ภูมิปัญญาท้องถิ่น


ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาใช้ไม่ได้ได้แต่รอความช่วยเหลือจากภาครัฐ

                การพัฒนาชุมชน คือ การพัฒนาความสามารถของประชาชนให้เกิดการช่วยเหลือตนเอง เพื่อนบ้านและชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีมาตรฐานความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน  งานพัฒนาชุมชน เป็นการทำงานร่วมกับชาวบ้านเพื่อทำให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี เจริญขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง โดยเกิดจากการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมตามความต้องการของประชาชนเพื่อประโยชน์สุขของชุมชนเอง ดังนั้นการพัฒนาชุมชน จึงเป็นการทำให้กลุ่มคนดีขึ้น กระบวนการทำงานในกลุ่มยึดหลักการมี ส่วนร่วม( ชยันต์ วรรธนะภูติ ,2536)   ปัจจุบันเมื่อพูดถึงปัญหาในการพัฒนาชุมชนปัญหาส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการไม่มีส่วนร่วมของประชาชนซึ่งมักได้ยินเสียงบ่น  ออกมาว่า เขาไม่มีเวลามาร่วมประชุมเขาไม่มีพาหนะ เขาไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาหนึ่งของงานพัฒนาชุมชนดังนั้นในการแก้ปัญหาควรใช้กระบวนการกลุ่ม การสร้างพลังชุมชน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความยากจนของชาวบ้าน โดยการพัฒนาเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง  เป็นการส่งเสริมวิถีตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการทำให้การพัฒนาชุมชนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นซึ่งขึ้น อยู่กับการมีส่วนร่วมของประชาชน

                  ปัจจุบันสังคมไทยได้มีการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึงครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค โดยมีรูปแบบขององค์กรท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไป อาทิ องค์กรท้องถิ่นที่มีความเก่าแก่ยาวนานมากที่สุดอย่างเทศบาล ถัดมาคือองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์กรท้องถิ่นที่เกิดขึ้นหลังสุดอย่างองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) รวมทั้งการปกครองพิเศษอีก 2 รูปแบบคือ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา  ความสำเร็จในการบริหารการพัฒนาท้องถิ่นจึงฝากไว้กับผู้นำองค์กรท้องถิ่น ซึ่งเป็นผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ กระบวนทัศน์ (paradigm) หรือแนวความคิดอย่างเป็นระบบในการพัฒนาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้นำองค์กรท้องถิ่นในการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีประโยชน์สุขของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญ

                ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ที่ท้องถิ่นได้สั่งสม และสืบทอดต่อๆกันมา อันเป็นศักยภาพหรือความสามารถ โดยใช้วิธีการ เครื่องมือ วิถีชีวิต เพื่อใช้ในการป้องกันและแก้ปัญหาในการดำรงชีวิตให้มีความสุข ของบุคคลในชุมชนหรือท้องถิ่นให้ดำรงคงอยู่จนถึงปัจจุบันและในอนาคต   (เอกวิทย์ ณ ถลาง, 2539: 5)  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในด้านต่างๆด้านการเกษตรกรรม ได้แก่องค์ความรู้ทางการเกษตร หรือบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ในการถ่ายทอดด้านการเกษตรดังเดิม ตลอดจนการผสมผสานองค์ความรู้ทักษะและเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยการพัฒนาอยู่บนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึงพาตนเองในภาวะการณ์ต่างๆได้ เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญหาหาผลผลิตด้านเกษตร การรู้จักปรับใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับการเกษตร  ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม(การผลิต/การบริโภค) ได้แก่ บุคคลที่มีความรู้ความสามารถด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรมในครัวเรือน ตอลอดจนอุสาหกรรมต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีในการปรับปรุงผลผลิตโดยใช้เทคโนโลยีท้องถิ่น ในการพัฒนาผลผลิต   ด้านศาสนาและประเพณี ได้แก่ หลักธรรม คำสอนทางศาสนา ความเชื่อและประเพณีดังเดิมที่มีคุณค่าต่อการประพฤติปฏิบัติ ให้บังเกิดต่อบุคคล สิ่งแวดล้อม เช่นหลักธรรมทางศาสนา ประเพณีวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น    ด้านศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ องค์ความรู้หรือบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถด้านศิลปะแขนงต่างๆ เช่นจิตกรรม ปติมากรรม วัณกรรม ศิลปะ    ด้านการแพทย์แผนไทย ได้แก่ องค์ความรู้ที่ใช้ในการป้องกัน รักษาสุขภาพของคนในท้องถิ่นที่สืบทอดต่อกันมา หรือบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในการป้องกัน รักษาสุขภาพ ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้   ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการอนุรักษ์ พัฒนา การใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า รู้คุณค่าของทรัพยากรธรราติและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการดำรงอยู่กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืนโดยจากการศึกษาชุมชนพบว่าในชุมชนมีภูมิปัญญาอยู่หลากหลานแต่ประชาชนไม่ได้หยิบนำออกมาใช้  เนื่องมาจากไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาภรัฐ     

                 ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ของโลกที่ไร้พรมแดน เชื่อมโยงถึงกันอย่างรวดเร็ว มีการแข่งขันกันทางด้านต่างๆ อย่างรุนแรง ท่ามกลางกระแสสงครามโลภาภิวัตน์ที่คุกรุ่นไปทั่วโลกในปัจจุบัน เราคงอาศัยความชาตินิยม เพื่อโต้กระแสโลกที่เชี่ยวกรากไม่ได้เพียงลำพัง ในฐานะสมาชิกของสังคมโลกเสรีประชาธิปไตย หากต้องมีภูมิคุ้มกันที่จะไม่ถูกยึดครองโดยกระแสโลก ล่องลอยกลางกระแสเหมือนผักตบชะวากลางน้ำเชี่ยว สามารถโต้กระแสคลื่นของโลกอย่างมีพลังด้วยรากฐาน ที่มั่นคง ลำต้นที่แข็งแรงอย่างมีกลยุทธ สำนึกไทย จึงเป็นภูมิคุ้มกันของคนไทย แต่ละคนมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อทั้งการเผชิญวิกฤตของสังคมไทยในปัจจุบันและการฟันฝ่ากระแสโลกาภิวัตน์ในอนาคต

 อ้างอิง

เอกวิทย์ ณ ถลาง .ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความรู้ :กรุงเทพ ฯอมรินทร์,2546หน้า118

มองอนาคต:เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางสังคมไทย .พิมพ์ครั้งที่ 5 .นิธิ เอียวศรีวงศ์กรุงเทพฯ : มูลนิธิภูมิปัญญา, 2543 171 หน้า

คำสำคัญ (Tags): #พัฒนาชุมชน
หมายเลขบันทึก: 479848เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2012 13:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2019 00:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เป็นบทความที่มีเนื้อหาน่าสนใจ น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

เป็นบทความที่น่าสนใจ ให้สาระความรู้เกี่ยวกับความรู้ภูมิปัญญาที่สอดคล้องกับการพัฒนาชุมชน

เป็นบทความที่มีเนื้อหา สาระดี สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาชุมชนได้

เป็นเรื่องที่น่าสนใจและเป็นเด็นปัญหาที่ต้องมีการพัฒนาเพราะภูมิปัญญาดีความสำคัญต่อชุมชนเป็นอย่างมาก

เป็นบทความที่น่าสนใจ ทำให้เล็งเห็นปัญหาของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่กำลังถูกละเลย

เป็นความที่น่าสนในครับ...ภูมิปัญญาท้องถิ่นถือเป็นสิ่งที่คนรุ่นแรกได้สรรสร้างมาให้กับคนรุ่นหลัง ซึ่งมีความสำคัญกับตัวชุมชนนั้นๆมาก ถ้าชุมชนใดที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นก็ถือว่ามีทุนชุมชนครับ ซึ่งสมควรแก่การอนุรักษ์และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆครับ

เป็นบทความที่ดีเข้าใจง่ายสามารถนำไปปรับใช้ในงานพัฒนาชุมชนได้ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท