เรื่องเล่าในโรงเรียน


เล่าสู่กันฟัง
                                                                                                            นางโสภา   มาพลาย

โรงเรียนพลับพลาไชย

                              อบอุ่นร่างกายโดยใช้เกมและการละเล่นพื้นเมือง                

จากประสบการณ์ที่สอนวิชาพลศึกษามาปัญหาที่พบคือ  ขั้นอบอุ่นร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติทักษะทางกีฬา  หรือกิจกรรมต่างๆ  พบว่านักเรียนส่วนใหญ่  ไม่ชอบในช่วงอบอุ่นร่างกาย เนื่องจากไม่อยากวิ่งรอบสนาม  จะบอกกับครูว่า ปวดหัว ปวดท้อง   แต่เวลาให้ฝึกทักษะกีฬาต่าง ๆ จะมาปฏิบัติได้  จะเป็นเช่นนี้อยู่บ่อยครั้ง จึงแก้ปัญหาดังนี้1.       แบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่มๆละเท่าๆกัน  2.       แต่ละกลุ่มค้นคว้าเกี่ยวกับเกม  และการละเล่นพื้นเมืองมาเพื่ออธิบายและสาธิตให้เพื่อนเล่นก่อนปฏิบัติทักษะทางกีฬา3.       ให้เล่นในขั้นอบอุ่นร่างกายครั้งละ 2 เกม4.       เกมและการละเล่นพื้นเมือง  ที่แต่ละกลุ่มค้นคว้ามา  ครูจะแนะนำให้เป็นเกมที่เน้นการวิ่งมาก ๆ5.       เกมและการละเล่นพื้นเมืองที่เน้นการวิ่งมากๆ  เช่น5.1    เกมกระต่ายกระแต5.2    เกมตำรวจจับขโมย5.3    วิ่งเปี้ยว5.4    ถือบอลอ้มหลัก6.       แต่ละกลุ่มจะพลัดมาอธิบายและสาธิตการเล่นเกมและการละเล่นพื้นเมืองให้เพื่อนกลุ่มอื่นๆได้ปฏิบัติตามในขั้นอบอุ่นร่างกายจากการเปลี่ยนวิ่งรอบสนามมาเป็นการเล่นเกมและการละเล่นพื้นเมืองในขั้นอบอุ่นร่างกายพบว่านักเรียนทุกคนมีความสุขและสนุกสนานกับการเรียนวิชาพลศึกษามีความกระตือรือร้น  ในการศึกษาค้นคว้าหาเกมและการละเล่นพื้นเมือง  ร่วมมือในการปฏิบตักิจกรรมเป็นอย่างดี  นางสาวนพรัตน์   คำเกลี้ยงโรงเรียนพลับพลาไชยส้มตำ                 การปรุงอาหาร  ส้มตำเป็นอาหารของบุคคลทั่วไป  โดยเฉพาะภาคอิสาน  หมู่ชนชาวลาวและเดี๋ยวนี้จะแพร่ไปทั้งหมู่ชาวไทย  ชาวฝรั่ง   ที่มักนิยมเป็นอาหารจานโปรด   ไปที่ไหนๆ  ก็จะมีอาหารชนิดนี้อยู่ทั่วไป  ตามภัตาคาร  ร้านอาหารในเมือง  ตามชนบท   จนถึงร้านข้างทางริมถนน  ส้มตำไม่ว่าจะเป็นส้มตำปู   ตำไทย   ตำปลาร้า  ฯลฯ  ข้าพเจ้าได้นำมาใช้สอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1  วันหนึ่งเมื่อครูบอกว่าจะตำส้มตำ  เด็กนักเรียนในชั้นต่างก็ดีใจมาก  บางคนบอกว่าหนูจะเอามะละกอมา   หนูจะเอาถั่วฝักยาวมา   หนูจะเอามะนาวมา   หนูจะเอาพริกมา  หนูจะเอาปลาร้ามา   และอีกหลายอย่างที่เป็นเครื่องปรุงส้มตำ                เมื่อนักเรียนนำเครื่องปรุงมาแล้วต่างก็บอกกับครูว่า  เมื่อไรจะตำส้มตำคะ   ครูจะตำส้มตำหรือยัง   หนูอยากตำแล้วค่ะ   ครูต้องบอกว่าเดี๋ยวก่อนเราต้องเรียนก่อน   ยังไม่ถึงเวลาเลยขอเวลาเรียนก่อน   และนักเรียนต้องตั้งใจเรียน  เขียนให้สวยเรียบร้อย สะอาดด้วย   เขียนให้ถูกต้องไม่ล่าช้าเสร็จทุกคนแล้วเราจะได้ตำส้มตำกันทั้งชั้นเรียนเลย   นักเรียนในชั้นต่างก็ตั้งใจเขียนอย่างบรรจง  แล้วก็นำมาให้ครูดู   และบอกว่าหนูเขียนเสร็จแล้ว   เมื่อสังเกตดูนักเรียนเขียนดีขึ้นและที่เขียนล่าช้าก็เปลี่ยนไปจากเดิม  คือเขียนได้เร็วกว่าเดิม  และหลายๆคนเขียนได้เรียบร้อยถูกต้อง  เป็นความเปลี่ยนแปลงที่น่าภาคภูมิใจที่นั่กเรียนในชั้นเขียนได้ดี  จากนั้นครูและนักเรียนต่างก็ร่วมกันตำส้มตำอย่างสนกสนาน   นักเรียนช่วยหยิบจับเครื่องปรุงมาใส่ครกและตำกันอย่างสนตุกสนาน   และร่วมรับประทานโดยแบ่งเป็นกลุ่มๆละ 5 คน  นักเรียนต่างชมว่าอร่อยมาก  และอยากตำกันอีก   ครูจึงบอกว่าถ้านักเรียนจะตำส้มตำอีก  นักเรียนต้องตั้งใจเรียน  และเขียนให้สวยๆ เรียบร้อย  และสะอาดอย่าล่าช้า  แล้วเราจะตำส้มตำกันอีก  ตั้งแต่นั้นมานักเรียนต่างก็ตั้งใจและสนใจการเรียน   และทำงานดีขึ้นกว่าเดิมมาก นายลิขิต   วริกูลโรงเรียนพลับพลาไชยการปรับปรุงห้องสมุด                ตามหลักสูตรการเรียนการสอนในปัจจุบัน ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ  และควรที่จะสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง   ทางโรงเรียนจึงต้องมีแหล่งเรียนรู้ที่นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง   ซึ่งจะทำให้ความรู้ที่นักเรียนได้รับ สามารถจดจำความรู้นั้นได้ยาวนาน  และจากการที่ข้าพเจ้าเคยได้เข้าอบรมก่อนการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรรวมทั้งได้วิเคราะห์หลักสูตรโครงร่าง  และเคยสอบถามวิทยากรแกนนำตั้งแต่ปีการศึกษา 2540 ว่าต่อไปนี้ห้องสมุดควรจะเป็นแหล่งค้นคว้าที่ตอบสนองความต้องการของหลักสูตรและการสืบค้นของนักเรียนใช่หรือไม่  ซึ่งวิทยากรก็ได้บอกกับข้าพเจ้าว่าใช่ถูกต้อง   ตั้งแต่นั้นมาข้าพเจ้าก็ตั้งใจว่าหากได้มีโอกาสเข้ามารับผิดชอบห้องสมุดเมื่อใด  ข้าพเจ้าจะปรับปรุงให้นักเรียนอยากเข้ามาค้นคว้า  หาความรู้  และเป็นห้องที่นักเรียนเข้ามาแล้วสบายใจมากที่สุด   เหมือนกับอยู่ที่บ้านของนักเรียนเอง                ในช่วงต้นปีการศึกษา  2548  ครูที่รับผิดชอบห้องสมุดโรงเรียนพลับพลาไชย  ได้รับคำสั่งย้ายไปทำการสอน ณ โรงเรียนใกล้บ้านของท่าน  จึงเป็นช่วงโอกาสที่ดีของข้าพเจ้าที่จะเข้ามารับผิดชอบห้องสมุดข้าพเจ้าจึงเรียนปรึกษากับผู้อำนวยการว่าข้าพเจ้ามีแผนงานที่จะปรับปรุงห้องสมุดใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรขณะนี้  ซึ่งหลังจากที่ผู้อำนวยการได้ฟังก็เห็นด้วย   แล้วข้าพเจ้าหาทีมมาร่วมทำงาน  ข้าพเจ้าจึงชวนครูที่มีใจอยากเข้ามาร่วมพัฒนาด้วยกันในช่วงแรกประมาณ  6  คน  และจัดทอดผ้าป่าเพื่อปรับปรุงห้องสมุดได้เงิน ห้าหมื่นกว่าบาทเริ่มขยายห้องสมุดเป็นสองห้องติดกัน   ปูกระเบื้อง   ติดลูกกรง   ทาสีห้องใหม่  จัดหมวดหมู่หนังสือโดยที่ไม่ได้ยึดระบบสากลด้วยเป็นการยากในการจัดหมวดหมู่ซึ่งนักเรียนจะไม่สามารถช่วยเราได้  ข้าพเจ้าจึงได้กำหนดหมวดหมู่ใหม่  10 หมวด  คือ  8  กลุ่มสาระ หมวดเบ็ดเตล็ด  และอ้างอิง  โดยใช้กระดาษกาวติดแถบสันหนังสือแยกสี  จะทำให้นักเรียนสามารถช่วยเราจัดชั้นหนังสือได้ และแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นห้องผลิตสื่อ เก็บสื่อการเรียนการสอนไว้บริการครูในโรงเรียนด้วย  ข้าพเจ้าได้ติดต่อขอบริจาคทางอินเตอร์เน็ทจากเว็ปไซด์ที่ข้าพเจ้าเป็นสมาชิก โดยขอบริจาคหนังสือ  อุปกรณ์การเรียนและคอมพิวเตอร์สำหรับต่ออินเตอร์เน็ท  ให้นักเรียนค้นคว้า จำนวน  1  เครื่อง  พอดีกับก่อนหน้านี้พี่ชายข้าพเจ้าซึ่งเป็นข้าราชการครูที่ราชบุรี  มีโปรแกรมเกี่ยวกับการบริการห้องสมุด  มาให้ซึ่งเป็นของการศึกษานอกโรงเรียนโพธาราม   หลังจากได้ศึกษาแล้วพบว่าเป็นโปรแกรมที่น่าใช้  และสะดวก  จึงนำมาใช้ในห้องสมุดโดยขอเครื่องคอมพิวเตอร์จากห้องคอมซึ่งเป็นเครื่องเก่าเพนเทียม 133  แรม 32 มาใช้บริการ  พร้อมทั้งปรับปรุงบัตรห้องสมุดโดยใช้บัตรเติมเงินมาเป็นบัตรห้องสมุด  เพียงติดรหัส  6  หลักพร้อมชื่อและชั้น  ก็สามารถใช้ได้ทนทานต่อมาผู้อำนวยการสนับสนุนการจัดซื้อหนังสือเพิ่มเติมอีกมากทำให้ห้องสมุดของเรามีหนังสือค่อนข้างมาก  จากการปรับปรุงข้างต้นทำให้นักเรียนเขามาใช้บริการมากขึ้น  ในปีการศึกษา  2549  ข้าพเจ้าอยากจะเพิ่มแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายมากขึ้นประกอบกับได้งบประมาณโครงการห้องสมุดมีชีวิต   ข้าพเจ้าจึงได้ปรับปรุงห้องสมุดอีกครั้ง  คือ ได้นำตู้ปลาน้ำจืดเข้ามาจัดให้ห้องสมุดโดยเลี้ยงปลาน้ำจืดเช่น ปลาดุก  ปลาสวาย  ปลาแรด  ปลาทับทิม  ปลานิล  ให้นักเรียนได้ศึกษา  และมีข้อมูลให้นักเรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับปลาเหล่านี้   และเพิ่มการจัดระบบนิเวศน์จำลองในห้องสมุด  จัดมุมดูวีซีดีสารคดี  3 เครื่อง   โดยใส่หูฟัง  รวมทั้งจัดตอบปัญหาสารานุกรม  และปัญหาทั่วไปจากหนังสือในห้องสมุดให้นักเรียนร่วมตอบปัญหาทุกสัปดาห์   จัดให้มีโชว์การเชิดหุ่นมือละครโรงเล็กทุกเดือน  พบว่าตั้งแต่จัดกิจกรรมเหล่านี้นักเรียนร่วมกิจกรรมและเข้าใช้บริการห้องสมุดจนเต็มห้องทุกวัน   เก้าอี้ไม่พอนั่งทำให้ต้องนั่งกับพื้น  ซึ่งคิดว่าในปีหน้าคงต้องขยายห้องอีกแน่นอน นางสำลี   ฉ่ำชื่น   โรงเรียนพลับพลาไชย  แก้ไขนักเรียนขาดเรียนบ่อย                ดิฉันสอนประจำชั้นอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ในปีการศึกษา  2547    ดิฉันมีปัญหาคือมีนักเรียนในชั้นเรียนของดิฉันอยู่   1   คน    จะขาดเรียนอยู่บ่อยๆ     อาทิตย์หนึ่งจะมาเรียน   2   วันบ้าง    3   วันบ้าง     ซึ่งทำให้นักเรียนคนนี้เรียนไม่ทันเพื่อน        ไม่ได้ทำงานส่งหลายชิ้น         ดิฉันจึงแก้ปัญหาดังนี้                1. เรียกนักเรียนมาพบและคุยกับนักเรียนว่ามีปัญหาอะไรถึงได้ขาดเรียนบ่อยๆ    นักเรียนก็บอกว่าไม่สบาย      และบางครั้งผู้ปกครองก็ให้ขาดอยู่เฝ้าบ้าน          2. เชิญผู้ปกครองของนักเรียนมาพบและพูดคุยกับผู้ปกครองของนักเรียนว่าทำไมนักเรียนถึงได้ขาดเรียนบ่อยผู้ปกครองของนักเรียนบอกว่านักเรียนแต่งตัวมาเรียนทุกวันไม่ทราบเลยว่านักเรียนขาดเรียน     เพราะตัวเองก็ต้องออกไปทำงานแต่เช้ากว่าจะกลับบ้านก็มืดค่ำ     ซึ่งนักเรียนไม่มีใครคอยดูแลเลยเพราะตัวเองก็ได้แยกทางกับภรรยาแล้วและอยู่กับลูกเพียงแค่   2   คน                     3. เมื่อทราบว่านักเรียนขาดเรียนเองไม่ได้ขาดเรียนเพราะผู้ปกครองให้ขาด       ดิฉันจึงขอความร่วมมือจากผู้ปกครองของนักเรียนให้หาเวลาว่างมาคอยดูแลนักเรียนบ้าง     นักเรียนจะได้มาเรียนไม่ขาดเรียนบ่อยๆ   อีก เพราะถ้านักเรียนขาดเรียนมากๆ   นักเรียนจะไม่มีสิทธิ์สอบและจะเรียนไม่จบชั้น ป. 6                   4. หลังจากคุยกับผู้ปกครองแล้วก็ได้เรียกนักเรียนมาพบและพูดคุยกับนักเรียนอีกครั้งหนึ่ง      และบอกกับนักเรียนว่าที่โกหกครูว่าขาดเรียนเพราะผู้ปกครองให้ขาดเฝ้าบ้านนั้นครูจะไม่ลงโทษ     แต่ขอให้นักเรียนมาเรียนทุกวันยกเว้นถ้าไม่สบายก็ให้ขาดเรียนได้      แต่ถ้าไม่จำเป็นอย่าขาดเรียนอีก     เพื่ออนาคตของตัวเองพยายามเรียนให้จบ    ถึงแม้ว่านักเรียนจะไม่มีแม่คอยดูแลแต่นักเรียนก็ยังมีพ่อ     ซึ่งนักเรียนยังดีกว่าคนอื่นๆ    อีกหลายคนที่ไม่มีทั้งพ่อและแม่คอยดูแล                จากการแก้ปัญหาดังกล่าวพบว่าผู้ปกครองของนักเรียนพยายามหาเวลาว่างมาคอยดูแลนักเรียนมากขึ้น    และถ้าตัวเองไม่ว่างก็จะให้เพื่อนบ้านช่วยดูแลนักเรียนแทน   ซึ่งทำให้พฤติกรรมการมาเรียนของนักเรียนคนนี้ดีขึ้น    นักเรียนขาดเรียนน้อยลง     ชามของ......นนท์เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๔๓ ฉันสอนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕         นักเรียนคนทีฉันกำลังจะพูดถึงนี้ชื่อ เด็กชายนนท์  คานนท์     นนท์เป็นเด็กรูปร่างค่อนข้างผอม  ดำ  เรียนไม่ค่อยทันเพื่อน   ลายมือไม่ค่อยน่าพอใจ    แต่เรียกง่ายใช้คล่องทำงานนอกห้องได้ดีกว่าคนอื่นเช่น   การขุดดิน  ปลูกผัก  เขาทำได้ดีจริง ๆ                วันหนึ่งในชั่วโมงการงาน ฯ  ฉันให้นักเรียนเขียนรายชื่อ อาหารคาวและอาหารหวานและยกตัวอย่างให้ฟัง  เช่น  อาหารคาวก็มี  ไข่เจียว แกงจืดหมูสับ  แกงเขียวหวาน  ฯลฯอาหารหวาน( ขนม ) ก็มี  บัวลอย  ขนมชั้น  ลอดช่อง  ฯลฯ   กะว่า ถ้านักเรียนเขียนมาส่งก็ได้ทักษะการเขียนภาษาไทยด้วย พอถึงเวลาส่งงานของคนอื่นก็ธรรมดาไม่แปลกจะมีก็การสะกดคำอาจจะผิดบ้าง เช่น  คำว่า  ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า   ก็เขียนว่า   ลาดน่า  ก็เป็นธรรมดาครูก็เขียนแก้ไปให้    ส่วนของคุณนนท์  เนี่ยอาหารคาว เขียนมาว่า หมู   เป็ด ไก่  วัว  กบ  เขียด(  มันคาวจริง ๆ )  คำท้ายมันเป็นอึ่ง  คางคกตุ๊กแกไปโน่น  คราวนี้มาดูอาหารหวานของเขานะอาหารหวานมี น้ำตาลทราย  น้ำตาลปีบ  นมข้น  น้ำเชื่อม  น้ำหวาน   อันนี้ครูได้อธิบายแล้วแต่คุณนนท์เธอก็ไม่เข้าใจครูก็เลยต้องมาพูดใหม่อีก       เรื่องนี้ก็ยังไม่ใช่ประเด็น  เรื่องที่เป็นประเด็นก็คือ วันหนึ่งลูกชายวัย    ขวบของฉันไม่ยอมอยู่ห้องอนุบาลของแก  อยากมาอยู่แต่ห้องคุณครูแม่ ( ลูกเรียกว่าคุณครูแม่ในสมัยนั้น ) แล้วก็ชอบมาเล่นกับพี่นักเรียนในห้องจนได้เวลาพักกลางวัน  ครูให้นักเรียนถือถ้วยชามไปรับอาหารกลางวันที่โครงการอาหารกลางวันทำแจกให้นักเรียนรับประทาน  ลูกชายแอบมองไปเห็นชามของนนท์เข้า     แล้วพูดออกมาว่า  แม่ครับ ทำไมชามของพี่นักเรียนคนนี้เหมือนชามข้าว ( ไอ้) หยอง เลย (หยองคือสุนัขที่เลี้ยงไว้เฝ้าบ้าน    )   เพื่อน หัวเราะกันทั้งห้อง   จนฉันต้องพูดขอโทษ นนท์ว่า   ครูขอโทษแทนน้องด้วยนะ  น้องไม่ได้ตั้งใจ (  ซึ่งเดิมจากที่ครูเคยเห็นชามของนนท์แล้ว นนท์ไม่ล้าง หรือล้างก็แค่เอาน้ำราดให้โดนชามเท่านั้นเองหาความสะอาดไม่ได้เลยเพราะนนท์ห่วงการเล่นฟุตบอลมาก )                 หลังจากวันนั้นแล้วนนท์ล้างชามหลังทานข้าวกลางวันได้สะอาดทุกวันจนเพื่อน ๆ และครูก็รู้สึกแปลกใจที่เด็กชายนนท์  คานนท์  เปลี่ยนไป ( ในทางที่ดีนะ)

(  เรื่องเล่าของ  ครูศุภรพัชร์  สุภาษิต  โรงเรียนพลับพลาไชย  อำเภออู่ทอง  )

  เรื่องเล่าจากประสบการณ์  การรู้จักตัวเขา           ในปีการศึกษานี้ผมได้ทำการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 . ซึ่งผ่านมาประมาณ  4  เดือน

ทำให้ผมพบว่าเด็กนักเรียนในชั้นเรียนมีลักษณะที่เป็นปัญหาอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของ การทำการบ้าน  พบว่าไม่ค่อยทำ  หรือพบว่าเด็กบางคนผู้ปกครองก็ทำให้  ซึ่งดูได้จากลายมือที่ทำงานมาส่ง  ผมก็นั่งคิดว่าจะทำอย่างไรดีจึงเพื่อให้สิ่งเหล่านี้ไม่ให้เกิดขึ้น  และให้เด็กทำงานด้วยตัวเอง และมีความรับผิดชอบที่ดีขึ้น  จึงคิดวิธีการเยี่ยมบ้านเด็กและพบผู้ปกครองที่บ้าน  เพราะที่นี่บางคนก็เดินมาเอง  บางคนก็เอารถจักรยานมาเอง  และผู้ปกครองมาส่งก็มีแต่น้อยมาก  เพราะที่เด็กยากจนผู้ปกครองมีอาชีพรับจ้าง และเด็กไม่ค่อยได้อยู่กับบิดามารดา หลายคน ด้วยเหตุหลายประการ โดยผมเริ่มจากเด็กนักเรียนที่เกิดพฤติกรรมนี้โดยมีผู้ปกครองที่มาส่งในตอนเช้า  แล้วคอยรอบพบในลักษณะการพูดคุยถึงตัวเด็กในลักษณะพูดคุยเชิงสารทุกข์สุขดิบในตัวเด็ก  ผลปรากฎว่าส่วนใหญ่ดีขึ้น  ส่วนนักเรียนที่ไม่ผู้ปกครองมาส่งใช้วิธีการเยี่ยมบ้านนักเรียนในตอนเย็นหลังเลิกเรียนแล้วโดยครูจะบอกก่อนประมาณ 3-4 วัน  โดยจะใช้วิธีการออกสำรวจโดยการลักษณะการคุยเชิงสารทุกข์สุขดิบ เช่นเดียวกันเพื่อจะทราบสถานะการเป็นอยู่นักเรียนว่าอย่างไร  อยู่ที่บ้านเป็นอย่างไร  มีอะไรให้โรงเรียนหรือครูร่วมช่วยเหลือบ้าง  และจะค่อยเชื่อมถึงว่าเมื่ออยู่ที่โรงเรียนเด็กนักเรียนคนนี้เป็นอย่างไร  เพื่อที่จะขอความร่วมมือให้ทางผู้ปกครองร่วมช่วยแก้ไขหรือปรับพฤติกรรมดังกล่าวที่เป็นปัญหา   ซึ่งผลจากการออกเยี่ยมบ้านเด็กนักเรียนส่วนใหญ่จะมีการปฏิบัติที่ดีขึ้น  จึงทำให้ผมเห็นว่าการเยี่ยมบ้านเด็กเป็นสิ่งที่ดีเพราะเด็กบางคนเมื่อมาโรงเรียนดูสภาพภายนอกนักเรียนดูเหมือนดีไม่มีปัญหา  แต่เมื่อเราไปพบไปคุยที่บ้านทำเราทราบถึงปัญหาต่างๆที่ดีขึ้นบางที่เราก็อาจไม่ทราบมาก่อน  บางทีทำให้เราเข้าใจเด็กบางคนมากขึ้นด้วย

นายมนูญ  พันธุ์จันทร์

โรงเรียนพลับพลาไชย  ครูชั้น ป.4

 เรื่องเล่าจากประสบการณ์  การสอนแบบเรียนปนเล่น           ในปัจจุบันปีการศึกษา  2549 นี้  ดิฉันได้รับมอบหมายจากผู้บริหารสถานศึกษา  สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ห้อง ข  เมื่อดิฉันได้ทำการสอนนักเรียนห้องนี้ก็พบว่า  เด็กมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาหลายอย่างที่ต้องแก้ไขหลายปัญหา  ได้แก่  การขาดความรับผิดชอบในการทำงานต่างๆ   การไม่ชอบคิดในเรื่องต่างไม่ว่าจะเป็นวิชาภาษาไทยหรือคณิตศาสตร์   การไม่ทำการบ้าน  การไม่ชอบเขียน  อ่านหนังสือไม่ค่อยได้  จากการสอนของดิฉันช่วงแรกดิฉันได้ทำการสอนตามตารางการสอน เพื่อเตรียมพร้อมกับการประเมินในระดับชั้น ป. 3  ผลปรากฏว่านักเรียนและครูเกิดความเครียดจากการเรียนการสอนเพราะการเรียนการสอนเป็นไปช้าที่ตนเองตั้งเป้าหมายเอาไว้  จึงทำให้ดิฉันกลับมาคิดทบทวนกับปัญหาที่พบว่าจะแก้ไขอย่างไรดีถึงจะทำให้นักเรียนภายในชั้นเรียนดังกล่าวมีลักษณะที่ดีขึ้น   จนดิฉันพบว่านักเรียนชอบการเรียนที่มีเนื้อหาน้อยๆ  เขียนน้อยๆ  และเมื่อไรที่ครูแจกกระดาษวาดรูปและบายสีนักเรียนจะชอบ  จึงทำให้ดิฉันต้องมีการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน  โดยการใช้วิธีบางอย่างเข้าช่วย เช่น การเล่าข่าว  การเขียนอธิบายจากข่าว  การให้วาดรูปแล้วอธิบายความหมาย  และการใช้มายแม็พ ในวิชาต่างๆโดยปรับเปลี่ยนไปโดยจะปนการเล่น  แต่การเล่นนั้นจะต้องอยู่ในกรอบ ตัวอย่างเช่น  วิชาภาษาไทยใช้มายแม็พ เข้าช่วยโดยเป็นลักษณะการเชื่อมโยงความสัมพันธ์โดยมีวิชาศิลปะเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นต้น  เมื่อได้ทำจะชอบ  จะทำให้นักเรียนได้อ่านและเขียนมากขึ้น  ซึ่งมีข้อตกลงกันว่าถ้าทำชิ้นงานนี้ไม่เสร็จก็จะไม่ได้ทำงานชิ้นใหม่  จะต้องทำของเก่าให้เสร็จเสียก่อน  การส่งงานก็ดีขึ้นมีความรับผิดชอบดีขึ้น  ถึงแม้ในการทำงานในแต่ละครั้งเด็กจะมีเสียงดังบ้าง  เล่นกันบ้าง ถึงแม้การใช้มายแม็พ เข้าช่วยจะส่งผลให้นักเรียนไม่ดีขึ้นทุกคนแต่ก็ดีขึ้นกว่าเดิมหลายคน  ดิฉันคิดว่าก็ไม่เป็นไร  คงต้องหาวิธีหรือค่อยๆปรับเปลี่ยนไปตามสภาพความเป็นจริง

นางเพ็ญรุ่ง   พันธุ์จันทร์

โรงเรียนพลับพลาไชย  ครูชั้น ป.3    ผลงานที่ภูมิใจ การคัดลายมือ                 การคัดลายมือ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าเด็กได้รับการฝึกอย่างถูกต้อง สวยงาม โดยเฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถือว่าเป็นชั้นที่เริ่มต้นที่ควรจะปลูกฝัง ถ้าลายมือดี ผลงานที่ออกมาก็จะเรียบร้อยตามไปด้วย                ข้าพเจ้าสอนป.1 มาเกือบ 16 ปี ช่วงแรกๆก็สอนการคัดแบบหัวกลม เวลามีการประกวดคัดลายมือก็สู้เขาไม่ได้ จึงคิดว่าถ้าเรานำการคัดลายมือแบบลายอาลักษณ์มาสอนก็ไม่เสียหายอะไร จึงได้ทำสมุดฝึกการคัดลายมือแบบลายอาลักษณ์ขึ้น ประกอบด้วย การลากเส้น การทำหัว การเขียนพยัญชนะ โดยจะเรียงจากง่ายไปหายาก การสอนเขียนแต่ละครั้ง ครูจะสอนเขียนบนกระดานดำก่อน ขณะฝึกเขียน ข้าพเจ้าจะเดินดูนักเรียนว่าเขียนถูกหรือไม่ ถ้าผิดให้แก้ไขทันที เมื่อเด็กเขียนถูกแล้ว ครูจะทำตัวอย่างการเขียนแบบอาลักษณ์ให้คนละ 2 แผ่น ในแผ่นเดียวกันจะมีสระและพยัญชนะทุกตัว ติดไว้ที่โต๊ะ 1 แผ่นปะที่สมุดคัดลายมืออีก 1 แผ่น จะฝึกคัดทุกวัน การคัดลายมือแบบอาลักษณ์ นักเรียนของข้าพเจ้าถือว่าประสบความสำร็จพอสมควร เพราะจากการชมของผู้ปกครองและจากการประกวดการคัดลายมือ ได้รับเหรียญทองหลายครั้งไม่ว่าจะในระดับกลุ่ม ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด                การวางพื้นฐานในการทำงานที่เรียบร้อย จึงควรเริ่มตั้งแต่เด็กยังเล็กๆซึ่งผลจากการฝึกคัดลายมือได้เรียบร้อยแล้ว เด็กยังได้ฝึกความพยายาม ความตั้งใจ และที่สำคัญเด็กยังนำไปอ้างอิงความสามารถพิเศษได้อีกด้วย            นางชลดา  วริกูล  โรงเรียนพลับพลาไชย 
หมายเลขบันทึก: 47731เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2006 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 08:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ชื่นชมคุณครูทุกคนค่ะ
  • วันนี้พา "ป้าอ้วน" เข้าแพลนเน็ต "สพท.สุพรรณบุรี เขต 2" แล้วนะคะ
                                                                       Blow Kiss

ขอบคุณท่าน ศน.มากครับ ฝากอีก 1 บล๊อคครับ เข้ามาเยี่ยมชมและแสดงความคิดเห็นได้ที่http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=plubplachai&group=1

 

โปรดกรุณาช่วยประชาสัมพันธ์และส่ง Email ไปยังคนที่คุณรู้จักทุกท่าน ด้วยความขอบคุณยิ่ง!!!!!!!!

เทพศิรินทร์ Pre-test 2553

รับสมัครทั้ง เด็กชาย และ เด็กหญิง ที่กำลังศึกษาในช่วงชั้นที่ 2 (ป.4 - ป.6) โดยทั่วไป

· ช่องทางการรับสมัคร

1. สมัครผ่านทาง Website โรงเรียน www.dedsirin.ac.th และ www.dspretest.com โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 ธ.ค. 2552 ถึงวันที่ 10 ม.ค. 2553 หรือ

2. สมัครทางไปรษณีย์ที่ตู้ ปณ. 71 ปณ.ศ. ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 ตั้งแต่วันที่ 14 ธ.ค. 2552ถึง 10 ม.ค. 2553 หรือ

3. สมัครด้วยตนเองที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ระหว่างวันที่ 9-10 มกราคม 2553

วันสอบ วันอาทิย์ที่ 17 มกราคม 2553

แผนที่การสอบที่ 1

เวลา 08.30 – 12.00 น. สอบวิชาพื้นฐาน 4 วิชา วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย

แผนที่การสอบที่ 2

เวลา 08.30 – 12.00 น. สอบวิชาพื้นฐาน 4 วิชา วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย

เวลา 13.00 – 14.00 น. สอบวิชาภาษาอังกฤษ

แผนที่การสอบที่ 3

เวลา 08.30 – 12.00 น. สอบวิชาพื้นฐาน 4 วิชา วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย

เวลา 13.00 – 14.00 น. สอบวิชาคอมพิวเตอร์

แผนที่การสอบที่ 4

เวลา 08.00 – 12.00 น. สอบวิชาพื้นฐาน 4 วิชา วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย

เวลา 13.00 – 15.00 น. สอบภาษาอังกฤษ วิชาคอมพิวเตอร์

รางวัลสำหรับผู้ทำคะแนนดีเด่น

รางวัลคะแนนรวมทุกรายวิชาพื้นฐานสูงสุด

Fรับโล่ประกาศเกียรติยศ จาก ฯพณฯ นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี พร้อมเงินรางวัล 5,000 บาท

รางวัลคะแนนวิชาภาษาอังกฤษสูงสุด

F รับโล่ประกาศเกียรติยศ จาก พลตำรวจเอกปทีป ตันประเสริฐ นายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมเงินรางวัล 5,000 บาท

รางวัลคะแนนวิชาคอมพิวเตอร์สูงสุด

F รับโล่ประกาศเกียรติยศ จาก นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเทพศิรินทร์ พร้อมเงินรางวัล 5,000 บาท

· สำหรับผู้ทำคะแนนสูงสุดอันดับที่ 1 – 5 ทุกรายวิชาและ คะแนนรวม 4 วิชาพื้นฐาน

จะได้รับเกียรติบัตรเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง จาก ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ ตามลำดับ

รายละเอียดเพิ่มเติมที่

www.debsirin.ac.th

www.dspretest.com

โทร. 08-2341-9066, 08-2341-9067

มีชื่ออาโสด้วยคะ

มีชื่อครูศุด้วย เป็นครูประจำชั้นของอุ๋มเอง แต่ครูจะย้ายออกแล้ว

ขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่สอนผม

ครับ จักรกริช โพธิ์รม

ขอบคุณครับ

และขอขอบคุณอาจารย์สำลี

ด้วยครับผม ชั้น ป.6 ข

ที่ตั้งใจสอนพวกผมมาครับ

ผมก็คนหนึ่งที่เรียนโรงเรียนพลับพลาไชยมาครับ

ผมอยากจะกลับไปเรียนอีกครั้งจังครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท