KM ที่รัก ตอนที่ 53"ดอกไม้...กับการจัดการความรู้"


"การวิเคระห์ข้อมูลจากท้องถิ่น เพื่อไห้เกิดการพัฒนาชุมชน"
“ Case study and Comparative Research เป็นหัวข้อที่ท่าน ดร. จิติผล ภักดีวาณิช มาคุยกับนักศึกษาเพื่อให้มีความเข้าใจในประเด็นการทำวิจัย โดยใช้”Case Study” อาจารย์ยกตัวอย่าง การศึกษากรณี “บทบาทของเกษตรกรกับนโยบายภาครัฐ จุดเน้นอยู่ที่การมีส่วนร่วมของชุมชนกับนโยบายรัฐ กรณีที่น่าสนใจคือกรณีกลุ่มเพาะชำไม้ดอกของอำเภอวาริน ซึ่งโดยนโยบายของรัฐแล้วจะมีการส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มกัน เพื่อจะได้มีอำนาจต่อรองกับตลาด ขายสินค้าได้ราคา และที่สำคัญจะได้รับการสบับสนุนจากภาครัฐ ถ้าใครไม่มีกลุ่ม หรือไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มก็จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ เช่น แจกเมล็ดพันธ์ ได้สิทธิ์เข้าร่วมการอบรม มีตลาดที่กรุงเทพรองรับ ซึ่งดูแล้วน่าจะเป็นไปด้วยดี แต่ทำไมมีเกษตรกรบางคนไม่ยอมเข้าร่วม และสามารถบริหารจัดการตัวเองได้ดีกว่าการเข้าร่วมกลุ่มโดยเขาให้เหตุผลว่า เขาได้ค้นพบจากประสบการณ์จริง โดยการเข้าไปสัมผัสข้อมูลจริง หลังจากที่เขาเข้าไปเรียนรู้ เขาพบว่าถ้าเขาเข้าร่วมกลุ่มเขาจะประสบความสำเร็จน้อยกว่าที่เขาลงมือทำด้วยตนเอง ดอกไม้ดอกเดียวถ้าอยู่ในระบบกลุ่ม เขาจะขายได้มูลค่าน้อยกว่าที่เขานำมาบริหารเอง จะเห็นได้ว่าเกษตรกรคนนี้ ได้นำความรู้หลายด้าน มาพบกัน แล้วนำมาใส่ดอกไม้ ให้มีคุณค่าและมูลค่ามากกว่าเดิม เช่นแทนที่จะส่งดอกไม้ เป็นดอกผ่านกลุ่มเพื่อส่งไปขายที่กรุงเทพแต่เขาก็เอาความรู้มาใส่ดอกไม้ เช่น ความรู้เรื่องการร้อยมาลัย ความรู้ในการตลอด เมื่อไรตลาดต้องการมาก ลักษณะรูปแบบของมาลัย ที่ลูกค้าต้องการ เขาสามารถบริหารและการจัดการตัวเขาเอง ให้เกิดมูลค่า และคุณค่ามากมาย โดยไม่ต้องพึ่งนโยบายรัฐ เรื่องนี้เรื่องเดียวก็ทำให้เราสามารถมีมุมมองใหม่ ๆ ที่ต่างไปจากจากมุมมองเดิมๆ ซึ่งผู้ค้นพบเป็นชาวบ้านธรรมดาจากข้อมูลพื้นฐาน (ดิบ ๆ ) ไม่ได้ผ่านการตีความ ก็สามารถก่อประโยชน์ให้กับผู้ที่ใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลา ซึ่งแนวคิดของคนในท้องถิ่นเช่านี้น่าจะมีประโยชน์มากกว่าแนวคิดของภาครัฐที่ใช้วิธีการเดียวกับทุกพื้นที่ ด้วยเหตุผลของความแตกต่างแต่ละชุมชน แต่ละท้องถิ่น สภาพของพื้นที่ ทุนทางความรู้ ทุนทางสังคม คือ บทบาทของภาครัฐควรเป็นเพียงเพื่อส่งเสริมให้ท้องถิ่นได้ดำเนินการตามแนวคิดและวิธีการของเขาเอง น่าจะทำให้ถ้องถิ่น หรือสังคมนั้นเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ทุกคนเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองทำ ทำในสิ่งที่ตนชอบและถนัด กระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ก็จะเป็นเกรียวแห่งการเรียนรู้ ที่หมุนและพัฒนาสูงขึ้นไปเรื่อย ๆทั้งคนและชุมชน ก็จะเกิดปัญญาและสามารถพัฒนาตนเอง พัฒนาสังคมไปสู่การพึ่งพาตนเอง มีความพอเพียงอย่างยั่งยืนตลอดไป
หมายเลขบันทึก: 47689เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2006 22:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อ่านแล้ว สะท้อนความเป็นจริงที่ว่า คนไทยเก่งคนเดียว แต่ทำงานเป็นทีมแล้ว ประสิทธิภาพลดลง
ขอคารวะคุณบอนที่ช่วยสกัดความรู้ของข้อความนี้ออกมาทำไห้เข้าใจง่ายครับ มวยไทยเป็นแช้มระดับโลกเยอะมากครับ แต่ทีมฟุทบอลไทย ยังเล่นในระดับถ้วย อบต.อยู่เลยครับ ต้องทำใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท