“คำตอบ” จากโจทย์ (สมมติ) ที่ทั้งผมและอาจารย์ต่างก็ “อึ้ง”


หากท่านเจอเด็กหญิงอายุ 14 ปี --> แนะนำให้ทำแท้งอย่างปลอดภัย

     วันนี้ตอนที่ผมไปเสวนากับ นศ.ม.ทักษิณ ตามที่ได้บันทึกไว้ที่บันทึก BAR: โครงการพัฒนาจิตและจริยธรรม ณ ม.ทักษิณ ผมก็ได้พบกับ อาจารย์ ดร.วัลภา คชภักดี รองอธิการบดี ม.ทักษิณ ที่ผมไม่ได้เจอท่านมาหลายปีแล้ว ตามความคาดหวัง ท่านอยู่ร่วม ลปรร.ด้วยตลอด

     มีตอนหนึ่งได้สนทนากันท่านพูดถึงว่าได้เคยโยนคำถามแก่ นศ. (ท่านไม่ระบุว่าเป็น นศ.ที่ใด หรือที่ที่ท่านไปเป็นอาจารย์พิเศษ) เล่น ๆ ว่าในฐานะที่ท่านจะเรียนจบไปเป็นผู้มีวิชาชีพสาธารณสุข หากท่านเจอเด็กหญิงอายุ 14 ปี ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ท่านจะจัดการอย่างไร ได้คำตอบเป็นเสียงอันดังพร้อม ๆ กันหลาย ๆ คนว่า แนะนำให้ทำแท้งอย่างปลอดภัย

     ท่านคุยกับผมว่าท่านตกใจมาก ซึ่งผมก็ตกใจมากเช่นกัน ที่ท่านบอกอย่างนั้น ผมหวนกลับมาคิดต่อว่าวันนี้ผมมาพูดคุยกันกับ นศ.ประเด็นคุณธรรม-จริยธรรม ในผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข มีตอนหนึ่งที่ผมกล่าวไว้คือ การเรียนการสอนในระบบ ไม่สามารถทำให้เกิดคุณธรรม-จริยธรรมขึ้นได้ การทำให้ดู ปฏิบัติให้เห็น และได้ลองทำดูแล้วเท่านั้น ที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ โดยต้องมีความตระหนักอยู่ในใจเสมอเท่านั้น คำตอบนี้ก็เป็นคำยืนยันได้ตามฐานคิดของผมว่าน่าจะจริงเสียแล้ว

หมายเลขบันทึก: 47892เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2006 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เป็นคำตอบที่น่าอึ้งค่ะ แต่ไม่ทราบว่าการที่นักศึกษาเหล่านั้นตอบเช่นนั้นมีเหตุผลอะไรกำกับ...เขาเหล่านั้นตอบจากประสบการณ์อย่างไรบ้างนะ

ความคิดเบื้องหลังคำตอบสั้นๆนั้น น่าสนใจค่ะ

 

อ.จันทรรัตน์

     ผมก็อยากทราบเบื้องหลังคำตอบนี้เหมือนกันครับ ตอนน้องน้อง นศ.นั่งรถตู้มาส่งผมและพี่สำเริงที่ สสจ.ผมได้เปิดประเด็นทิ้งไว้ น้องเขาบอกว่าเวลามีกิจกรรมการพูดคุยกัน (เดือนละครั้ง) นศ.อยากให้ผมไปชวนคุยประเด็นต่าง ๆ ผมเลยเลือกประเด็นนี้ไว้นะครับ แล้วจะมาเล่าให้ฟัง แต่กลัวว่าจะเป็น นศ.คนละทีกันกับที่ตอบ อ.ดร.วัลภา ก็คงไม่เป็นไรมั้งครับ เอาแต่ประเด็นว่างั้นเถอะครับ

 อาจจะช้าไปสำหรับการลปรร เป็นโจทย์ที่ยากมาก ต้องอยู่ในสถานการณ์และคำตอบจะเกิดในตอนนั้นเอง เคยมีประสบการณ์ที่นักศึกษา มีปัญหาแบบนี้เขาหาทางออกไม่ได้มาปรึกษาเรา ไม่แนะนำให้ทำแท้ง  แต่ตัวเราไม่ทิ้งให้เขาเผชิญปัญหาคนเดียวเข้าไปช่วย จนทุกอย่างเรียบร้อย พ่อ แม่รับรู้ ยอมรับ ท้ายสุดทุกคนมีความสุข เดี๋ยวนี้เด็กคนนั้นอยู่ ป.2 ตายายรักมาก นักศึกษาคนนั้นก็เรียนจบมีงานทำมีความสุขกับครอบครัว ตัวอาจารย์เองคิดถึงเรื่องนี้ครั้งใดก็ดีใจที่ได้ช่วยให้คนหลายคนมีความสุข

อาจารย์สุนีย์ ครับ

     ผมมีประเด็นจะเล่าเลยครับ เรื่องคล้าย ๆ กัน ได้รับการติดต่อให้ช่วยเหลือจาก มูลนิธิของคุณหญิงระเบียบรัตน์ จนเขาได้แต่งงานหลังคลอดลูกได้ประมาณเดือนนึง ทุกวันนี้มีความสุขกันดีอยู่ครับ จริง ๆ ประเด็นอยู่ที่เด็กไม่กล้าเข้าบ้าน ไม่กล้าบอกพ่อแม่ ตรงนี้ผมไปชวนพี่สาวเขาซึ่งรู้จักหลังจากที่เด็กให้เบอร์โทร ผมมองว่างานนี้ผมได้กุญแจคือพี่สาว ผมเลือกเดินทางพี่สาว ไปจนถึงแม่ และให้แม่เขา เป็นคนไปบอกพ่อเขาอีกที พ่อเขาพูดคำเดียวคือให้ผู้ชายมายอมรับก่อนโดยให้มาเฝ้าดูแลในตอนคลอด หลังจากนั้นค่อยว่ากันอีกที
     สำหรับผม Case นี้ ผมมองเห็นอะไรได้เยอะมากในเชิงโครงสร้างและความสัมพันธ์ ผมยังภูมิใจอยู่จนทุกวัน เมื่อไหร่ลงพื้นที่ผ่านไป ก็ยังแวะไปเยื่ยมเสมอ จนเป็นมิตรที่ดีต่อกัน ผมได้รู้จักคนแถวนั้นอีกเป็นร้อยเลยครับ

ดีใจแทนน้องคนนั้นที่มาพบคุณชายขอบ ความสุขที่เกิดจากการให้เป็นสุขที่ถาวรจริงๆนะคะ ประมาณเดือนที่แล้วไปพบนักศึกษาคนนั้นด้วยความบังเอิญ แกวิ่งเข้ามากอด ร้องไห้ด้วยความดีใจ ตั้งแต่เขาจบไปต่างก็ยุ่งกับงานไม่ได้ติดต่อกัน เขาพูดว่าหนูไม่เคยลืมสิ่งที่ผ่านมาเลย เราเองก็ไม่ลืมเหมือนกัน ยังจำคำพูดของเขาได้ว่า ถ้าไปหาพ่อ พ่อต้องฆ่าหนูแน่ เราตอบว่าไม่เป็นไรตายก็ตายด้วยกัน จริงๆตอนเกิดเรื่องเขาจะคิดสั้น แต่เพื่อนรู้เรื่องพยายามพามาหาอาจาร ย์สุณี  ก็จบด้วย Happy Ending ค่ะ
  • อึ้งเหมือนกันครับ
  • รออ่านอีกครับในฐานะศิษย์เก่าที่นั่น
  • ขอบคุณมากครับที่แวะไปทักทาย

อาจารย์สุนีย์ครับ

     การให้แบบนี้บางทีเราก็ลืม ๆ เล่าให้ใครฟังนะครับ ตอนใหม่มันเล่าไม่ได้ เพราะยังไม่เห็นผล พอนาน ๆ ไป เราก็ลืมเล่า พอได้นึกใหม่ก็อิ่มเอมใจเสมอ ๆ ครับ

อาจารย์พี่ขจิต

     ขอบคุณมาก ๆ ครับ เดี่ยวจะมีให้อ่านอีกเยอะแน่ครับ หากมีการฝึกปฏิบัติของ นศ.ในการลงชุมชนจริง ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท