R2R : แลกเปลี่ยนเรียนรู้ CoP...R2R<2>:เล่าสู่กันฟังถึงความสำเร็จ


กลุ่มเราเลือกที่จะเล่าเรื่องความสำเร็จ...จากการทำ R2R ว่า คือ อะไร และทำอย่างไร

       หลังพักอาหารว่างครึ่งเช้า เราเริ่มเข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตามกลุ่ม 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มผู้จัดการโครงการ และกลุ่มนักวิจัย/นักปฏิบัติ...สำหรับดิฉันนั้นอยู่ในกลุ่มที่สอง คือ กลุ่มผู้จัดการโครงการ หรืออาจเรียกได้ว่า คือ กลุ่มคุณอำนวยนั่นเอง และได้รับมอบหมายจากท่าน อ.หมอสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ให้เป็นคุณลิขิตประจำกลุ่ม...และ อ.นพ.อัครินทร์  นิมมานนิตย์ เป็นคุณอำนวยประจำกลุ่ม ...

       หลังจากที่มีการแนะนำตัวในกลุ่มแล้ว...กลุ่มเราเลือกที่จะเล่าเรื่องความสำเร็จ...จากการทำ R2R ว่า คือ อะไร และทำอย่างไร โดยเริ่มเล่าจากทีมภาควิชาพยาธิ มอ. ที่มีความภูมิใจในการทำวิจัยเพื่อค้นหาคำตอบของปัญหาที่ว่าเกี่ยวกับการตรวจโครโมโซมทำไมถึงได้ผลล่าช้า...อาจารย์พรพรต (รศ.นพ.พรพรต ลิ้มประเสริฐ) ได้เล่าให้ฟังอย่างฉบับย่อว่า ทางทีมได้พยายามค้นหาคำตอบให้ได้ว่าการแก้ปัญหาจากการตรวจผล Lab ล่าช้านั้นคำตอบได้อย่างไรโดยเริ่มทำตั้งแต่ปั  45  จากนั้นทางศูนย์วิจัยของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี นพ.ธนะรัตน์ ลยางกูร ก็ได้เล่าถึงความสำเร็จพร้อมวิวัฒนาการของศูนย์วิจัยว่ามีการล้มลุกคลุกคลานและเรียนรู้มาเพื่อให้คนทำงานลุกขึ้นมาทำงานวิจัย โดยทางสถาบันเด็กนี้นำเรื่อง HA CQI และวิจัยมาผนวกเข้าด้วยกัน และคุณพี่ศศิชล คำเพาะ ก็ได้เล่าเพิ่มเติมในส่วนความรู้สึกตนที่ว่าสำเร็จนั้น มีการทำเพื่อแก้ไขโจทย์ปัญหาที่ว่าผู้ป่วยเด็กที่ D/C แล้วไม่ re-admit ซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องของการทำพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (CQI)...

       เมื่อมาถึงดิฉันก็ได้เล่าถึง..R2R ของ รพ.ยโสธรว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร โดยริเริ่มจากกลุ่มเล็กๆ ที่มีใจร่วมกัน และรักการทำวิจัยมารวมกลุ่ม ภายใต้การสนับสนุนจากกลุ่มการพยาบาลและผู้บริหาร จากนั้นก็เป็นในส่วนของโรงพยาบาลเชียงรายเล่าถึงความภูมิใจเล็กๆ ว่าได้ทำให้ทีมได้เรียนรู้เรื่องกระบวนการวิจัยอย่างง่ายๆ จากคนที่ปฏิเสธการทำงานวิชาการ แต่สามารถมาทำวิจัยและเล่าถึง พร้อมทั้งสามารถเขียนผลงานทางวิชาการวิจัยออกมาได้ และที่สำคัญ R2R ของโรงพยาบาลเชียงรายนั้นส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นมาได้นั้นเพราะผู้บริหารให้นโยบายสนับสนุนให้ทำ โดยแรกเริ่มเดิมทีเริ่มจากที่เป็นส่วนหนึ่งของทีมวิจัยข้างนอกก่อนแล้วค่อยมาเรียนรู้และดำเนินการวิจัยเองในโรงพยาบาล...

       ในส่วนของศิริราชที่ดูเหมือนเป็นพี่ใหญ่แห่งวงการการทำ R2R นี้มีผู้เข้าร่วมในกลุ่มหลายท่าน ซึ่งทำให้เราๆ ได้ข้อคิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่อนข้างมาก อย่างหนึ่งที่ดิฉันได้เกิดไอเดีย Think แว๊ป การมองทีมนักวิจัยเป็น"ลูกค้า" ที่เราต้องสนองตอบเพื่อให้เกิดความพึงพอใจ และ service mind ในกลุ่มนี้ให้มาก และการ approach แบบกัลยาณมิตรที่คอยดูแลช่วยเหลือให้คำปรึกษาอย่างเต็มใจและเต็มที่ นั่นก็หมายถึงว่าเน้นการมีสัมพันธภาพที่เยอะมาก

       ศิริราชเองก็เริ่มกระบวนการที่ CQI เน้นการทำให้คนเลิกกลัวการทำวิจัย ทีม CF จะเน้นการเข้าไปคุยแบบกัลยาณมิตร เพื่อการประสานเชื่อมโยงที่ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น มีประเด็นหนึ่งที่ดิฉันได้แนวคิดจากทางทีม CF ของศิริราช คือ การจัดแบ่งระดับกลุ่มผู้วิจัยเป็นสี่กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ไม่มีความรู้ทางด้านการวิจัยเลยดูแลใส่ใจมากหน่อย กลุ่มที่พอมีความรู้อยู่บ้างเติมเต็มส่วนที่เขาขาด กลุ่มที่สามมีคำถามการวิจัยแต่ไม่รู้ว่าทำอย่างไรก็เข้าไปช่วยเพิ่มเติมส่วนของกระบวนการให้ และกลุ่มที่รู้เรื่องเชี่ยวชาญวิจัยก็ปฏิสัมพันธ์แบบเสริมสร้างเครือข่าย...ในส่วนนี้ดีมากซึ่งส่วนตัวดิฉันคิดว่าอาจจะนำไปปรับใช้ในทีม R2R ของโรงพยาบาลยโสธรร่วมด้วย

       แง่คิดจากการเล่าเรื่องความสำเร็จในตอนหนึ่งที่ทำให้ได้เรียนรู้การคิดเชิงบวกของ อ.นพ.กุลธร เทพมงคล ที่มองว่าความสำเร็จของตนเองในการทำวิจัยนั้นเริ่มมาจากความชอบส่วนตัว เน้นการลดความกลัวการทำวิจัยอาจารย์จะใช้จิตวิญญาณแห่งความเป็นครูของตนเข้าไปดูแลช่วยเหลือทีม ปฏิบัติต่อกระบวนการเสมือนการเลี้ยงลูกที่ต้องคอยบ่มเพาะตั้งแต่เด็กๆ และเมื่อทีมที่อยู่ในความดูแลทำได้ก็รู้สึกยินดีและปิติร่วมไปด้วย...ซึ่งอาจารย์มองว่าเป็นในส่วน Individual Success...สำหรับตน

       ความภูมิใจอย่างหนึ่งที่น้องน้ำฝน ศิริราชเล่าเพิ่มเติม คือ การที่มีเครื่องมือ (Tools) เข้ามาใช้ขับเคลื่อน R2R ร่วมด้วย คือ website R2R ของศิริราชเอง ซึ่งโดยส่วนตัวของดิฉันเองก็ได้รับประโยชน์และความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้นี้ค่อนข้างมาก

       ท้ายสุดแห่งการเล่าเรื่องความสำเร็จที่ภูมิใจนี้ จบลงที่ นพ.วรเชษฐ เต๋ชะรัก รอง ผอ.รพ.ศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน ที่มองว่าการผลักดันให้เกิด R2R ที่ตนเองภูมิใจและมองว่าเป็นความสำเร็จ คือ กระบวนการที่เสมือนว่าเป็น Promoter ที่คอยทั้งผลักและดัน โดยมีจุดเริ่มที่ HA และ CQI โดยให้เริ่มจากการ Creat และกระตุ้นเจ้าหน้าที่ทุกรูปแบบที่จะเอื้ออำนวยได้...

จากนั้นเราก็คุยกันเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ในกระบวนการวิจัย...และก็พักเที่ยง...ทานอาหารพร้อมคละเคล้าการ ลปรร.กันต่ออย่างมีความสุข...ที่ได้เริ่มเล่าสิ่งดีดีให้กันฟัง...

 

 

หมายเลขบันทึก: 47707เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2006 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ขอบคุณมากครับท่านน้องกะปุ๋ม
  • เล่าได้ดีมากครับ
  • ขอบคุณมาก ๆ ครับที่ได้นำสิ่งดี ๆ มาเล่าให้พวกเราฟังครับ
  • หลาย ๆ ครั้งที่กะปุ๋มนำสิ่งดี ๆ มาให้
  • ตอนนี้ขออนุญาตไปพักสักครู่นะ
  • รู้สึกว่าไม่ไหวครับ
  • ขออภัยที่ยังไม่ได้อ่านนะครับ

ท่าน Panda

กะปุ๋ม capture ด้วยการทำ Mind Map ก่อนคะ แล้วค่อยมาบันทึกไว้เป็นความเรียง...บางทีการบันทึกของกะปุ๋มก็ขึ้นอยู่กับแรงขับภายในนะคะ....

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

คุณปภังกร...

สิ่งดีดีที่ท่านมองว่ากะปุ๋มนำมาให้นั้น...ไม่ใช่เสียทีเดียวหรอกคะ...สิ่งดีดีที่ท่านได้รับนั้น มาจากโอกาสที่ท่านหยิบยื่นโอกาสให้แก่ตนต่างหากคะ...

...

เรื่องเล่าที่นำมาบันทึกไว้นี้...

เพื่อนำเก็บไว้สำหรับตนบันทึกสิ่งที่ตน get และผลพลอยได้เมื่อมีใคร..มาอ่านเมื่อเวลาผ่านไป...

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

ขอบคุณสำหรับรายละเอียดและพลังที่สื่อออกมาค่ะ ยอดเยี่ยมมาก

ขอแซวเล็กๆว่า นี่คือบันทึกหนึ่งในจำนวนอันน้อยนิด ในบรรดาบันทึกจำนวนมหาศาลของคุณกะปุ๋มที่พี่อ่านแล้ว get โดยไม่ต้องอ่านซ้ำ (ปกติ"ลุ่มลึก"เกินกว่าความเข้าใจของพี่มากค่ะ)

555...

พี่โอ๋..กะปุ๋มเห็นความเห็นพี่โอ๋แล้วถูกใจ...หัวเราะเลยคะ...แหม!...ลึกๆ ดีใจน่ะคะ...ที่เริ่มมีคนบอกว่ากะปุ๋มเริ่มพูดรู้เรื่องคะ...

...

กะปุ๋มจะพยายามฝึกฝนทักษะการสื่อสารของตนเองนะคะ...ขอบคุณพี่โอ๋มากนะคะ...สำหรับกำลังใจที่มีให้กะปุ๋ม...

*^__^*

ขอบคุณคะ 

กะปุ๋ม

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท