นิ่มอนงค์
รองศาสตราจารย์ ดร. นิ่มอนงค์ ตานะเศรษฐ งามประภาสม

การวิจัยชั้นเรียน


วิจัยชั้นเรียน

การวิจัยชั้นเรียนเป็นทักษะที่ครูมืออาชีพทุกคนพึงมี แต่งานวิจัยชั้นเรียนเท่าที่มีโอกาสพบจากการเป็นผู้อ่านผลงานทางวิชาการ มักเป็นการทดลองเครื่องมือ พัฒนาเอกสาร มิได้มุ่งวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจผู้เรียน เพื่อหาสาเหตุพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในตัวผู้เรียน เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สามารถดำรงชีวิตตามศักยภาพของตนเองในสังคมจำลองในโรงเรียนหรือ สถานศึกษาเช่น การวินิจฉัยสาเหตุของโรคที่แพทย์รักษาอาการของคนไข้ (เขียนตามความคิดเห็นของผู้เขียน อาจถูกหรือผิดไม่แน่ใจนัก) การจัดการเรียนรู้กระบวนวิชาวิจัยชั้นเรียน ได้จัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนปฏิบัติในระดับปริญญาตรี อย่างไรก็ตาม มีข้อจำกัดในการเรียนรู้ เพราะขาดผู้รู้ในการวิพากษ์ผลการงานวิจัย การจัดการเรียนรู้ในกระบวนวิชาการวิจัยชั้นเรียนนี้ มิได้มุ่งหวังผลงานวิจัยที่สมบูรณ์แบบใ แต่เป็นเทคนิคการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนรู้จักสงสัย ตั้งคำถาม หาเหตุผล รวมทั้งคิดอย่างเป็นระบบเท่านั้น การเปิดให้ผู้เรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนแห่งนี้ น่าจะเป็นโอกาสดี ในการพัฒนากระบวนการคิดทั้งผู้เรียน ผู้สอน รวมทั้งการเป็นครูมืออาชีพหรือนักวิจัยมืออาชีพต่อไปนะคะ

หมายเลขบันทึก: 478763เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2012 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

อาจารย์ครับ วิจัยในชั้นเรียน พูดกันมานานแล้ว และปรากฎอยู่ในเอกสาร และกฎระเบียบเงื่อนไขต่างๆมากมาย วันนี้ อยากเห็นตัวอย่างวิจัยในชั้นเรียนอีกครั้ง จริงๆแล้ว วิจัยในชั้นเรียนจะไม่ยืดยาว ไม่ต้อง 5 บทได้ไหม ท่านอาจารย์ช่วยทบทวนอีกสักครั้งได้ไหมครับ

วิจัยในชั้นเรียนจะไม่ยืดยาว ไม่ต้อง 5 บทได้ไหม คำตอบ (1) ทำไมต้องมี 5 บท ควรมีหรือไม่ ต้องพิจารณาว่า แต่ละบทมีประโยชน์อย่างไร บทที่ 1 ที่ดีควรเขียนเมื่อตั้งโจทย์คำถาม และเขียนวัตถุประสงค์ได้ชัดเจน วัตถุประสงค์จะชัดเจนได้ ต้องหาปัญหาก่อน (เป็นปัญหาของใคร รู้ได้อย่างไรว่าเป็นปัญหา) ต้องถามว่าเราสงสัยอะไร มีคำตอบหรือยัง มีหลักการอย่างไร มีทฤษฎ๊ใดกล่าวไว้(ทบทวนวรรณกรรม) ใครหาคำตอบไว้แล้วบ้าง (ทบทวนงานวิจัย) และทบทวนเพื่อหากรอบแนวคิดว่า มีปัจจัยใดเกี่ยวข้องบ้าง นั่นคือ บทที่ 2 แล้เราจะค้นหาคำตอบที่เราสงสัยได้อย่างไร มีวิธีค้นหาคำตอบอย่างไร ต้องค้นหากระบวนหาคำตอบ ต้องใช้การสังเกต หรือสัมภาษณ์ และหาจากใคร(กลุ่มตัวอย่าง) นั่นคือ บทที่ 3 สำหรับคำตอบที่ได้จะเขียนในบทที่ 4 และเมื่อได้คำตอบแล้ว ต้องอธิบายคำตอบที่ได้อย่าเป็นเหตุเป็นผล ทั้งนี้เพื่อทบทวนว่าสิ่งที่เราสงสัยนั้น ตรง/แตกต่างจากสิ่งที่ควรจะเป็น(ตามหลักการ/ทฤษฎี/ผลการวิจัยที่ผู้อื่นค้นพบหรือไม่อย่างไร สุดท้ายควรเขียนข้อเสนอแนะในการนำงานวิจัยไปใช้ ว่าควรระมัดระวังอย่างไร หรือควรทำวิจัยเพิ่มเติมอะไรอีก เพื่อประโยชน์สำหรับการค้นหาคำตอบต่อไป เท่าที่พบปะคุณครูทั้งหลาย ผู้วิจัยมักกลัว 5 บท จริงแล้วแต่ละบทไม่ต้องเขียนมากมาย เป็นบทๆก็ได้ แต่ต้องครอบคลุมเนื้อหาสาระตามที่อาจารย์ชวนคิด ไม่งั้นก้อทำไปเรื่อยเปื่อยไม่ตรงประเด็น ขอตอบคำถามสั้นๆนะคะ ไม่แน่ใจว่าเขียนครบ/หรือสามารถทำให้ท่านเข้าใจมากน้อยเพียงใด เขียนตามความคิดและประสบการณ์ที่ใช้บ่อยๆเท่านั้นเองค่ะ สำหรับตัวอย่างเดี๋ยวตอนต่อไปนะคะ

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่องวิจัย การปรับตัวทางสังคม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแห่งหนึ่ง

ชื่อผู้ดำเนินการวิจัย นางสาวสหราช งามเมืองปัก

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจะแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของนักเรียนผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามการปรับตัวทางสังคม จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการปรับตัวต่อครู ด้านการปรับตัวต่อเพื่อนและด้านการปรับตัวต่อบุคคลทั่วไป

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแห่งหนึ่ง มีพฤติกรรมการปรับตัวทางสังคมต่อครูและต่อบุคคลทั่วไปอยู่ในระดับปานกลาง แต่การปรับตัวทางสังคมต่อเพื่อนอยู่ในระดับมาก เนื่องมาจากการที่ผู้วิจัยได้เข้าไปทำการวิจัยในภาคเรียนที่ 2 ทำให้นักเรียนเกิดการปรับตัวเข้าหาเพื่อนร่วมชั้นได้แล้ว

สะท้อนคิด

จากการที่ได้เรียนวิชา 074411 วิจัยในชั้นเรียน การที่เราได้มีการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับงานวิจัยก่อนเข้าไปในโรงเรียนนั้นทำให้เราได้เรียนรู้ถึงข้อมูลและวิธีการการทำวิจัยก่อนที่เราจะลงมือปฏิบัติจริง และเมื่อเราได้เข้าไปในชั้นเรียนเราได้ฝึกสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนที่เราต้องพบเจอในชั้นเรียนของเรา และคิดหาว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมแบบนี้ การทำงานวิจัยต้องจะเข้าไปเก็บข้อมูลในชั้นเรียนจริงทำให้ต้องพูดคุยขออนุญาตครูผู้สอนที่รับผิดชอบห้องที่เราจะทำการวิจัยและต้องพูดคุยกับนักเรียนว่าเราต้องการข้อมูลไปเพื่อนทำการวิจัย ทำให้เราเริ่มคุ้นเคยกับสถานการณ์ในชั้นเรียน เมื่อได้เก็บข้อมูลมาแล้วเราก็ต้องมานั่งวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาด้วยตนเอง เป็นขั้นตอนที่ยากมาก ยิ่งข้อมูลเยอะก็ยิ่งสับสน เราจึงต้องมีสมาธิและจดบันทึกไว้ตลอดเวลา การที่ได้รับการวิจารณ์ของอาจารย์ก็ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้เพิ่มเติมและแก้ไขให้ถูกต้องเพื่อให้งานวิจัยมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทั้งหมดเมื่อได้วิจัยเสร็จแล้วก็รู้ได้เลยว่า การทำวิจัยไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เราต้องหมั่นฝึกฝน มีความตั้งใจจริง และแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้งานวิจัยมีคุณภาพ การทำวิจัยในชั้นเรียนในบทบาทของนักศึกษาที่เป็นผู้ทำงานวิจัยจึงเป็นแค่การเริ่มต้นฝึกประสบการณ์เท่านั้น

ชื่อเรื่องวิจัย พฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านร่างกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

โรงเรียน... จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อผู้วิจัย นางสาวสมฐิญาพรรณ สัณหาภิรมย์กุล

สาขา สุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ

คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร. นิ่มอนงค์ งามประภาสม

ปีที่ทำวิจัย พุทธศักราช 2555

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านร่างกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน... จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพด้านร่างกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน... จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยประชาการเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 โรงเรียน... จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งหมด 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมี 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ ลักษณะทั่วไปของบุคคล ส่วนที่ 2 คือ พฤติกรรมดูแลสุขภาพด้านร่างกาย จำแนกเป็น 5 ด้าน ดังนี้ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการพักผ่อน พฤติกรรมการจัดสิ่งแวดล้อมและการดูแลความสะอาดของร่างกาย และพฤติกรรมการตรวจรักษาสุขภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ จำนวน จากผลการวิจัย พบว่า 1.) นักเรียนส่วนใหญ่ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดีพอสมควร 2.)นักเรียน ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามเกณฑ์ของการออกกำลังกาย 3.)นักเรียน มีพฤติกรรมการพักผ่อนที่ดีพอสมควร 4.)นักเรียน มีพฤติกรรมการจัดสิ่งแวดล้อมและดูแลร่างกายความสะอาดของร่างกาย ยังไม่ค่อยดีเท่าที่ควร 5.) นักเรียน มีพฤติกรรมการตรวจสุขภาพ ครึ่งหนึ่งดี อีกครึ่งยังไม่ค่อยดี.

______________________________________________________________________________________________

สะท้อนคิดจากการเรียนวิชา 074411

จากการได้เรียนวิชา 074411 ข้าพเจ้าได้รับความรู้และทักษะในการทำวิจัยในโรงเรียนที่มากขึ้น จากการที่อาจารย์ผู้สอนได้ให้เข้าไปศึกษาและทำการสำรวจเกี่ยวกับสุขภาพของเด็กนักเรียน ข้าพเจ้าได้ลองคิด ลองทำแบบสอบถามด้วยตนเอง รวมถึงสร้างแบบสอบถามด้วยตนเอง เข้าไปเก็บข้อมูลด้วยตนเอง และได้รับคำปรึกษาจากอาจารย์ผู้สอนเป็นระยะ ซึ่งการที่ได้ฝึกทำการวิจัยในครั้งนี้ให้ประโยชน์แก่ตัวของข้าพเจ้าเอง ทำให้รู้เกี่ยวกับการวิจัยมากขึ้นกว่าเดิม ได้คิดวิเคราะห์ ได้แก้ปัญหาต่างๆมากมาย และสุดท้ายการเรียนการสอนวิชานี้ก็มีความสนุกสนานแฝงอยู่ด้วยจากการไปเก็บแบบสอบถามและการเรียนในห้องเรียน.

ยอดเยี่ยมจริงๆ ลูกสาวครู ได้ทักษะพิเศษ ทั้งๆที่ครูไม่ได้สอนมากนัก อิอิ ชอบมากๆๆๆ ในระดับป.ตรี ถือว่าเขียนได้ดีที่เดียว

ชื่อเรื่องวิจัย พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่ง

ผู้วิจัย นางสาวจุไรรัตน์ สวนต๊ะ

สาขา สุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ

คณะ ศึกษาศาสตร์

ที่ปรึกษางานวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร. นิ่มอนงค์ งามประภาสม

ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่ง” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่ง 2) เพื่อศึกษาหาแนวทางการส่งเสริมการออกกำลังกายให้แก่นักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 (ประถมศึกษาปีที่ 4 – 6) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 71 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามปลายปิดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 88.73 ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน และพฤติกรรมที่นักเรียนปฏิบัติน้อยที่สุด ร้อยละ 49.30 คือ การสำรวจพื้นที่ สถานที่ หรือบริเวณที่ออกกำลังกายทุกครั้ง และ สำรวจชุดแต่งกายและ รองเท้าก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง

♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥

สะท้อนคิด

จากการที่ได้เรียนวิชา 074411 ทำให้ได้เรียนรู้วิธีการทำวิจัยในอีกรูปแบบนหนึ่ง (วิจัยเชิงสำรวจ) และได้ทักษะจากการทำวิจัยมากขึ้น การที่เราจะทำการวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น เราต้องหาข้อมูลและเนื้อหาของเรื่องที่เราจะทำการวิจัย ทำให้เราได้ความรู้ในเรื่องนั้นๆเพิ่มขึ้น ได้เรียนรู้วิธีการทำแบบสอบถามและปรับให้เหมาะสมกับวัย ซึ่งบางครั้งเรามองเด็กตามความคิดของเรา โดยลืมคำนึงถึงวัยเด็กว่าจะสามารถตอบแบบสอบถามได้หรือไม่ นี่ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้ในการทำวิจัยครั้งนี้ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาถึงปัจจัยอืนๆที่อาจมีส่วนทำให้เด็กมีพฤติกรรมต่างๆ ได้เข้าไปรวบรวมข้อมูลนักเรียนและนำมาวิเคราะห์ตามขั้นตอนต่างๆ ซึ่งขอยอมรับเลยว่าขั้นตอนที่ยากและสามารถทำให้เวียนหัวได้นั่นก็คือการหาความถี่และคิดเป็นร้อยละ แต่เมื่อผ่านพ้นไปก็ทำให้รู้สึกภูมิใจกับงานของตนเอง และจากที่อาจารย์ได้เสนอแนะ ก็เป็นประโยชน์ให้เราได้นำไปปรับใช้ในการทำวิจัยครั้งต่อไป เพื่อให้งานวิจัยของเรานั้นสมบูรณ์มากขึ้น การทำวิจัยไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถของเรา

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์นิ่มอนงค์ งามประภาสม อาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย ที่ให้ความรู้พร้อมทั้งคำแนะนำเกี่ยวกับแนวความคิด การวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนข้อเสนอแนะอื่น ๆ อันเป็นประโยชน์ ทำให้วิจัยฉบับนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสามารถนำไปปรับใช้สำหรับการทำวิจัยในครั้งต่อไป

ชื่อเรื่องวิจัย พฤติกรรมการบริโภคอาหารมื้อกลางวันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน... ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554

ชื่อผู้วิจัย นางสาวพิกุลทอง แปงตำ

สาขาวิชา สุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ

คณะ ศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร. นิ่มอนงค์ งามประภาสม

ปีที่ทำวิจัย พุทธศักราช 2555

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนและเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนโรงเรียน... การวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 44 ชุด สถิติวิเคราะห์ใช้ค่า ร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมที่ดีของนักเรียน เช่น การดื่มนมเป็นประจำทุกวัน การล้างผักผลไม้ก่อนรับประทาน การรับประทานอาหารครบทั้งสามมื้อ สำหรับพฤติกรรมที่นักเรียนต้องปรับปรุง เป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขวิทยาส่วนบุคคล วิธีการรับประทานอาหาร และการเลือกรับประทานอาหาร ได้แก่ ทานอาหารด้วยความเร่งรีบ และเป็นการเลือกรับประทานอาหารตามความชอบของตัวเองเป็นหลัก เช่น รับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแทนข้าว และรับประทานอาหารโดยไม่คำนึงถึงการได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ เป็นต้น

______________________________________________________________________________________________

สะท้อนคิดวิชา 074411

จากการเรียนวิชานี้ ทำให้ได้รู้ว่า การทำวิจัยไม่ควรเครียด ถ้าเครียดแล้วจะคิดไม่ออก ได้รู้เทคนิคมากมายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ทั้งๆที่เรียนวิจัยมาก็หลายตัวแล้ว แต่ก็รู้สึกเหมือนยังจับทางไม่ได้ ไม่เข้าใจ แต่พอมาเรียนกับอาจารย์นิ่มอนงค์ งามประภาสม แล้วรู้สึกว่าวิจัยง่ายนิดเดียว เข้าใจมากขึ้น มีเทคนิค ขั้นตอน ในการทำวิจัย แนะแนวทางให้นักศึกษาเป็นอย่างดีค่ะ ขอขอบพระคุณอาจารย์นิ่มอนงค์ งามประภาสม มา ณ ที่นี้ด้วยนะค่ะ

ชื่อเรื่องวิจัย การใช้กิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน... จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อผู้วิจัย นางสาวทิพผกา สาธรรม

รหัสนักศึกษา 510210152

สาขา สุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร. นิ่มอนงค์ งามประภาสม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมนันทนาการต่อการพัฒนาพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน... จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/7 จำนวน 25 คน ทำการวิจัยโดยใช้กิจกรรมนันทนาการจำนวน 3 กิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินพฤติกรรมกล้าแสดงออก และนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า เมื่อนำผลมาเปรียบเทียบพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักเรียนก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม ระหว่างเข้าร่วมกิจกรรม และหลังการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/7 มีพฤติกรรมกล้าแสดงออกอยู่ในระดับพอใช้ คือ 0.97 (อ้างจากตารางที่ 2 ระดับคะแนนพฤติกรรมกล้าแสดงออก) ซึ่งยังไม่บรรลุเป้าหมายของการวิจัยในครั้งนี้ เพราะ เป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้เรียนมีพฤติกรรมกล้าแสดงออกในระดับดีขึ้นไป

..................... สะท้อนคิดวิชา 074411 หนูส่งให้อาจารย์แล้วนะค่ะ บทคัดย่ออันนี้เอามาส่งใหม่ค่ะ ตอนนั้นหนูส่งผิดที่ค่ะ.......

ชื่อเรื่องวิจัย พฤติกรรมการดูแลสุขภาพทางด้านร่างกายของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน...... อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อผู้ดำเนินการวิจัย นางสาว เพ็ญนภา ผิวสะอาด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อสำรวจพฤติกรรมการดูแลสุขภาพทางด้านร่างกายของ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน....... อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

กลุ่มประชากร ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน........ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน24 คน ทำการวิจัยโดย ใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม มีลักษณะเป็น 2 ตอน คือ

ตอนที่ 1 ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และช่องทางการได้รับข้อมูลข่าวสารสุขภาพ

จำนวน 6 ข้อ

ตอนที่ 2 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพทางด้านร่างกาย โดยแบ่งเป็น การปฏิบัติตนในการ

ดูแลสุขภาพ 5 ด้าน คือ ด้านการบริโภคอาหารและยา, ด้านการออกกำลังกาย , ด้านการพักผ่อน ,

ด้านสิ่งแวดล้อม และ ด้านการตรวจสุขภาพ จำนวน 30 ข้อ

การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1.ในการวิจัยครั้งนี้มีเพศชายและเพศหญิงเท่ากัน มีอายุ12 ปี มากกว่า อายุ 13 ปี น้ำหนัก40-47 กิโลกรัม ครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และมีส่วนสูง 147-153 เซนติเมตร และ ส่วนสูง 154-160 เซนติเมตร เท่ากัน ช่องทางการได้รับความรู้และข่าวสารสุขภาพมากที่สุดจากคุณครู การได้รับความรู้จากสิ่งตีพิมพ์ มากที่สุดจากแผ่นพับ การได้รับความรู้จากอุปกรณ์อีเล็กโทรนิกส์ มากที่สุดจาก วิทยุ

2. .ในการวิจัยครั้งนี้พฤติกรรมการดูแลสุขภาพทางด้านร่างกายทั้ง 5 ด้านของกลุ่มตัวอย่าง

..................... สะท้อนคิดวิชา 074411 หนูส่งให้อาจารย์แล้วนะค่ะ บทคัดย่ออันนี้เอามาส่งใหม่ค่ะ ตอนนั้นหนูส่งผิดที่ค่ะ.......

ถึง ลูกสาวของครูที่น่ารักทุกคน ครูรู้สึกมีความสุขที่ได้เห็นพัฒนาการของพวกเรา ไม่ผิดหวังเลยที่ครูทุ่มเทเวลา สติปัญญาเท่าที่มีอยู่ให้พวกเรา จริงๆเป็นความสุขที่แท้จริงของชีวิตความเป็นครุ ครูมั่นใจว่า ต่อไปในอนาคต ครูจะมีลูกศิษย์ที่ได้รับตำแหน่งทางวิชาการมากมาย และบางคนส่วนมากนะ มีชื่อนำหน้าว่า ดร.อีกหลายๆคนค่ะ ครูภูมิใจในตัวลูกๆทุกคน

ชื่อเรื่องวิจัย พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และเครื่องดื่มของนักเรียนโรงเรียน

ชื่อผู้วิจัย นางสาวธันชนก แสงศรี

รหัสนักศึกษา 510210169

สาขา สุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ

คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้บริโภค และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้า ระหว่าง“นม” และ”กาแฟ” ของนักเรียนในโรงเรียน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวิจัยเชิงสำรวจโดยประชากร เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6ซึ่งกำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียน …จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมี 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้บริโภค ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภค “นม” และ “กาแฟ” ส่วนที่ 3 ปัจจัยที่ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจในการเลือกบริโภคระหว่างร้านนม และ ร้านกาแฟ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งกำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียน จังหวัดเชียงใหม่ นักเรียนโดยส่วนใหญ่เลือกบริโภคนมมากกว่ากาแฟ เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่ให้ความคิดเห็นว่านมมีประโยชน์และคุณค่าทางสารอาหารมากกว่ากาแฟ และปัจจัยสิ่งแวดล้อมเป็นตัวสนับสนุนในด้านของสถานที่และร้านที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ร้าน Milk Zone ร้านมนต์นมสด และร้านเดี่ยวนมสด ปัจจัยในการตัดสินใจของนักเรียนส่วนใหญ่มีการตระหนักถึงสิทธิผู้บริโภคที่มองถึงความสะอาด ปลอดภัย คุณภาพ ราคา ตามลำดับ ซึ่งทั้งสามร้านนี้เป็นร้านที่ตรงตามความต้องการของสิทธิผู้บริโภค ส่วนวันเวลาที่นักศึกษานิยมไปบริโภค นม และกาแฟมากที่สุดคือช่วงวันจันทร์-วันศุกร์ ช่วงเวลา 17.00-20.00 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังเลิกเรียนและหลังเวลาทำกิจกรรม และจะไปบริโภค 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้งต่อคน ในการบริโภคนมและกาแฟ จะต่ำกว่า 31-50 บาท และจุดประสงค์หลักในการไปร้านนมหรือร้านกาแฟคือเพื่อบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม

(สะท้อนคิดวิชา 074411) กว่าจะได้รายงานวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์และเป็นรูปเล่มขึ้นมานั้น ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร. นิ่มอนงค์ งามประภาสม ที่ได้สอนและให้คำปรึกษา ในเรื่องของเทคนิคการทำวิจัย ขั้นตอน

ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้และความเข้าใจ และข้าพจำคำสอนและเทคนิคต่างๆที่อาจารย์ได้สอน ไปใช้ในวันข้างหน้าค่ะ

ชื่องานวิจัย การศึกษาวิจัย ความเครียดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีสาเหตุจากการจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมสอบเข้าระดับอุดมศึกษา

ชื่อผู้วิจัย วัชรพงศ์ หอมนาน

คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ ปริญญาตรี

ชื่อที่ปรึกษางานวิจัย ร.ศ.ดร.นิ่มอนงค์ งามประภาสม (ผู้สอนกระบวนวิชา 074411)

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาภาวะความเครียดจากการเรียนการสอนเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประชากรที่ใช่ในการศึกษาคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 40 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามจำนวน 3 ตอน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ความเครียดพื้นฐานและความเครียดด้านการจัดการเรียนการสอน (ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านเวลาเรียน ด้านการสอนของครูและด้านการเข้าร่วมกิจกรรม)ผลการวิจัยพบว่า

นักเรียนทั้งเพศชายและเพศหญิงมีความเครียดด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ในระดับมากทั้งหมด ในทุกด้าน

_______________________________________________________________________________________________

สะท้อนคิดจากการเรียนการสอน การเรียนการสอนกระบวนวิชานี้ เริ่มต้นด้วยการทบทวนบทเรียนวิจัยชั้นเรียนเบื้องต้น ก่อนที่จะทำการสร้างงานวิจัยของตนเองขึ้นมา ซึ่งในการทำวิจัยครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าเริ่มมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับรูปแบบงานวิจัย ซึ่งอาจารย์ก็ได้แนะนำ ติเตียน เพื่อแก้ไขจนได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ ต่อไปในฐานะครูข้าพเจ้าจะได้นำความรู้จากประสบการณ์การเรียนการสอน การสั่งสอนจากประสบการณ์ของอาจารย์นิ่มอนงค์ ไปใช้ในการสอนของตนเองในอนาคตต่อไป

ขอบคุณครับ

วัชรพงศ์ หอมนาน 500210175

ชื่อเรื่องวิจัย พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

โรงเรียน... จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อผู้วิจัย นางสาวอนันตพร พรมทอง

สาขา สุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ

คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร. นิ่มอนงค์ งามประภาสม

ปีที่ทำวิจัย พุทธศักราช 2554

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และเพื่อศึกษาความรู้ในเรื่องผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์มือถือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง โดยการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 50 คน คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 และ 3/2 แบบสอบถามมี 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป และตอนที่ 2 พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ สถิติที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ การวิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ โดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์พฤติกรรมในการใช้โทรศัพท์มือถือ โดยนำเสนอข้อมูลในรูปของค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแห่งหนึ่ง มีค่าโทรศัพท์โดยเฉลี่ยในแต่ละเดือนเป็นจำนวนเงิน 600-1000 บาท มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44 มีการใช้โทรศัพท์ใน 1 วัน ใช้เป็นเวลา 1 – 2 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 52 มีการใช้โทรศัพท์เพื่อโทรหาเพื่อนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 38 มีการเปลี่ยนโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้ไม่ถึงปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 58 วัตถุประสงค์หลักในการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่คือ พูดคุย และส่ง SMS มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70 ราคาของโทรศัพท์ที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่ที่ราคา 10,001 – 20,000 คิดเป็นร้อยละ 32 ความจำเป็นของโทรศัพท์เคลื่อนที่ในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่คิดว่า มีความจำเป็นปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 40 ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าโทรศัพท์มือถือมีผลกระทบต่อสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 68 ส่วนใหญ่ ไม่เคยคุยโทรศัพท์นานๆ แล้วมีอาการปวดศีรษะ คิดเป็นร้อยละ 64 ส่วนใหญ่เวลาเล่นเกมในโทรศัพท์แล้วไม่มีมีอาการปวดตานิ้วชาหรือนิ้วแข็ง คิดเป็นร้อยละ 92 ส่วนใหญ่ทราบว่าการคุยโทรศัพท์นานๆจะทำให้เป็นมะเร็งที่สมอง คิดเป็นร้อยละ 38 ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าโทรศัพท์มีคลื่นแผ่รังสีออกมาเวลาใช้งาน ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายของเรา คิดเป็นร้อยละ 60 ส่วนใหญ่ไม่แน่ใจว่าไม่ควรวางเอาโทรศัพท์ใส่กระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋ากางเกงเพราะจะทำให้เกิดมะเร็ง คิดเป็นร้อยละ 46

_____________________________________________________________________________________________

สะท้อนคิดวิชา 074411

การเรียนในกระบวนวิชานี้มีประโยชน์แก่นักศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เป็นการเรียนรู้จากเรื่องจริงและเป็นการหาประสบการณ์ที่ดีสำหรับวชาชีพครู สามารถสร้างให้เกิดความเข้าใจในการทำวิจัยในโรงเรียนเป็นอย่างดี และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ได้จริงในการไปปฏิบัติการวิชาชีพครูและประกอบอาชีพครูได้สืบต่อไปในอนาคต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท