หมออนามัย สมุนไพรไมยราบ


 สมุนไมยราบ

นายอานนท์ ภาคมาลี (หมอแดง)

 

 

 


สมุนไมยราบ
       สมุนไมยราบ ไม้ล้มลุกสรรพคุณเป็นพืชสมุนไพร ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ไมยราบหรือหญ้าปันยอดมักมองกันว่าเป็นวัชพืชไร้ค่า แต่รู้ไหมว่าเป็นพืชที่มีสรรพคุณ ไมยราบเป็นไม้ล้มลุก ไม้พุ่มหรือไม้พุ่มรอเลื้อย มีหนามตามลำต้นและข้อ ใบมีลักษณะแบบขนนก 2 ชั้น มีปฏิกิริยาไวต่อการสัมผัส ใบจะหุบลู่ลง พืชสกุลไมยราบมีอยู่ประมาณ 480 ชนิด มักมีถิ่นกำเนิด อยู่ในอเมริกาใต้ ในประเทศไทยพบขึ้นเป็นวัชพืช 3 ชนิดคือ ไมยราบ ไมยราบขาว และไมยราบต้น นับว่าเป็นพืชสมุนไพร มีสรรพคุณ ทั้งต้นมีรสชุ่ม เย็นจัด แก้ไข นอนไม่หลับ สงบประสาท แก้เด็กเป็นตาลขโมย ตาบวมเจ็บ แผลฝี ผื่นคันและออกหัด รากรสขมเล็กน้อย ฝาด สุขขุม แก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ปวดตามข้อ กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง บำรุงกระเพาะอาหาร ระงับประสาท
      ดอก ออกเป็นดอกช่อกระจุกแน่น ออกที่ซอกใบกลีบดอกสีชมพู ผลเป็นฝักข้อสั้นๆอยู่รวมกันกับช่อ ผลแก่สีน้ำตาล ประโยชน์แม้จะเป็นพืชที่มีการแพร่กระจายพันธุ์อย่างรวดเร็วและกำจัดค่อนข้างยาก ซึ่งก่อให้เกิดปัญหา แต่ยังมีประโยชน์ทางสมุนไพร ทุกส่วนนำมาหั่นแล้วคั่วโดยใช้ไฟอ่อนๆกลิ่นหอม แล้วนำไปชงน้ำร้อนดื่มแทนชาช่วยลดคอเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือดได้
     ราก แก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง แก้ระบบการย่อยอาหารของเด็กได้ดี บำรุงกระเพาะอาหารทำให้ตาสว่าง ระงับประสาท แก้บิด ขับปัสสาวะ รักษาโรคปวดเวลามีประจำเดือน ถ้าไข้สูงมากๆจะเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ริดสีดวงทวาร รสขมเล็กน้อย ฝาด ปวดข้อ กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง
    ต้น ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ แก้ทางเดินปัสสาวะ อักเสบขับระดูขาว ขับโลหิต
   ใบ แก้โรคเริม งูสวัด โรคพุพอง ไฟลามทุ่ง
    พืชไมยราบ มีต้นสีน้ำตาลแดง ชอบแผ่ไปตามพื้นและชูยอดขึ้น ต้นมีหนามขนาดสั้น ใบประกอบคล้ายผักกระเฉด ดอกเป็นช่อกลมสีชมพู ก้านดอกยาว ไมยราบ เมื่อใดก็ตามที่เอานิ้วหรือกิ่งไม้ไปสัมผัส ใบแลก้านจะตอบสนองโดยการหุบตัวลงมาอย่างรวดเร็ว
    ไมยราบเป็นสมุนไพร ที่รู้จักดีของหมอยาพื้นบ้าน และมักนิยมนำมาใช้ เกี่ยวกับสรรพคุณเด่น คือ การขับนิ่ว ขับปัสสาวะ แก่บวม ไส้เลื่อน วิธีการใช้ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพียงแต่นำไมยราบทั้ง 5 มาต้มกิน (ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล) สรรพคุณที่หมอพื้นบ้านมาใช้อย่างแพร่หลายอีกคือ แก้ปวดหลังปวดเอว ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้ไตพิการ โดยนิยมใช้ไมยราบทั้ง 5 มาต้มกินและถ้าเจาะลึกในตำรายาบำรุงสุขภาพ จะนิยมผสมใบหม่อน ใบเตยหอม ดอกคำฝอย และทองพันชั่ง ****โดยใช้ไมยราบเป็นตัวยาหลัก ดื่มเพื่อสุขภาพและใช้แก้อาการปวดหลัง
ขยายความ ****ใบหม่อน ใบเตยหอม ดอกคำฝอย ทองพันชั่ง
   *ใบหม่อน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด ช่วยลดระดับ คอเลสเตอรอล หรือไขมันในเส้นเลือด และช่วยปรับลดความดันโลหิต นอกจากนี้ยังพบแร่ธาตุ และวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด สรรพคุณตามแพทย์แผนไทย ใบหม่อน แก้ตาแดง ตาแฉะ ตามัว ตาฟาง แก้ไอ เจ็บคอ ใบหม่อน และใบหม่อนคาบลูกคาบดอก นำมาปรุงเป็นอาหารเช่นใส่ต้มยำปลา ต้มยำเนื้อ ต้มยำไก่ หรือในหม้อต้มก๋วยเตี๋ยว ทำให้มีรสชาติอร่อย เพิ่มความเข้มข้นในน้ำต้มยำต่างๆ
   *ใบเตยหอม เตยหอมมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน ใบ บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ลดการกระหายน้ำ และอาจใช้ใบตำพอกรักษาโรคหัด โรคผิวหนัง ลำต้นและราก ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้น้ำเบาพิการ และรักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด
   *ดอกคำฝอย เป็นยาบำรุงโลหิต บำรุงประสาท แก้โรคผิวหนัง ลดไขมันในเส้นเลือด และป้องกันไขมันอุดตัน ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดต่ำ ช่วยให้การอุดตันของไขมันในหลอดเลือดลดลง ใบรสเป็นยาเบื่อเมา เป็นยาเย็นดับพิษไข้ ราก ป่นละเอียด ทาแก้กลากเกลื้อน ผดผื่นคัน
    *ทองพันชั่ง ไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม ส่วนโคนต้นเนื้อไม้เป็นแกนแข็ง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน รูปไข่ กว้าง 2-4 ซม.ยาว 4-8 ซม.ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวอ่อน ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีขาวเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นสองปาก ปากล่างมีจุดสีม่วงแดง ผลเป็นฝักเล็ก พอแห้งแตกออกได้ ส่วนที่ใช้ ราก ทั้งต้น ต้น ใบ สรรพคุณ
   ราก แก้กลากเกลื้อน รักษาโรคโรคมะเร็ง รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด รักษาโรคผิวหนัง ดับพิษไข้ แก้พิษงู แก้พยาธิวงแหวนผิวหนัง กระเพาะลำไส้ มะเร็งตามร่างกาย ทำให้ผมดกดำ อาเจียนเป็นเลือด รักษาโรคไขข้อพิการ แก้ลมเข้าข้อที่ทำให้ปวดบวมต่างๆ ขับปัสสาวะ
    ทั้งต้น  รักษาโรคผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน รักษามะเร็ง คุดทะราด ขับพยาธิตามผิวหนัง ตามบาดแผล แก้ไส้เลื่อน ไส้ลาม แก้ปัสสาวะผิดปกติ
    ใบ ดับพิษไข้ แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน แก้โรคไขข้ออักเสบ รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้ผมร่วง บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ แก้ปวดฝี แก้พิษงู ถอนพิษ แก้อักเสบ แก้โรคมุตกิด รักษาโรคพยาธิตามผิวหนัง
   นอกจากนี้ยังมี การนำใบไมยราบไปตำพอก รักษาแผล ทั้งแผลสด แผลเรื้อรัง ลดผื่นคัน เริม งูสวัด และช่วยให้นอนหลับสบาย แต่พบว่ายาตำรับนี้ไม่เป็นที่นิยมทั่วไป เหตุผลน่าจะเป็นเพราะไมยราบช่วยให้หลับ และสงบประสาทดีแล้ว ยังผลให้สมรรถนะทางเพศของผู้ชายหลับใหลไปด้วย ไมยราบมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา แก้ปวด แก้ไข้ ต้านการเกร็งของกล้ามเนื้อ แก้อักเสบ ขับปัสสาวะ คลายเครียด ทำให้ง่วงนอน การพัฒนาทำเป็นยาทิงเจอร์รักษาแผล ยาแก้ผดผื่นคัน หรือทำเป็นชาคลายเครียด ซึ่งไมยราบมีสารออกฤทธิ์คล้ายยานอนหลับอ่อนๆ
    ประโยชน์ แม้จะเป็นพืชที่มีการแพร่กระจายพันธ์อย่างรวดเร็ว และกำจัดค่อนข้างยาก ซึ่งก่อให้เกิดปัญหา แต้ก็ยังมีประโยชน์ทางสมุนไพร สามารถนำทุกส่วนหั่นแล้วคั่ว โดยใช้ไฟอ่อนๆ จะมีกลิ่นหอม แล้วนำไปชงแทนชา ช่วยลดคอเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือดได้
   ข้อแนะนำ ก่อนที่จะหยิบยกเรื่องของไมยราบมาเขียน ผู้เขียนได้สอบถามผู้ที่ดื่มไมยราบ จากคำบอกเล่า โดยเป็นยาผีบอก ฝัน และได้ไปบอกเพื่อนๆต่อ จำนวน 4 ราย ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือดเกิน 300 ขึ้นไป และมีโรคความดันโลหิตสูงอยู่ด้วย ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลติดต่อกันมาหลายปี โดยการนำไมยราบมาต้ม กับใบเตยหอมแล้วดื่มแทนน้ำดื่มเป็นประจำทุกวันประมาณ 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยไปรับการตรวจหาน้ำตาลในเลือดตามแพทย์นัด ผลออกมาพบน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 90 ความดันโลหิตลดลงเป็นปกติ  ทั้ง 5 ราย ผู้เขียนจึงไปที่ตำบลดอนทอง อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี ไปถ่ายรูปต้นไมยราบที่กำลังออกดอก และออกฝัก และเก็บต้นไมยราบ ทั้ง 5 มาทดลองหั่นแล้วคั่วไฟอ่อนๆ เพราะผู้เขียนเริ่มมีอาการเป็นโรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือด 130 และความดันโลหิตเริ่มสูง 79/139 มม.ปรอท มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และปวดข้อ นอนไม่ค่อยหลับ(เริ่มแก่) รับประทานไมยราบ ประมาณ 2 วัน ก่อนไปตรวจสุขภาพตามแพทย์นัด ผลการตรวจสุขภาพ ตามแพทย์นัด เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 ปรากฏว่าพบน้ำตาลในเลือด 120 ความดันโลหิต 80/130 มม.ปรอท ผู้เขียนต้องการบอกให้ท่านๆทั้งหลายทราบและเผื่อจะนำไมยราบมาทำตามคำแนะนำและหายจากโรคน้ำตาลในเลือดสูง(โรคเบาหวาน)และโรคความดันโลหิตสูงและโรคอื่นๆที่ได้กล่าวมา
     จริงๆแล้วต้นไมยราบที่ขึ้นตามลำคลองแถวตำบลดอนทอง อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรีและอำเภอใกล้เคียง ชาวบ้านจะนำลำต้นไมยราบมาใช้ทำรั้วบ้าน ไม้ค้ำผัก หรือทำเป็นฟืน หรือเผาถ่านเพื่อประกอบอาหาร หรือใช้สุมไฟให้วัว ควาย เพื่อไล่ยุงและริ้น ไรในเวลาพลบค่ำ หรือชาวบ้านจากที่อื่นๆจะนำลำต้นมาดัดเป็นสิ่งประดิษฐ์ เช่นทำเป็นกระถางต้นไม้ในรูปแบบต่างๆเพราะไมยราบเป็นไม้ดัดง่ายในรูปทรงต่างๆ เป็นกระเช้าหรือกระถางใส่กล้วยไม้ โครงกระเป๋าต่างๆหรือกรอบรูป
  
    

หมายเลขบันทึก: 478605เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2012 06:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2012 04:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีหมอ ไมยราบ ..ปักษ์ใต้บ้านผมเรียก"หนามงับ" ขอบคุณที่นำสรรพคุณ หนามงับมาบอกต่อ

คือสนใจในเรื่องไมยราบ ต้านเชื้อราค่ะ คือ อยากได้ข้อมูลและเอกสารอ้างอิง เพื่อนำมาทำ โปรเจคจบ ค่ะ วท.เคมี ค่ะ ขอความกรุณาด้วยนะค่ะ

คุณ mocona ในหนังสือ มูลนินิสุขภาพไทย หรือส่ง mail มาที่ผมจะพยายามหาคำตอบให้ [email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท