การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสมาธิสั้น


ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสมาธิสั้น

ชื่อผู้วิจัย          นางรจนา    มีแสง

                        ครูประจำชั้นอนุบาล 2/2

                        โรงเรียนมูลนิธิวัดปากบ่อ

                        ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554

 

เรื่อง  การปรับพฤติกรรมสมาธิสั้นของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์

 

ความเป็นมา

            จากการสังเกตพฤติกรรม เด็กปฐมวัย อ.2/2 ในช่วงจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เด็กปฐมวัย ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 พบว่ามีเด็กสมาธิสั้นทั้งหมด 3 คน ไม่สามารถทำงานในกิจกรรมที่ต้องใช้ระยะเวลานาน ๆ ในการทำชิ้นงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลงได้  อาทิเช่น  การทำกิจกรรมระบายสีภาพต่าง ๆ หรือ การทำฉีกปะภาพ  จะขีดเขียนแค่ 3 - 4 ครั้ง และไม่ทำชิ้นงานนั้นต่อ หรือเลิกทำไปในที่สุด  จากนั้นจะมีพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจจากเพื่อน ๆ โดยการแกล้งเพื่อน ๆ และครูผู้สอน  ถึงแม้จะเปลี่ยนเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น การร้องเต้นประกอบเพลง ฟังนิทาน  แล้วก็ตามพฤติกรรมดังกล่าวยังไม่ดีขึ้น

         ครูประจำชั้นจึงต้องคอยดูแล กระตุ้นพัฒนาการ โดยการนำกิจกรรมสร้างสรรค์มาฝึกปฏิบัติ เพื่อปรับพฤติกรรมสมาธิสั้นของเด็กปฐมวัย

ปัญหา

            เด็กในชั้นเรียนอนุบาลปีที่ 2 จำนวน  29   คน   มีเด็กสมาธิสั้น 3  คน

 

คำถามการวิจัย

            การปรับพฤติกรรมสมาธิสั้นของเด็กปฐมวัย  โดยการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์จะได้หรือไม่

 

สาเหตุ

  1. ให้ความสนใจในสิ่งต่าง ๆรอบตัวน้อย
  2. ไม่สนใจในการทำกิจกรรม
  3. มีความอดทนในการทำกิจกรรมน้อย

 

วัตถุประสงค์

1.    เพื่อปรับพฤติกรรมสมาธิสั้น

2.    เพื่อให้นักเรียนรู้จักการเข้าร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น

3.    รู้จักการรอคอยตามลำดับ ก่อน – หลัง

 

วิธีดำเนินการ

  1. ให้เด็กทำกิจกรรมสร้างสรรค์ ทุกวันวันละ 1 กิจกรรม
  2. ให้เด็กนำผลงานที่ทำมาแสดงให้เพื่อนดู
  3. ครูและนักเรียนช่วยกันเสริมแรงด้วยคำชมเชย
  4. บันทึกหลังการจัดกิจกรรมทุกครั้ง
  5. สังเกตการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

 

สรุปผลการวิจัย

จากการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เด็กสมาธิสั้นจำนวน 3 คน ผลการแก้ไขทั้ง 4สัปดาห์ สรุปโดยรวมได้ความดังนี้การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้ งานศิลปะ ใช้ได้ผลดี เพราะกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นกิจกรรมที่เด็กวัยนี้ชอบ จึงทำให้เด็กรู้สึกสนุกทุกครั้งที่จัด เมื่อมีเวลาว่างเด็ก ๆ มักจะขอให้ทำอีกทุกครั้ง มีการให้แรงเสริมเมื่อเด็กทำถูกโดยชื่นชม และปรบมือให้เด็ก จากการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมเด็กค่อยๆพัฒนาทักษะทางด้านอารมณ์ไปอย่างช้าๆและใช้ระยะเวลาในการปรับตัวค่อนข้างนานแต่ในที่สุดก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้นเด็กที่ร่วมกิจกรรมในห้องเป็นตัวกระตุ้นให้กับเด็กที่เป็นกรณีศึกษา ซึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมที่ให้เด็กได้รับการฝึกบ่อย ๆ จนทำให้เกิดพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น

 

การสะท้อนผล

            จากการทำวิจัยเรื่องเด็กสมาธิสั้นโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ในระหว่างทำการวิจัย ข้าพเจ้าได้ให้  ครู 2  ท่านข้างห้อง และหัวหน้าสายระดับอนุบาล 2 ได้ร่วมสังเกตพฤติกรรมของเด็กทั้ง 3 คน ผลปรากฏว่าการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้นของเด็กปฐมวัย นั้นสามารถปรับพฤติกรรมของเด็กได้

หมายเลขบันทึก: 477797เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2012 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท