ผู้ไทเป็นใคร  แล้วผู้ไทกับผู้ไทดำเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันหรือไม่:มหกรรมผู้ไทนานาชาติที่เขาวง กาฬสินธุ์ (4)


งานสัมมนาผู้ไทนานาชาติ วันที่ 9-11 มี.ค. 55 ที่ เขาวง กาฬสินธุ์ ในครั้งนี้ผมหวังว่า เราน่าจะได้มุมอง หรือประเด็นข้อมูลประวัติผู้ไทน่าจะได้มีข้อมูลทางวิชาการใหม่ๆมาปรับปรุงข้อมูล ความเชื่อเดิม ให้ความรู้ทางวิชาการว่าด้วยผู้ไทก้าวหน้าขึ้น โดยเฉพาะความรู้ของ ศูนย์ภูไท(ผู้ไท)ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์ด้วยความหวังว่าที่นี่จะเป็นศูนย์กลางรวมข้อมูลองค์ความรู้ของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท ที่มีความน่าเชื่อถือ

ผู้ไทเป็นใคร  แล้วผู้ไทกับผู้ไทดำเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันหรือไม่  
ผู้ไทกับผู้ไทดำในทางวิชาการ เขาถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันครับ เพียงแต่อยู่คนละถิ่นละฐาน อยู่คนละที่ละทาง ทำให้พัฒนาการทางสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน ภาษา การแต่งกายวัฒนธรรมประเพณีแตกต่างกัน  ทั้งนี้่ทั้งผู้ไทและผู้ไทดำล้วนมาจากรากฐานอันเดียว มีรากวัฒนธรรมแถน(เมืองเดียนเบียนฟูปัจจุบัน) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวัฒนธรรมทางความคิดความเชื่ออันเดียว รวมทั้งมีรากทางภาษาที่คล้ายคลึงกันมาก ในทางวิชาการเชื่อว่าเนื่องจากกลุ่มผู้ไทมาอยู่ที่ลาวนานเลยรับวัฒนธรรมลาว บางครั้งจะมีคนเรียกกลุ่มผู้ไทว่าผู้ไทลาว

 

 

                

ภาพผู้ไทชาวหนองสูง จ.มุกดาหารยุคโลกาภิวัฒน์ โดย อ.Adul Tanthakosai


  แต่ในทางความรู้สึกของคนผู้ไทอย่างผม   จากการที่ผมได้พบปะได้พูดได้คุยด้วยกับคนผู้ไทดำ ทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและประเทศเวียดนามและจากการถามความคิดเห็นคนผู้ไทที่มีประสบการณ์เดียวกันแล้ว พบว่าเรามีความรู้สึกอันเดียวกัน ครับ คือ เมื่อเราได้พบกับผู้ไทดำ เรายอมรับว่าผู้ไทกับผู้ไทดำเป็นเครือญาติเดียวกันกับพวกเราแน่นอน และเราก็รับรู้ว่าเราห่างจากกันมามากเลยทีเดียว  แล้วอดที่จะตั้งคำถามว่าผู้ไทกับผู้ไทดำ เราเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันหรือไม่  ด้วยเราห่างกันมากจนมีความรู้สึกว่า เมื่อคนผู้ไทได้เจอกับทั้งคนพวนและคนผู้ไทดำ ระหว่างพวนกับผู้ไทดำ คนผู้ไทจะมีความรู้สึกว่า  ผู้ไทใกล้ชิดกันกับพวนมากกว่า ไทดำเสียอีกครับ


 

 ภาพผู้ไทในมณฑลกวางสี ประเทศจีน

 


แล้วก็กลับมาสู่คำถามเดิมอีกครั้งว่าผู้ไทกับผู้ไทดำเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันหรือไม่  

ผมได้รู้จักกับคนผู้ไทรุ่นน้องคนหนึ่ง ชื่อ คุณลิต_tmetdixt. จากอำเภอคำชะอี จ.มุกดาหาร ซึ่งเป็นคนผู้ไทรุ่นหลังที่สนใจค้นคว้าเรื่องผู้ไท และยอมลงทุนเรียนาษาจีน ด้วยตนเอง เพื่อจะศึกษาเรื่องผู้ไทอย่างจริงจัง
ผมกับคุณลิต_tmetdixt. มีความเห็นสอดคล้องกันครับว่า  ผู้ไทกับผู้ไทดำแม้จะมีความใกล้ชิดกัน แต่เราสามารถแยกความเป็นผู้ไทกับไทดำได้ทั้งที่เวียดนามและทมณฑลี่กวางสี  ประเทศจีน ครับ

คุณลิต_tmetdixt. ให้ข้อมูลกับผมว่าผู้ไทในเวียตนามนั้นจะมีอยู่มากใน จังหวัด เกาบัง Cao Bang โดยคำว่าผู้ไท ในภาษาเวียตนาม เขียนว่า phutay อ่านว่า ผู้ไท  เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เล็กๆแยกจากผู้ไทดำต่างหาก

 

 

วิถีชีวิตสาวน้อยผู้ไท ที่มณฑลกวางสี ประเทศจีน

 


ส่วนผู้ไทในมณฑลกวางสี ประเทศจีน เรียกตัวเองว่า 布傣 budai , ปู้ไต่ , Phutay , ,ผู้ไท ,หรือ 布傣人 ปู้ไต่ เหริน คนผู้ไท เป็นกลุ่มชาติพันธ์ส่วนน้อยจัดอยู่ในกลุ่มชาวจ้วงกลุ่มหนึ่งZSub-Zhuang people)ผู้ไทในจีน (布傣 _budai) อาศัยอยู่ที่ ตำบล เจิ้นหลง (จินหลง)( 金龍鎮 _Jinlong)มณฑลกวางสี ครับ

........

ผมอยากให้มีการศึกษาค้นคว้าหาคำตอบกับเรื่องนี้อย่างจริงจังครับ  ผมเชื่อว่าคนผู้ไทล้วนอยากทำความเข้าใจครับว่าบรรพบุรุษเขาในเวียดนามและจีน เป็นใครกันแน่ เป็นไทดำหรือไม่ใช่ แล้วคนผู้ไทในเวียดนาม และจีน(กวางสี)ยังมีคนผู้ไทอยู่จริงหรือไม่ พวกเขาอยู่กันอย่างไร พวกเขาเหมือนหรือต่างกับเราอย่างไร

 


ครับด้วยข้อมูลที่เรามีอันจำกัด เรามีเพดานความรู้แค่ผู้ไท ในลาวซึ่งอยู่ที่นั่นมาต่อเนื่องตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ. 2241-2250(ส่วนข้อมูลจากศูนย์ภูไทศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์ บอกว่าผู้ไทอพยพ จากเมืองน้ำน้อยอ้อยหนู (ประเทศเวียดนามปัจจุบัน)สู่เมืองวัง(ประเทศลาวในปัจจุบัน)เมื่อครั้ง“ท้าวก่า” หัวหน้าของผู้ไทดำได้เกลี้ยกล่อมชาวผู้ไทดำราวหมื่นคนเศษ ให้อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของเจ้าอนุวงศ์หรือเจ้าอนุรุธแห่งนคร เวียงจันทน์(ในช่วงปี พ.ศ. 2235-2238) และข้อมูลผู้ไทในสยามเรามาจากเมืองลาว ในช่วงปี พ.ศ. 2369 -2383 นี่เอง



           

ลายผ้าผู้ไท ที่มณฑลกวางสี ประเทศจีน

 


และทราบว่าก่อนหน้านั้นผู้ไทเคยอยู่ที่เวียดนามและจีน(มณฑลกวางสี)มาก่อน
แต่เราไม่มีข้อมูลมาก่อนเลยว่าที่จีน และเวียดนามผู้ไทเราอยู่กันอย่างไรมาก่อน
เรารู้แต่เรื่องของผู้ไทดำซึ่งเป็นญาติที่ใกล้ชิดกับเราเท่านั้น
นอกจากจ้วงและผู้ไทดำ เรายังมีพี่น้องผู้ไทแบบในสยามและลาวในแบบทุกวันนี้ไหม

.......

 

 

           

ภาพสาวผู้ไทหนองสูง จ.มุกดาหาร โดย อ.Adul Tantrakosai

 

 


งานสัมมนาผู้ไทนานาชาติ วันที่ 9-11 มี.ค. 55 ที่ เขาวง กาฬสินธุ์ ในครั้งนี้ ผมหวังว่า เราน่าจะได้มุมมอง หรือประเด็นข้อมูลประวัติความเป็นมาของชาวผู้ไท รวมทั้งน่าจะได้มีข้อมูลทางวิชาการใหม่ๆมาปรับปรุงข้อมูล ความเชื่อเดิม ให้ความรู้ทางวิชาการว่าด้วยผู้ไทก้าวหน้าขึ้น โดยเฉพาะความรู้ของ ศูนย์ภูไท(ผู้ไท)ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์  ด้วยความหวังว่าที่นี่จะเป็นศูนย์กลางรวมข้อมูลองค์ความรู้ของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท ที่มีความน่าเชื่อถือ จากข้อมูลที่ผมมี ความรู้/ข้อมูลเกี่ยวกับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทหลายประเด็นน่าจะได้ศึกษาทบทวนกันครับ



หมายเลขบันทึก: 476746เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2012 19:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ผู้ไท ผู้ไทดำ เหมือนเคยได้ยิน ไทพวน ด้วยค่ะท่านเทพฯ

เรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ น่าสนใจและมีเอกลักษณ์ ควรสืบสานต่อ ขอบคุณค่ะ

  • ได้ฟังเพลงไทยดำรำพันมาตั้งแต่เด็กแล้ว ฟังอย่างเดียวไม่เคยรู้เรื่องราวความเป็นมาอะไรเลย รู้ว่าเพลงนี้ฟังเพราะก็แค่นั้น แต่ฟังให้ดีก็รู้สึกสะท้อนความพลัดพราก จากบ้านจากเมืองที่เคยอยู่สุขสบาย แล้วไปผจญภัยข้างหน้าประมาณนั้น
  • ถามแบบไม่ได้ค้นคว้าข้อมูลเลย ว่าเพลงนี้เกี่ยวกับผู้ไท ผู้ไทดำไหม(ดูชื่อเพลงเหมือนจะเกี่ยวโดยตรงเลยเนาะ)
  • เมื่อ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๔ ปีที่แล้ว อาตมาได้ลองเขียนเนื้อเพลงไทยดำรำพัน เป็นภาษาลาว

                           Large_img123.

ยินดีครับคุณปู  Ico48 Poo

ผู้ไท ผู้ไทดำ พวนและไทลื้อเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใกล้ชิดกันครับ

  นมัสการIco48 พระมหาแล อาสโย ขำสุข

  • "เพลงไทดำรำพัน” เป็นเพลงลาวครับ บันทึกแผ่นเสียงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2512 ผู้ขับร้องเพลง ไทดำรำพัน เป็นคนแรก คือ ก. วิเสส นักร้องวงดนตรีราบอากาศวังเวียง  ผู้แต่งเพลงนี้คือหมีดำ [ร.ท.สนอง อุ่นวงศ์]  

  • ก. วิเสส มีชื่อจริงว่า กันตัง ราดปากดี ซึ่งอาจจะเขียนว่า กันตัง ราษฎร์ปากดี ก็ได้ มีถิ่นกำเนิดที่บ้านสีไค เมืองศรีโคตรบอง กำแพงนครเวียงจันท์ ประเทศลาว หลังจากที่จบ ป. 4 ท้าวกันตังได้ไปสมัครเป็นทหารอากาศ สังกัดหน่วยพลร่ม
  • เพลงไทดำรำพัน ได้สร้างชื่อเสียงให้กับ ก.วิเสส อย่างมาก กระทั่งต้องยกทั้งวงดนตรีข้ามโขงมาอัดเสียงที่ห้องอัดกมลสุโกศล กรุงเทพฯ และเพลงของ ก.วิเสส ก็โด่งดังข้ามมาถึงเมืองไทยในปลายปี 2513 ถึงปี 2514 
  • ในระยะต่อมาเพลงนี้ได้มีนักร้องรุ่นหลังนำมาขับร้องใหม่หลายคน ซึ่งล้วนได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างมาก
  •  
ต่อคำถามว่าเพลงนี้เกี่ยวกับผู้ไทดำโดยตรงไหม ทำไมไทดำถึงต้องรำพัน  อะไรเป็นเหตุจูงใจให้ “หมีดำ” แต่งเพลงนี้ 

  • ข้อสันนิษฐานของผมนะครับ ผมเห็นว่าน่าจะเกี่ยวกับ เหตุการณ์ฝรั่งเศสแพ้สงครามที่เดียนเบียนฟู หรือเมืองแถน เมื่อ 7 มีนาคม 2497  ด้วยไทดำอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นในเมืองแถนหรือเดียนเบียนฟู ตามประวัติศาสตร์ ผู้ไทดำมีทั้งฝ่ายที่เข้ากับฝั่งฝรั่งเศส และฝ่ายที่ร่วมรบกับโฮจิมินท์
  • เมื่อฝ่ายฝรั่งเศสแพ้สงคราม ฝ่ายที่อยู่ข้างฝรั่งเศสจึงอพยพหนีภัยสงครามจากคอมมิวนิสต์แตกไปหลายแห่งหน  ส่วนหนึ่งได้อพยพเข้ามาอยู่ในลาว
หากนับเวลาตั้งแต่เมื่อครั้งเมืองแถนแตกคือ ตั้งแต่ปี 2497 จนถึงปี ที่หมีดำแต่งเพลงนี้ ในปีพ.ศ. 2512 ก็เป็นเวลา 15 ปีพอดีครับ
  • ผมจึงได้แต่เพียงสันนิษฐานตามเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ของผู้ไทดำนะครับ ว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากการอพยพโยกย้ายถิ่นของ ผู้ไทดำจากเมืองแถนและเมืองใกล้เคียงจากสงครามครั้งนั้นครับ
  • นมัสการครับ

 

สวัสดีครับ  เมื่อ ๒๖ ม.ค.๕๕ ที่ผ่านมามีงาน บุญเดือนสามขึ้นสามค่ำของชาวภูไท ต.นายูง อ.ศรีธาตุ อุดรธานี ซึ่งจัดเป็นงานประเพณีประจำปี(ปี๕๕ นี้เป็นปีที่๓) สถานที่จัดงานที่ร.ร.บ้านนายูง อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี..ปีที่แล้วมีพี่น้องภูไทจากประเทศลาวมาร่วมงาน ปีนี้มีพี่น้องภูไทจากลาวและเวียตนามมาร่วมงานด้วย..แกนนำชาวภูไทที่สำคัญคนหนึ่งคือ ท่าน ผอ.ยงยุทธ  สิมพา ผอ.ร.ร.บ้านายูง ...หวังว่าข้อมูลนี้คงเป็นประโยชน์กับท่านบ้าง(หากท่านทราบแล้วต้องขออภัยด้วยครับ) งานบุญเดือนสามhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/329577

 

 

งานบุญเดือนสามขึ้นสามค่ำปีก่อน...สืบฮอยตา วาฮอยปู่ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/237664

ขอบคุณครับ Ico48 หนุ่ม กร

  • เป็นเรื่องน่ายินดีครับ งานบุญเบิกฟ้าขึ้นสามค่ำเดือนสาม
  • ผมสนใจประเด็นที่ว่ามีผู้ไทเวียดนามมาร่วมด้วย เป็นผู้ไทดำ หรือผู้ไทแบบบ้านเรา
  • ผมกำลังตามประเด็นนี้ครับ ว่ามีผู้ไทแบบเราในจีนและเวียดนามหรือไม่ หรือมีเฉพาะบ้านเรากับลาวที่เราที่มีผู้ไทแบบเรา
  • ผมทราบว่าทั้งที่เวียดนามมีกลุ่มตระกูลไท(ผู้ไท)หลายกลุ่มแต่ยังไม่เคยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ามีผู้ไทแบบเราครับ
  • เท่าที่ผมทราบว่ามีที่เวียดนามว่ามีที่จังหวัดเกาบัง และที่จีน ที่ตำบลเจิ้นหลง(จินหลง)ก็เป็นเพียงคำบอกเล่า ผมยังไม่เคยไปพบเห็นด้วยตนเองครับ
  • หากทางศรีธาตุได้พบแล้ว ก็จะเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งครับ

   ขอบคุณ Ico48 หนุ่ม กร อีกครั้ง

  • ผมได้โทรคุยพี่น้องผู้ไท อ.ศรีธาตุ จ.อุดร แล้วครับได้ข้อมูลในรายละเอียดเยอะครับครับ
  • ประทับใจกับความมุ่งมั่น พาทีมไปศึกษาร่องรอยผู้ไทถึงเมืองแถน แต่พบเพียงผู้ไทดำครับ ด้วยข้อมูลที่มีจำกัดและความเชื่อเดิมตามข้อมูลที่มีเก่าว่าผู้ไทกับผู้ไทดำคือกลุ่มเดียวกัน แต่พี่น้องศรีธาตุ เมื่อได้ไปถึงเมืองแถน ประเทศเวียดนามก็ทั้งดีใจ พร้อมมีข้อสงสัยว่า เราใช่กลุ่มเดียวกันจริงๆหรือ ที่เวียดนามไม่มีผู้ไทแบบในบ้านเราและเมืองลาวเลยเหรอ
  • พอผมให้ข้อมูลว่า ผู้ไทแบบเราอยู่ที่จังหวัดเกาบังไม่ใช่ เมืองแถน และที่จีนก็มี พี่น้องผู้ไทศรีธาตุ ชวนผมเดินทางไปสืบเสาะหาร่องรอยเลยครับ
  • ผมบอกไปว่า ช่วงนี้ผมติดเรื่องค่าใช้จ่าย ด้วยต้องจ่ายค่าเทอม เรียน ป.เอกที่แสนแพงครับ
  • ผมจึงตั้งใจหาทุนครับ สิ้นเดือน ก.พ.นี้ผมเรียนจบ คอร์สเวิร์ค พี่น้องผู้บริหารอปท.ที่เป็นผู้ไท หรือไม่ใช่ผู้ไท แต่อยากสนับสนุนการเรียนรู้งานวิชาการเรื่องผู้ไท
  • จะสนับสนุนทุนผมโดย ให้ผมไปเป็นวิทยากร ฝึกอบรมช่วยงานของท่าน ไม่ว่าเรื่องการพัฒนาทีมงาน การพัฒนาภาวะผู้นำ การจัดการความรู้ การพัฒนาความเข็มแข็งกลุ่มองค์กรชุมชน และวิสาหกิจชุมชน ผมยินดีครับ พอมีเวลาแล้ว
  • หาทุนเดินทางไปจังหวัดเกาบังกันครับ หากมีทุนมากพอก็อาจเลยไป ตำบลเจิ้นหลง มณฑลกวางสีเลยก็ได้
  • ยินดีครับ

ทักทายคุณสุเทพ ไชยขันธ์  คือคืออดีตนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์มหาวิทลาลัยขอนแก่น รุ่นปี 1 พ.ศ 2524 ถ้าใช้ เราชื่อ มุณี  เรืองไชย จำได้หรือเปล่า จะติดต่อเราทางfacebook ชื่อมณีรุ้ง เรืองไชย จ้า

ยินดีอย่างยิ่งมณี
เราจำเพื่อนได้ เพื่อนมาจากเขาวง
เรากำลังตาม เรื่องผู้ไทจากเวียดนาม
ก่อนวันสัมมนาผู้ไทนานาชาติ 9-11 มีค.55
ที่ อ.เขาวง กาฬสินธุ์
เราจะไปงานสัมมนานี้ด้วย
คงได้เจอกัน ในงานไม่ได้เจอกันมานาน
ช่วงนี้เรากำลังตาม เรื่องผู้ไท ที่เวียดนาม
เปป็นผู้ที่ที่ต่างจากไทดำเมืองแถน และซอนลา(เซินลา)
และต่างจากไทขาวเมืองไล
ตามในyoutube
พึ่งจะพบว่า นี่หรือเปล่า คือ คนผู้ไทในเวียดนามที่กำลังตามหา
เป็นผู้ไทจากจังหวัดเกาบัง Cao Bang
โดยคำว่าผู้ไท ในภาษาเวียตนาม เขียนว่า phutay อ่านว่า ผู้ไท
แตกต่างจากไทดำครับที่เวียดนามเรียกTai Dam อ่านว่าไทดำ
ครับนี่คือ สมมุติฐานของเรา
แล้วจะตามไปดูในงานสัมมนาผู้ไทนานาชาติครับ

วันเสาร์ที่ 10- 11 มีนาคม จะไปร่วมงาน จะไปฟังเสวนาวิชาการ เพราะน่าสนใจ

คุณ  Ico48 กนกวรรณ ภูศรีฐาน

ยินดีครับ ดูจากนามสกุลเป็นตระกูลมาจากภูแล่นช้างหรือเปล่า
แล้วพบกัน 9-11มีนาคม ที่เขาวงครับ

(ภาพโดยคุณวันชัย)

  • แจ้งข่าวมวลมิตรในG2K ครับ
  • วันที่ 9-11มี.ค.55งานมหกรรมผู้ไทนานาชาติ ที่เขาวง  

  • อาจารย์ธีรภาพ โลหิตกุล และอาจารย์ Adul Tanthakosai 
ตกลงจะไปร่วมงานด้วย 
  คืนวันที่8 มี.ค. ผมจัดงานเล็กๆ เป็นการลงข่วง เข็ญฝ้าย ย้อนยุค ให้พี่ๆนักถ่ายภาพ
เป็นกรณีพิเศษ ที่บ้านผม
ด้วยท่านจะนอนค้างในหมู่บ้าน ถ่ายภาพนิ่งและสารคดีหมู่บ้าน

  • วันนั้น จะเป็นการชุมนุมนักถ่ายภาพ ที่ติดตาม อ.ธีรภาพ โลหิตกุลมา ถ่ายภาพ
    
ข่าวว่ากวีซีไรท์คนล่าสุดมาร่วมงานด้วย
สนใจเชิญนะครับ จะนอนค้างในหมู่บ้าน เลยก็ได้นะครับ
รวมทั้งจะอยู่ถ่ายภาพ การลงข่วง เข็นฝ้ายของสาวผู้ไท
บ้านผม ที่บ้านเหล่าใหญ่ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธ์
ในคืนวันที่ 8 มี.ค. 55 ครับ
  • 
ผู้สาวผู้ไทยบ้านเหล่าใหญ่ เตรียมแต่งชุดสาวผู้ไทให้งามๆ
จะได้เจอกับตากล้องชั้นครูของเมืองไทย
อย่าง อาจารย์ธีรภาพ โลหิตกุล
และอาจารย์ Adul Tanthakosai
  • ตากล้องมือใหม่ป้ายแดงอย่างผม 
อดตื่นเต้นไม่ได้ครับ

  • ใครสนใจเชิญครับ

แล้วไทย ญ้อ ละ ครับ เป็นเครือญาติเดียวกับคนผู้ไทป่าวครับ ช่วยตอบหน่อย ครับ เพราะภาษาไกล้เครียงกัน

นึกถึงตายายค่ะ สำหรับเครือญาติทางตาจะแต่งชุดสีดำแต่ ผ้าโพกหัวเป็นผ้าสีขาว เลยสงสัยตัวเองว่าเราเป็นเชื้อสายอะไรแต่ก็ยังเน้นแต่งกายสีดำด้วยผ้าฝ้ายหรือผ้าไหม และมีผ้าแพรทอมือเก็บลายขิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท