การทำและเขียนCQI Story


หลักการไม่ยาก เขียนเหมือนงานวิจัยเล็กๆ แต่ที่สำคัญคือทำเพื่อแก้ไขปัญหาในงานที่ตนเองรับผิดชอบ ทำแล้วต้องนำมาใช้ปรับปรุงวิธีการทำงานของตนเองให้ดีขึ้นได้

                 คือว่าห้องแลปจะส่งCQI และนำเสนอ CQI นี้ที่ศูนย์วิทย์พิดโลกพี่อ้วนให้แนนเขียนเป็นเอกสารวิชาการแต่แนไม่รู้ว่าเขียนอย่างนี้ดีหรือเปล่าแนนเลยส่งให้หมอดูเผื่อว่าหมอจะช่วยปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นค่ะ  ขอบคุณค่ะ

CQI

เรื่อง IT Report

บทนำ

                      เนื่องจากโรงพยาบาลบ้านตากมีสถานีอนามัยในความรับผิดชอบหลายแห่งซึ่งสถานีอนามัยแต่ละตั้งอยู่แห่งไกลจากโรงพยาบาลมาก โดยแต่ละสถานีอนามัยจะมีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหลายรายการและจำนวนหลายครั้งต่อเดือน ซึ่งแต่เดิมนั้นทางงานชันสูตรจะส่งผลการทดสอบให้แก่สถานีอนามัยโดยส่งเป็นจดหมายปิดผนึกผ่านทางสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ

                     ซึ่งพบว่าการส่งผลการทดสอบด้วยวิธีดังกล่าวทำให้สถานีอนามัยได้รับผลการทดสอบล้าช้าและบ้างสถานีอนามัยยังไม่ได้รับผลการทดสอบดังกล่าว ซึ่งสถานีอนามัยที่ส่งตรวจแล้วไม่ได้รับผล คิดเป็น 4.4 % ของสถานีอนามัยที่ม่งตรวจทั้งหมด ทางงานชันสูตรโรงพยาบาลบ้านตาก จึงได้ทำ CQI เรื่อง IT Report ขึ้นเพื่อให้ทางสถานีอนามัยได้รับผลการทดสอบอย่างรวดเร็วและครบถ้วน

วัตถุประสงค์

                   เพื่อให้ผลการทดสอบทางห้องปฏิบัติการส่งถึงสถานีอนามัยอย่างถูกต้องครบถ้วนและรวดเร็วซึ่งทำให้ผู้ป่วยได้รับผลการรักษาอย่างทันท่วงที

วิธีการศึกษา

  1. ทำการประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการและเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยที่เกี่ยวข้อง
  2. ทำการจดบันทึกรายชื่อผู้เกี่ยวข้องและที่อยู่ทางอิเล็กทอนิก(E-mail) ที่สามารถติดต่อได้ของสถานีอนามัยต่าง ๆ
  3. ทำการตรวจสอบผลการทดสอบแล้วจึงบันทึกผลการทดสอบลงในระบบคอมพิวเตอร์แล้วจึงแนบไฟล์นั้นส่งไปยังสถานีอนามัยต่าง ๆ ทาง Internet
  4. เมื่อส่งข้อมูลทาง Internet แล้วจึงทำการส่งเอกสารรายงานผลการทดสอบเป็นจดหมายปิดผนึกส่งไปยังสถานีอนามัยต่าง ๆ โดยผ่านทางสำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านตาก

ผลการปฏิบัติงาน

                    เมื่อมีการส่งผลการทดสอบโดยระบบ Internet ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาพบว่าไม่เกิดปัญหาเรื่องผลการทดสอบไม่ครบถ้วนและล้าช้า และนอกจากนี้ยังทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงทีเมื่อผลการทดสอบผิดปกติ

วิจารณ์และสรุปผล

                      จากการรายงานผลโดยใช้ระบบ Internet ทำให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยได้รับผลการทดสอบที่ครบถ้วนและรวดเร็วขึ้นจึงจึงทำให้การติดตามผู้ป่วยที่มีผลการทดสอบผิดปกติมาทำการรักษาในระดับที่สูงขึ้นได้อย่างรวดเร็วซึ่งแม้การส่งผลการทดสอบจะมีปัญหาในสถานีอนามัยที่อยู่ห่างไกลและไม่มีการติดตั้งโทรศัพท์ที่สถานีอนามัยแต่ก็ยังสามารถส่งผลการทดสอบทาง Internet ได้โดยผู้รับผิดชอบจะทำการเปิดและตรวจสอบดูข้อมูลจากสถานีอนามัยใกล้เคียงได้และในกรณีที่ข้อมูลเป็นความลับของผู้ป่วยจะมีการส่งผลโดยใช้รหัสของผู้ป่วยแทนการส่งเป็นชื่อผู้ป่วยซึ่งทำให้ความลับของผู้ป่วยไม่ถูกเปิดเผย

สวัสดีแนน

            หมอได้อ่านแล้วและได้เขียนข้อคิดเห็นไว้แต่ปรากฎว่าไฟล์มันหายไป ก็เลยต้องมาเขียนให้ใหม่ มีข้อเสนอแนะในการเขียนCQI story ดังนี้

1.  ชื่อเรื่องควรเป็นชื่อของปัญหาที่เรานำมาทำ เช่น การแก้ปัญหาสถานีอนามัยในเขตรับผิดชอบไม่ได้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือได้ล่าช้าหรือได้ไม่ครบ

2.  คำนำควรเป็นการอธิบายชื่อเรื่องหรืออธิบายปัญหาว่าเป็นอย่างไร ขอบเขตแค่ไหน ส่งผลเสียอย่างไร ใครได้รับผลกระทบบ้างและควรบอกผลลัพธ์ปัจจุบันที่ทำได้เช่น อัตราได้รับ อัตราสูญหาย อัตราล่าช้า เป็นต้น

2.  ระบุสาเหตุของปัญหา โดยระดมสมองหาสาเหตุของปัญหกามาให้ได้มากที่สุดว่าเกิดจากอะไรได้บ้าง เช่น ลืมส่ง ไปรษณีย์ทำหาย ส่งไปแล้วหายที่ สสอ. ส่งทันเวลาแต่สอ.ไม่มารับผล สอ.งานยุ่งจนไม่มีเวลามารับผล เราส่งช้าเอง เป็นต้น

3.  เลือกสาเหตุที่เป็นต้นเหตุจริงๆ(Root cause analysis) มาสัก 1-2 สาเหตุ เป็นสาเหตุที่มีผลจริงๆต่อปัญหา เช่นสาเหตุที่ล่าช้า ไม่ครบถ้วน ไม่ทันเวลา เกิดเพราะ สอ.มีงานมากจนไม่มีเวลามารับผลที่ สสอ. (นั่นคือเราเองส่งทัน ครบ ไปรษณีย์ไม่ทำหาย สสอ.แจ้งข่าวตลอดแล้ว)

4.  จากสาเหตุในข้อ 3 การที่ผลไปอยู่ที่ สสอ.แล้วแต่ สอ.ไม่ได้มารับผลเพราะงานเยอะ เราก็มาวิเคราะห์หาทางเลือกว่า จะแก้ไขอย่างไรบ้าง ลองระดมสมองออกมาให้ได้ทางเลือกที่มากๆทาง

5.  กำหนดวัตถุประสงค์โดยเป็นส่วนดีของปัญหา เช่นเพื่อช่วยให้สถานีอนามัยได้รับผลตรวจทางห้องปฏิบัติการครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลา เป็นต้น

6. เลือกทางเลือกที่น่าจะได้ผลดีที่สุดในการแก้ปัญหาและเหมาะสมที่สุดกับบริบทหรือสภาพของงานของเราและอำเภอของเรา ตกลงว่าเลือกการส่งผลโดยใช้IT Report (ตัวนี้คือวิธีใหม่ที่เราคิดขึ้นเพื่อพัฒนางาน จะเรียกว่าเปผ็นนวัตกรรมก็ได้ การที่หัวเรื่องที่ส่งมาให้ดูใช้คำว่าCQIเรื่องIT report จึงไม่ใช่เพราะCQIเริ่มจากปัญหา ถ้าจะใช้ชื่อIT reportเป็นชื่อเรื่องควรจะเป็น นวัตกรรมเรื่องIT report ซึ่งเราก็จะใช้แนวทางของการตามรอยหรือKMมาเขียนให้เห็นว่าIT reportมาจากการแก้ปัญหาอะไร ทิศทางการเขียนมันจะกลับทางกัน)

7. ทางเลือกของการใช้IT reportนั้น เรามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง(ซึ่งก็คือที่เขียนมาว่าเป็นวิธีการศึกษานั่นแหละ)

8. พอปฏิบัติตามทางเลือกนี้ไปสักระยะหนึ่ง เช่น 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน 1ปี เราก็มาสรุปผลลัพธ์ที่ได้จากวิธีใหม่นี้ว่าเป็นอย่างไร ดีขึ้นแค่ไหนเมื่อเทียบกับก่อนใช้วิธีใหม่นี้ ก็คือวัดจากตัวชี้วัดอะไร เชิงปริมาณเช่นอัตราทันเวลา อัตราสุญหาย อัตราได้รับครบหรืออัตราพึงพอใจ หรือเชิงคุณภาพเช่นรุ้สึกว่างานดีขึ้น ความสัมพันธ์ดัขึ้น ความร่วมมือกันดีขึ้น เป็นต้น

9. สรุปว่าการทำCQIครั้งนี้ สามารถแก้ปัญหานี้ได้หรือไม่ จากวิธีหรือนวัตกรรมอะไร

10 .ข้อแสนอแนะและแผนงานหรือแนวทางที่จะพัฒนามากขึ้นในอนาคตควรเป็นอย่างไร เช่นติดตั้งอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงให่ สอ.ในพื้นที่และสสอ.เพื่อจะได้ส่งให้ทั้ง สสอ.และสอ. พัฒนาระบบรหัสการรายงาน เป็นต้น

             หวังว่าคงพอทำได้นะ  เนื้อหาที่ทำมาก็เกือบครบถ้วนแล้ว เพิ่มเติมอีกเล็กน้อยและเรียบเรียงใหม่เท่านั้นเอง

                                                   หมอพิเชฐ

คำสำคัญ (Tags): #kmกับคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 47744เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2006 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ท่าน ผอ.ค่ะขอยืมแนวคิดไปใช้บ้างคะ

รพร.สระแก้ว

ด้วยความยินดียิ่งครับ

ขอยืมด้วยคนนะคะ

ขอนิดนึง และกรณี ที่ทำการส่งข้อมูล ทาง IT Report ไปแล้ว ปลายทางได้รับผลแล้ว และแจ้ง คนไข้ไป แต่บังเอิญว่า พอผลจริงที่ส่งทางไปรษณีย์ออกมา ปรากฎว่า รายงานผลผิด มีวิธีการอย่างไรค่ะ ไม่ทราบว่าผลที่ Report ไป เป็น File Scan หรือว่าคัดลอกลง IT report ค่ะ

วิธีการศึกษาข้อ 4 ค่ะ สอบถามว่าได้รับจดหมายทุกใบหรือไม่ค่ะ

สงสัยกรณี คนไข้เจาะเลือดหา HIV มีไหมค่ะ แล้วทำการแจ้ง Pt. ไร เช่น ได้รับผลมาแล้ว ให้ใครมาฟังผล และทำการยืนยันอย่างไร ว่า Pt. ได้ทำการฟังผลมาแล้ว โดยไม่ใช้บุคคลอื่น

อยากทราบค่ะ เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการทำงานได้ค่ะ

อธิบายได้ชัดเจนจังเลย

ขออนุญาตินำไปใช้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท