในการพัฒนา คือ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับชุมชน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การสร้างภาพพจน์ของกันและกันที่จะส่งผลต่อการทำงานอยู่ตลอดเวลา ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับชุมชนนั้น เป็นเงื่อนไขที่สำคัญในการทำงานให้เกิดผลดี และยังเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จในการทำงานขององค์กรอีกด้วย

                ในการทำงานที่เริ่มมีการติดต่อกับชาวบ้าน องค์กรควรที่จะรู้จักหรือติดต่อกับบุคคลหนึ่งหรือบุคคลหนึ่งและองค์กรจะต้องมีการเฉลี่ยความสัมพันธ์ให้เสมอภาค ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบ อคติ ของตนเองและการวางบทบาทของตนเองให้เป็นกลางให้มากที่สุดและควรที่จะติดต่อกับคนทุกคนจะทำให้องค์กรมีแหล่งข้อมูลหลายแหล่งเพื่อตรวจสอบและช่วยในการตัดสินใจ การวางตัวเป็นกลางองค์กรต้องเป็นอิสระจากการตกอยู่ใต้แนวคิด ใต้แนวทาง หรือการรับฟังข้อมูลจากผู้นำหรือกลุ่มผู้นำเพียงกลุ่มเดียวตามปกติ ในทุกชุมชน หรือ ทุกกลุ่ม จะมีกลุ่มแนวคิดและแนวปฏิบัติหลายๆกลุ่มถึงแม้ว่าองค์กรจะมีแนวโน้มที่จะเห็นด้วยกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เมื่อมีการพิจารณาประเด็นเป็นเรื่องๆองค์กรจะต้องเล่นบทบาทเป็น “บุคคลที่ 3 ” โดยที่ไม่เข้าข้างหรือถือหางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งการวางบทบาทดังกล่าวจะมีความสำคัญยิ่งขึ้นในช่วงที่มีความขัดแย้งด้านการตัดสินใจ องค์กรต้องมีทัศนะที่เข้าใจต่อเรื่องปัญหาและการแก้ไขปัญหา โดยเฉาะการรับรู้และความเข้าใจในเรื่องของปัญหาและวิธีแก้ปัญหาของชาวบ้าน เช่น ในหมู่บ้านนั้นในการรวมกลุ่มกัน จะต้องมีปัญหาเกิดขึ้นแน่ๆ เมื่อมากคนขึ้นก็ต้องมากปัญหาตามมาด้วย แต่จะนำปัญหานั้นออกมาแสดงโดยตรง เช่น เวลาเจ็บป่วยแล้วไปเยี่ยมเยียนชาวบ้านก็จะพูดปัญหาออกมา เป็นวิธีการเข้าตรงสู่ปัญหา ในอีกด้านหนึ่ง องค์กรก็ต้องมีความเข้าใจว่า ชาวบ้านเขาอยู่ด้วยกันมาตลอดเวลาในชุมชมดังนั้นเขาจะรู้ทั้งปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา มิฉะนั้นแล้วเขาก็คงจะอยู่ด้วยกันไม่ได้อย่างแน่นอนเราในบานะคนภายนอกก็ควรที่จะศึกษาหาวิธีและทำความเข้าใจกับวิธีการแก้ปัญหาของชาวบ้าน (อานันท์  กาญจนพันธ์, ในฉลอง  สุนทรวาณิชย์, บรรณาธิการ,2538:175)

หลักการพัฒนาชุมชน

                หลักการของการพัฒนาชุมชน ถือว่าเป็นหลักหรือจุดยืนในการดำเนินงานพัฒนาชุมชน เพื่อการสร้างสรรค์ความเจริญในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ให้แก่ชุมชนและประเทศชาติในที่สุดและการที่จะสร้างความเจริญให้แก่ชุมชนดังกล่าวนี้ ต้องฝึกอบรมประชาชนให้รู้จักการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยอาศัยหลักการพอสรุปได้ดังต่อไปนี้

พิจารณาถึงบริบทของชุมชนเป็นหลักในการเริ่มงาน (Context) 

                บริบทของชุมชน หมายถึง สภาพความเป็นอยู่ในชุมชน ซึ่งในการพิจารณานั้น นักพัฒนาควรจะพิจารณาอย่างรอบด้าน ทั้งสภาพความเป็นอยู่ทางกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การเมืองการปกครอง การที่นักพัฒนาทราบสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนก็สามารถที่จะวางแผนและดำเนินงานพัฒนาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

การดึงประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องและมีส่วนร่วม (Participation)

                การจัดกิจกรรมพัฒนาอะไรก็ตาม จะต้องดึงและชักจูงประชาชนให้เข้ามาเกี่ยวข้องและมีส่วนร่วมด้วย เพราะการทำงานขององค์กรเทศบาลนครหาดใหญ่จะต้องมีความสอดคล้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหลักเพื่อให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ได้ทำงานร่วมกันด้วยความรักและความสามัคคีและยังทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การมีส่วนร่วมจะต้องมีการพึ่งพาซึ่งกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน เช่นการจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆของทางเทศบาลก็ต้องขอความร่วมมือจากประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ก็ตาม เพราะทางเทศบาลนครหาดใหญ่เห็นว่าบุคคลที่สำคัญในการทำกิจกรรมคือ ประชาชน เพราะบางเรื่องเทศบาลก็ต้องพึ่งพาข้อมูลจากประชาชนให้ประชาชนช่วยและเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ก็เหมือนกับประชาชนที่ต้องพึ่งพาเทศบาลเหมือนกัน

การให้ความสำคัญกับคนในชุมชนเป็นหลัก (Man-Center Development)

                 มีความจริงอยู่ประการหนึ่งว่า การช่วยคนไม่อาจสำเร็จได้ ถ้าผู้นั้นไม่ต้องการจะช่วยตนเอง โดยหลักการนี้ การพัฒนาชุมชนจึงต้องเริ่มด้วยการให้ความสำคัญกับคนในชุมชนเป็นหลักหรือเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาโดยให้คนในชุมชนค้นหาความต้องการและปัญหา (Identify Need and Problem) ของตนเองให้พบไม่ว่าจะด้วยวิธีกระตุ้น ยั่วยุ หรือชักจูงก็ตาม

ทำงานกับผู้นำท้องถิ่น (Local Leader)

                การทำงานกับผู้นำท้องถิ่นเป็นหลักการพัฒนาชุมชนที่สำคัญอย่างหนึ่ง การพัฒนาชุมชนจะขยายตัวกว้างออกไปและบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับศักยภาพ ความสามารถของผู้นำในท้องถิ่น ซึ่งจะมีทั้งผู้นำที่เป็นทางการ คือ มีบทบาท ตำแหน่งหน้าที่ ตามที่ได้รับแต่งตั้งจากทางราชการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผสส. อสม. ครูในหมู่บ้านหรือตำบล และผู้นำที่ไม่เป็นทางการ คือ ผู้นำที่คนในหมู่บ้านให้ความเคารพนับถือและมีบทบาทในการชี้นำการพัฒนา เช่น เถ้าแก่โรงสี เถ้าแก่ไร่อ้อย คนเฒ่าคนแก่ จ้ำ พระสงฆ์ เป็นต้น

ทำงานกับองค์การที่มีอยู่ในชุมชน (Community Organization) 

                ในชุมชนใดที่มีสมาคม สถาบัน สโมสร หรือองค์กรอื่น ๆ อยู่ย่อมมีผู้นำขององค์กรนั้น ๆ อยู่ด้วยหลักการพัฒนาชุมชนต้องพยายามใช้องค์กรเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ โดยดึงเอาสมาชิกหรือตัวแทนขององค์กร เข้ามาร่วมทำงานเพราะองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้จะมีการรวมกลุ่มกันอยู่แล้ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดึงเอากำลังของกลุ่มมาใช้ในการพัฒนา แต่ถ้าหากไม่มีองค์กรอยู่ในชุมชนก็ควรส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มตั้งเป็นองค์กรขึ้นโดยการให้การศึกษาตลอดจนการฝึกอบรม(สนธยา  พลศรี  ทฤษฏีและหลักการพัฒนาชุมชน, พิมพ์ครั้งที่ 5)

อ้างอิง

นิรันดร์  จงวุฒิเวศย์.2550.แนวคิดแนวทางการพัฒนาชุมชน.กรมพัฒนาชุมชน

กองวิชาการและแผนงาน กรมพัฒนาชุมชน.2550.แผนยุทธศาสตร์ กรมพัฒนาชุมชน.พ.ศ.2551-2554

 

คำสำคัญ (Tags): #พัฒนาชุมชน
หมายเลขบันทึก: 479851เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2012 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 07:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

เป็นบทความที่ดีครับ ความร่วมมือกันในชุมชน ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับองค์กรในชุมชน เป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาประเทศไทยครับ

มีเนื้อหาและสาระดีมากค่ะ เพราะความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับชุมชนต้องมีการพึ่งพาซึ่งกัน และยังมีการนำหลักการพัฒนาชุมชนมาใช้จึงทำให้งานพัฒนาชุมชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นค่ะ

เป็นบทความที่น่าสนใจน่ะค่ะ การทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานกับองค์กร

ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับชุมชนนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญค่ะ เพราะว่าจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ดีก็ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี ร่วมมือร่วมใจกันทั้งหลายฝ่าย

เป็นบทความที่มีเนื้อหาสาระน่าสนใจสอดคล้องกับปัญหาการพัฒนาชุมชนสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างมีประโยชน์

น่าสนใจดีค่ะสามารถนำเรื่องที่เรียนจากในห้องเรียนและจากประสบการณ์จากชุมชนมาใช้กันได้ดี

การทำงานอะไรก็ตามในการพัฒนาชุมชนนั้น ควรมีความสัมพันธ์อันดีกับองค์กรและชุมชนต่าง เพื่อช่วยให้การทำงานหรือกิจกรรมนั้นประสบความสำเร็จ เกิดความร่วมมือกันในการทำงานที่ได้ทำขึ้นและเป็นแนวทางในการเรียนรู้ในการทำงานระหว่างองค์กรและชุมชนในการพัฒนาชุมชนนั้นได้ดียิ่งขึ้น

อภิสิทธิ์ พงศ์สุชาติ

การติดต่อระหว่างองค์กรและชุมชน ควรมีความเสมอภาคในการติดต่อสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับทุกฝ่ายและลดอคติในการทำงานหรือกิจกรรมที่องค์กรได้ลงไปทำกิจกรรมในพื้นที่ชุมชนต่างๆ เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในการมีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อให้การดำเนินงานนั้นประสบความสำเร็จได้ในที่สุด

ตามมาเชียร์ดีใจเจอน้องมหาวิทยาลัย

หากองค์กรและชุมชนมีความสัมันธ์กันดี ปัญหาที่เกิดก็จะร่วมกันแก้ไขได้ด้วยดีครับ

บทความนี้จะดีมากหากมีการอ้างอิงครับ

ถ้าหากองค์กรชุมชนกับชาวบ้านในชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในการพัฒนาชุมชนก็จะเกิดผลดีตามมาด้วย

หากชุมชนและองค์กรมีกระบวนการการทำงานร่วมกันย่อมส่งผลให้ชุมชนเกิดการพัฒนา

เป็นความที่เขียนได้ดีครับ ถ้าสองส่วนมีไม่มีความสัมพันธ์กันอาจจะทำให้งานพัฒนาเกิดขึ้นได้ยากครับ

เป็นบทความที่ดีเข้าใจง่ายสามารถนำไปปรับใช้ในงานพัฒนาชุมชนได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท