การประเมินโครงการ


การประเมินโครงการ

 

 

 

การประเมินโครงการ  (Program Evaluation)

                การประเมินผล (Evaluation)  หมายถึง กระบวนการวัดอย่างเป็นระบบ (Measurement)    เกี่ยวกับคุณค่า  ความเป็นไปได้  ความสำคัญของสิ่งที่ถูกประเมินเพื่อสรุปคุณค่าของสิ่งที่ถูกประเมิน และเสนอสารสนเทศหรือทางเลือกเพื่อนำไปสู่การพัฒนา

ทำไมต้องประเมิน

  1. เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบ
  2. เพื่อวัดความสำเร็จ
  3. เพื่อจัดการทรัพยากร
  4. เพื่อบันทึกเพื่อการปรับปรุงการทำงาน

ประเภทของการประเมินโครงการ (แบ่งตามบทบาทการประเมิน)

  1. การประเมินความก้าวหน้าหรือกระบวนการ (Formative Evaluation)  เป็นการตัดสินคุณค่าของกระบวนการ  เพื่อเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงาน
  2. การประเมินผลสรุปรวม (Summative Evaluation)  เป็นการตัดสินคุณค่าของผลที่ได้รับ เพื่อเสนอคุณค่าของโครงการ  เพื่อเป็นแนวทางสู่การตัดสิน  ยุติ  ปรับเปลี่ยน  หรือพัฒนาต่อไป

 

รูปแบบการประเมินโครงการ
1. CIPP Model (Stufflebeam’s CIPP Model)
                       รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) เป็นการประเมินภาพรวมของโครงการ ตั้งแต่บริบท ปัจจัยป้อน กระบวนการ และผลผลิต (Context, Input, Process and Product) โดยจะใช้วิธีการสร้างเกณฑ์และประสิทธิภาพของโครงการ ทั้งภาพรวมหรือรายปัจจัยเป็นสำคัญ ซึ่งพออธิบายได้ดังนี้
                       การประเมินด้านบริบท หรือประเมินเนื้อความ (context evaluation) เป็นการศึกษาปัจจัยพื้นฐานที่นำไปสู่การพัฒนาเป้าหมายของโครงการ ได้แก่ บริบทของสภาพแวดล้อม นโยบาย วิสัยทัศน์ ปัญหา แหล่งทุน สภาพความผันผวนทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ตลอดจนแนวโน้มการก่อตัวของปัญหาที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการ เป็นต้น

                     การประเมินปัจจัยป้อน (input evaluation) เพื่อต้นหาประสิทธิภาพขององค์ประกอบที่นำมาเป็นปัจจัยป้อน อาจจะจำแนกเป็นบุคคล สิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องมือ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ศักยภาพการบริหารงาน ซึ่งแต่ละปัจจัยก็ยังจำแนกย่อยออกไปอีก เช่น บุคคล อาจพิจารณาเป็น เพศ อายุ มีสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ความพึงพอใจ ความคาดหวัง ทัศนคติ ศักยภาพ ความสามารถ ประสบการณ์ ความรู้ คุณวุฒิทางการศึกษา ถิ่นที่อยู่  เป็นต้น
                    การประเมินกระบวนการ (process evaluation) เป็นการศึกษาต่อจากการประเมินบริบทและปัจจัยป้อนว่า กระบวนการเป็นไปตามแผนที่วางไว้ เป็นการศึกษาค้นหาข้อบกพร่อง จุดอ่อน หรือจุดแข็งของกระบวนการบริหารจัดการโครงการที่จะนำโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
                การประเมินผลิตผล (product evaluation) เป็นการตรวจสอบประสิทธิผลของโครงการ โดยเฉพาะความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับผลลัพธ์ที่ได้แล้วนำเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไปตัดสิน เกณฑ์มาตรฐานนั้นอาจจะกำหนดขึ้นเองหรืออาศัยเกณฑ์ที่บุคคลหรือหน่วยงานอื่นกำหนดไว้ก็ได้

มาตรฐานของการประเมิน

                1. มาตรฐานการใช้ประโยชน์ ( Utility Standards)   ความเป็นประโยชน์ของผลการประเมิน

                2. มาตรฐานความเป็นไปได้ ( Feasibility Standards)  ความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง  เหมาะสมกับสถานการณ์ ปฏิบัติได้  ยอมรับได้  ประหยัดและคุ้มค่า

                3. มาตรฐานความเหมาะสม ( Propriety Standards)   ประเมินได้เหมาะสมตามกฎระเบียบจรรยาบรรณ

                4. มาตรฐานความถูกต้อง ( Accuracy Standards)   มีการใช้เทคนิคที่เหมาะสม

ขั้นตอนของการประเมิน

  1. ทำความชัดเจนเกี่ยวกับเหตุผลและเงื่อนไข  หรือความเป็นไปได้ในการประเมินโครงการ  ตลอดจนวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการประเมิน
  2. กำหนดประเด็นและเกณฑ์ในการประเมิน
  3. วางแผนการประเมิน
  4. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
  5. การวิเคราะห์ข้อมูล
  6. การรายงานผล  และการใช้ประโยชน์จากผลการประเมิน

การประเมินที่ดี

  1. ใช้ทุนไม่มาก
  2. ทันเวลา
  3. บูรณาการ
  4. มีส่วนร่วม
  5. ใช้ประโยชน์ได้

 

Balanced Scoredcard

                   หากจะกล่าวถึงเครื่องมือยอดฮิตที่ใช้ในการวัด ประเมินและวิเคราะห์ผลประสิทธิภาพขององค์กรในขณะนี้ก็คงต้องยกให้กับ บาลานซ์สกอการ์ด(Balanced Scoredcard) ตามแนวคิดของ Robert Kaplan และ David Norton ที่แบ่งการประเมินผลความสำเร็จขององค์กรออกเป็น 4 มุมมองที่สัมพันธ์กัน  ดังนี้

                  (1)  มุมมองด้านการเงิน  (Financial  Perspective)  ถึงแม้มุมมองด้าน

การเงินจะมีข้อจำกัด  แต่ยังคงเป็นมุมมองที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง  เพื่อบอกผลงานและสถานภาพทางการเงินและประสิทธิผลขององค์กร

                 (2)  มุมมองด้านลูกค้า  (Customer  Perspective)  การที่องค์กรหรือจะประสบผลสำเร็จทางด้านการเงิน  จะต้องมีรากฐานจากผลงานด้านลูกค้าที่ดี  อาทิเช่น  ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ ลูกค้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้น  ลูกค้ารู้สึกประทับใจและกล่าวถึงองค์กรในทางที่ดี  เป็นต้น

                 (3)  มุมมองด้านกระบวนการภายใน  (Internal  Process)  การที่ลูกค้า

หรือผู้รับบริการจะบังเกิดความพึงพอใจและกล่าวถึงองค์กรในทางที่ดี  มาจากการที่เราสามารถสร้างผลงานด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต  กระบวนการให้บริการ  หรือแม้แต่กระบวนการที่สนับสนุนที่สำคัญ  ๆ ได้อย่างเป็นเลิศ  มุมมองด้านผลงานของกระบวนการภายในของเราเอง  ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการให้บริการ  กระบวนการบริหารทรัพยากร  กระบวนการส่งมอบบริการ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการในหน่วยงานที่ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญ  จึงเป็นกุญแจดอกใหญ่ที่จะนำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้าและความสำเร็จขององค์การที่ต้องการวัดผลงานอย่างสม่ำเสมอ

                  (4)  มุมมองด้านการเรียนรู้  (Learning  and  Growth  Perspective)  การที่องค์การจะสามารถสร้างผลงานด้านกระบวนการผลิตหรือให้บริการที่เป็นเลิศ  ต้องการบุคลากรที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ  ต้องการความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ  ต้องการการเรียนรู้และวิจัยเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มุมมองด้านการวัดผลเกี่ยวกับการเรียนรู้และทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นอีกมุมมองที่มีความสำคัญ  และเป็นรากฐานของความสำเร็จในระยะยาวและอย่างยั่งยืนขององค์การ

องค์ประกอบย่อยของแต่ละมุมมอง
        ในแต่ละมุมมองควรพิจารณาองค์ประกอบย่อย 4 องค์ประกอบ  ดังนี้
             1. วัตถุประสงค์ ( Objective ) ที่สำคัญขององค์การ
             2. ตัวชี้วัด ( Key Performance Indicator หรือ KPI )
             3. เป้าหมาย ( Target )
             4. แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ( Initiative ) ที่องค์การจะจัดทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ เป็นแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมหลัก

หมายเลขบันทึก: 479171เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2012 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท