อุดมศึกษาไทยกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน



          บ่ายวันที่๙ม.ค.๕๕ผมไปพูดที่มหาวิทยาลัยพายัพเรื่องอุดมศึกษาไทยกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเน้นที่ยุทธศาสตร์ในการดำเนินการ

 
          ผมเสนอว่าต้องมองการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเป็นทั้ง End และ Means   โดยให้น้ำหนักต่อการเป็น Means มากกว่าในสัดส่วนน้ำหนักEnd : Means = 40:60  

 
          การใช้การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเป็น Means หมายความว่าการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทำให้เกิดกลไกหลายอย่างที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านอุดมศึกษาที่เราต้องการอยู่แล้วซึ่งได้แก่การปฏิรูปการเรียนรู้สู่แนวทาง 21st Century Learning   สถาบันอุดมศึกษาจึงสามารถใช้กลไกอำนวยความสะดวกต่อการแลกเปลี่ยนนักศึกษาแลกเปลี่ยนอาจารย์การทำงานวิจัยร่วมกันฯลฯที่จัดโดยกลไกประชาคมอาเซียนซึ่งจะมีส่วนช่วยให้บัณฑิตของเรามี 21st Century Skills ที่เด่นชัดมากขึ้นมหาวิทยาลัยมีตัวช่วยมากขึ้น

 
          นั่นคือเราต้องรู้จักใช้การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเป็นตัวช่วยให้เราบรรลุการปรับเปลี่ยนอุดมศึกษาให้เป็นอุดมศึกษาแห่งศตวรรษที่๒๑

 
          และผมมองว่าการศึกษาที่ทำให้บัณฑิตบรรลุ 21st Century Skills นั่นแหละคือการศึกษาที่จะช่วยให้บัณฑิตไทยไปทำงานในประเทศอาเซียน (และประเทศอื่นๆ) ได้อย่างองอาจผึ่งผายและเป็นที่ยอมรับ

 
          ผมได้เสนอต่อที่ประชุมว่าการจะบรรลุเป้าหมายที่แท้จริงได้เราต้องมีโลกทัศน์ต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเป็น positive-sum game  ไม่ใช่ zero-sum game   หรือเป็น win-win situation  ไม่ใช่ win-lose situation   คือความร่วมมือก่อผลส่งเสริม (synergy) ซึ่งกันและกันไม่ใช่มัวกังวลว่าการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจะทำให้เราเสียเปรียบแต่ต้องแสวงหาการดำเนินการที่ "ทุกฝ่ายได้เปรียบ" โดยต้องมองผลระยะยาว

 
          มีการพูดกันเรื่องสภาพเปิดเสรีด้านการศึกษาและด้านการประกอบอาชีพผมชี้ให้เห็นว่าคำว่า "เปิดเสรี" ไม่ใช่ unregulated freedom   การเปิดเสรีไม่ว่าเรื่องใดต้องมีกฎเกณฑ์กติกาเพื่อป้องกันมิจฉาชีพและป้องกันผลร้าย

 
          ผมชี้ให้เห็นว่าแม้ไม่มีประชาคมอาเซียนอุดมศึกษาก็ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่แล้วการมีประชาคมอาเซียนจะช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงอุดมศึกษาได้สะดวกขึ้น

 
          ช่วงลปรร. มีอาจารย์ท่านหนึ่งถามว่าในการแลกเปลี่ยนนศ.หากประเทศที่จะไปเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ความเป็นอยู่และวิชาการด้อยกว่าเรานศ.จะไม่อยากไปทุกคนอยากไปประเทศที่เจริญก้าวหน้ากว่าประเทศไทยจะหาทางแก้ไขอย่างไรดี

 
          ที่จริงผมก็ไม่รู้ว่าจะแก้ไขอย่างไรให้ได้ผลโดยผมมีความเห็นว่าเรื่องนี้อยู่ที่วิธีคิดหรือกระบวนทัศน์ของนศ.และของสังคมไทยว่าการไปเป็นนศ.แลกเปลี่ยนนั้นเพื่ออะไรเป็นเป้าหมายหลักในความเห็นของผมน่าจะมีเป้าหมายเพื่อปูทางไปสู่อนาคตการทำงานที่ช่วยให้รู้จักผู้คนและสังคมของประเทศอื่นที่อยู่ในข่ายที่เราจะต้องไปใช้ชีวิตทำงานในอนาคตไม่ใช่เพื่อไปฟังการบรรยายหรือเน้นการเรียนรู้ทฤษฎี

 
          ผมตั้งใจเอาเครื่องคอมพิวเตอร์Macbook Air ไปใช้เพื่อบันทึกเสียงเป็นNarrated Pptแต่ผมคลิกปุ่มผิดจึงมีแต่Pptเปล่าๆมาให้ดูได้ที่นี่

 

 

วิจารณ์พานิช
๙ม.ค. ๕๕
บนเครื่องบินกลับกรุงเทพ
หมายเลขบันทึก: 476989เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2012 08:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ClassStart.org มีสามภาษาให้เลือกค่ะคือ ไทย อังกฤษ และ อินโดนีเซีย เพื่อรองรับการร่วมมือกันในการพัฒนาหลักสูตรของประชาคมอาเซียนค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท