นายมูซา ผู้นำครอบครัวที่ควรได้รับสิทธิอาศัยชั่วคราวในประเทศไทย


หากภรรยาและลูกๆ ของมูซา ได้รับสิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทยแล้ว มูซาจะสามารถอยู่กับครอบครัวในประเทศไทยต่อไปได้หรือไม่ และอยู่ในสถานะใด

เมื่อปี ๒๕๔๐ นายมูซา ได้พาภรรยาและบุตรสาวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยทางด้านด่านปากน้ำ อำเภอเมืองระนอง เพื่อมารับจ้างในประเทศไทย โดยได้เป็นลูกจ้างทำงานก่อสร้างที่จังหวัดภูเก็ต และในปี ๒๕๔๑ ภรรยาก็ได้คลอดบุตรชายคนที่สอง ที่บ้านเช่าในจังหวัดภูเก็ต

 

ต่อมา เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๙ ภรรยา และลูกๆ ซึ่งได้ย้ายมาอยู่กับญาติพี่น้องที่เป็นคนเชื้อสายไทย ที่เกาะแห่งหนึ่ง ในจังหวัดระนอง หลังเหตุการณ์คลื่นสึนามิ  ได้รับการสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน แต่นายมูซา ถูกปฏิเสธไม่ให้รับการสำรวจ เนื่องจากมีข้อสงสัยว่าเขาไม่ใช่คนเชื้อสายไทย เช่นเดียวกับภรรยา  ในขณะที่ภรรยาของมูซายืนยันว่าสามีของตนเป็นคนเชื้อสายไทยเช่นเดียวกัน

 

นายมูซา เกิดที่อำเภอเกาะสอง จังหวัดมะริด ประเทศพม่า  บิดาชื่อนายบาก้า มารดาชื่อนางตีม๊ะ ไม่มีนามสกุล ทั้งคู่เสียชีวิตแล้วที่อำเภอเกาะสอง ประเทศพม่า โดยขณะมีชีวิตได้เคยข้ามเรือไปมาระหว่างประเทศไทยและเกาะสอง แต่ไม่เคยเข้ามาอยู่อาศัย

 

หากภรรยาและลูกๆ ของมูซา ได้รับสิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทยแล้ว มูซาจะสามารถอยู่กับครอบครัวในประเทศไทยต่อไปได้หรือไม่ และอยู่ในสถานะใด

 
หมายเลขบันทึก: 47868เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2006 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 03:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เคยได้รับการบอกเล่าว่า ถ้าเป็นคนเชื้อสายไทย ก็จะสืบนามสกุลได้ แต่ถ้าเป็นคนที่ไม่มีเชื้อสายไทย ก็จะไม่อาจนำสืบถึงตระกูลได้

อันนี้ เป็นอีกปัญหาด้านวัฒนธรรมที่เคยคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมนะ

นุช ผู้ช่วยวิจัยให้ข้อมูลว่า มูซา ไม่มีนามสกุล

แต่การสำรวจบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ก็ไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มคนเชื้อสายไทยนี่คะ เพียงแค่รอบนี้เขาสำรวจตามมติ ค.ร.ม.สำหรับ ๒ กลุ่ม คือคนไทยพลัดถิ่น และมอแกน แต่ไม่รู้จะมีรอบหน้าสำหรับพื้นที่นี้หรือไม่ อย่างไร?

ขอแลกเปลี่ยนแบบไม่รู้อีกคนนะครับ

เรื่องแรก คนไม่มีนามสกุล เท่ากับไม่มีเชื้อสายไทย อันนี้เป็นเรื่องจริง หรือเรื่องที่เข้าใจว่าจริงครับ มันต้องดูว่าคำว่าเชื้อสายไทยในที่นี้มันกินความขนาดไหน เราอาจจะมีไทยเชื้อสายอื่นๆ หรือไท ที่ไม่มีนามสกุลก็ได้ (ถ้าผมจำไม่ผิด ไทหลายสายนับตระกูลฝั่งแม่ ทำให้การมีนามสกุลซึ่งเป็นแนวคิดแบบนับญาติฝั่งพ่อก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมี อันนี้ไม่แน่ใจนะครับ)

สอง ผมเห็นด้วยกับพี่ต้องที่บอกว่าการสำรวจในครั้งนี้เป้นการสำรวจบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน หากเจ้าหน้าที่ผู้สำรวจไม่อาจจะหาหลักฐานมายืนยันสถานะทางทะเบียนของมูซาได้ว่าไม่มีเชื้อสายไท ก็ควรจะจดทะเบียน ปัญหาอีกอันหนึ่งก็คือ ถ้าหากว่ามูซากับภรรยาและลูกไปขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติ เจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งก็อาจจะปฏิเสธการจดทะเบียนให้ โดยอ้างว่า ในบัตรอนุญาตทำงานเขียนว่าสัญชาติพม่า อันนี้เกิดขึ้นบ่อยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท