ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์


ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์
การบริหารจัดการ ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management) คือการจัดหาคนมาทำงานและบำรุงรักษาหรือเป็นการระบุความต้องการในกำลังแรงงาน การจัดดูแลคนที่ได้มาและการสรรหา การคัดเลือกการวางตำแหน่ง การส่งเสริม การประเมินผล การวางแผนงานอาชีพ การจ่ายเงินชดเชย และการฝึกอบรมบุคลากร ซึ่งกิจกรรมที่สำคัญในการจัดคนเข้าทำงานและดำรงไว้ซึ่งการปฏิบัติงานของพนักงานในระดับสูง มี 8 ขั้นตอนคือ 1. วางแผนทรัพยากรมนุษย์ เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดความั่นใจว่าผู้บริหารได้มีบุคลากรที่มีความสามารถในการทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ 2. การสรรหาบุคคล เป็นกระบวนการของการกำหนดพื้นที่หลักแหล่ง และดึงดูดความสามารถของบุคคลให้มาสมัครงาน และลดกำลังคน เป็นเทคนิคในการลดอุปทานด้านแรงงานภายในองค์การแหล่งแรงงานผันแปรและสะท้อนให้เห็นถึง ตลาดแรงงานท้องถิ่น แบบหรือระดับของตำแหน่ง ขนาดขององค์การ 3. การคัดเลือก เป็นกระบวนการในการกลุ่นกรองผู้ที่มาสมัครงาน เพื่อได้คนที่เหมาะสมที่สุดมาทำงานนอกจากนั้นเป็นการวางแผนความต้องการเพื่อการบริหารอย่างละเอียดลึกซึ้ง เป็นพื้นฐานที่สำคัญตามความต้องการของตำแหน่งงาน 4. การปฐมนิเทศ เป็นการแนะนำพนักงานใหม่เพื่อให้รู้จักและคุ้นเคยกับองค์การ 5. การฝึกอบรม เป็นกระบวนการในการพัฒนาคุณภาพของทรัพยากร ซึ่งจะทำให้เขาเหล่านั้นมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น 6. การประเมินผลและการโยกย้าย เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพสามารถวัดการปฏิบัติงานว่าได้บรรลุเป้าหมายและเป็นไปตามแผนได้ดีเยี่ยมแค่ไหน 7. ค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นๆ จุดมุ่งหมายของการออกแบบระบบการจ่ายค่าตอบแทนที่มีประสิทธิผล และเหมาะสมเพื่อเป็นการดึงดูดใจ และสรรหาพนักงานที่มีความรู้ความสามารถที่จะช่วยองค์การได้บรรลุภารกิจหรือเป้าหมายที่ได้วางไว้ จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม 8. การพัฒนาอาชีพ เป็นลำดับขั้นของตำแหน่งงาน ซึ่งบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะต้องครองครองระหว่างชีวิตการทำงานของบุคคลอื่น หลักสำคัญอยู่ที่บุคคลในการเลือกทำงานอาชีพ ไม่ใช่องค์การอีกต่อไป แต่ละคนจะต้องรับผิดชอบอาชีพของตนเอง ดังนั้นการตัดสินใจเลือกอาชีพที่ดีที่สุดคือการที่ความต้องการของแต่ละบุคคลในการดำเนินชีวิตสามารถเข้ากันได้กับความสนใจ ความสามารถ และโอกาสของการตลาด จากการศึกษากระบวนการจัดทรัพยากรมนุษย์นั้น จะศึกษาได้จากกรณีศึกษาการบริหารจัดการทีดีจากบริษัทชุมชนเภสัชกรรม จำกัด(มหาชน) เป็นกรณีตัวอย่างดังนี้ บริษัทชุมชนเภสัชกรรม จำกัด (มหาชน) ความเป็นมาของบริษัท ชุมชนเภสัชกรรม จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งเมื่อปี 2526 ด้วยทุนจดทะเบียน 1.0 ล้านบาท โดยเภสัชกรประมาณ 600 คน ที่มีเจตจำนงร่วมกันในการผลิตยาที่มีคุณภาพมาตรฐาน ราคายุติธรรมใช้ในหมู่เภสัชกร ชุมชน ต่อมาในปี 2528 บริษัทได้สร้างโรงงานผลิตยาขึ้นตั้งอยู่ที่ 96/17 หมู่ 13 ถนนคู้บอน แขวงคันนายาว กรุงเทพฯ ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 40.0 ล้านบาท และเป็นบริษัทยารายแรกและรายเดียวในประเทศไทยที่เป็นบริษัทมหาชน โดยที่ไม่มีใครเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่จะผูกขาดอำนาจในการบริหาร ลักษณะของการปฏิบัติที่ดี ด้านพนักงาน - มีนโยบายที่ชัดเจนในการกำหนดเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทนตามกฎหมายแรงงาน และเปิดเผยให้ทราบทั่วกัน พร้อมทั้งมีระบบการเพิ่มผลตอบแทนในรูปเงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส โดยการจ่ายโบนัสจะพิจารณาจ่ายตามผลประกอบการของบริษัท และจ่ายทุกปี กำหนดขั้นต่ำไว้ 1 เดือน สูงสุด 2.5 เดือน - มีการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงานเป็นประจำทุกปี โดยแบ่งผลกำไรของบริษัทมา จัดสรรเป็นรางวัลแก่พนักงาน ดีเด่น ขยัน หรือทำงานครบ 10 ปี - มีสวัสดิการให้กับพนักงาน โดยจัดตั้งเป็นงบประมาณเพื่อให้พนักงานใช้ในการจัดเลี้ยง และ ทัศนศึกษา นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการพิเศษ เช่น ให้เครื่องแบบทำงานแก่พนักงานปีละ 3-6 ชุด ให้ยาฟรีแก่พนักงานและครอบครัวที่เจ็บป่วย จัดให้มีการตรวจ สุขภาพประจำปี และให้เงินกู้ฉุกเฉินได้ตามความจำเป็น - มีโครงการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับพนักงาน ซึ่งผ่าน ขั้นตอนการสำรวจความคิดเห็นจากพนักงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้ทดลองดำเนินการแล้ว - มีการจัดทำการประกันชีวิตหมู่ให้กับพนักงานทุกคน เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงให้กับครอบครัวของพนักงาน - มีการพัฒนาคุณภาพพนักงาน และสนับสนุนให้พนักงานได้สอบชิงทุนการศึกษา หรืออบรมหลักสูตรที่เป็นประโยชน์โดยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ - สนับสนุนให้พนักงานมีบทบาทในการพัฒนาองค์กร รวมทั้งมี กิจกรรมร่วมกัน ทำให้พนักงานเกิดความรักในองค์กร และอยู่ร่วมกันอย่างพี่น้อง เช่น การจัด Walk Rally กิจกรรมทำความสะอาดครั้งใหญ่ (Big Cleaning Day) ปีละหลายๆ ครั้ง กิจกรรม 5 ส - สถานที่ทำงานสะอาด และปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอย่างเพียงพอ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม - มีการจัดทำระบบบำบัดน้ำเสียตามแบบของกรมโรงงาน อุตสาหกรรม - ให้ความร่วมมือ และเป็นแหล่งฝึกงานของนักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ของทุกมหาวิทยาลัย - สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมวิชาชีพเภสัชศาสตร์ เช่น สภาเภสัชกรรม สมาคมเภสัชกรรมชุมชนแห่งประเทศไทย เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ - มีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะชุมชนโดยรอบบริษัท ฯ เช่น โรงเรียน วัด สถานีตำรวจเพื่อเป็นแนวร่วมในการพัฒนาสังคมและชุมชน ผลดีที่เกิดต่อกิจการจากการปฏิบัติที่ดี - ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าของบริษัท ก่อให้เกิดการยอมรับในตราสินค้า (Brand) และเลือกใช้สินค้าของบริษัทอย่างต่อเนื่อง อันจะส่งผลให้กิจการเติบโตมีกำไร และมีฐานะการเงินมั่นคงอย่างยั่งยืน - พนักงานมีขวัญกำลังใจ พึงพอใจ ทำงานอย่างเต็มที่ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาบริษัทด้วยความภักดี - ทำให้บริษัทเป็นที่รู้จักในหมู่เภสัชกรอย่างแพร่หลาย และได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากสถาบันเภสัชศาสตร์ต่างๆ จากการให้ความร่วมมือและเป็นแหล่งฝึกงานของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ และร่วมสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของสมาคมวิชาชีพเภสัชศาสตร์ - ชุมชนให้ความร่วมมือและมีความสัมพันธ์ที่ดี ไม่มีข้อขัดแย้งกับบริษัท ปัจจัยความสำเร็จของบริษัท - ความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาระบบคุณภาพ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อถือ ไว้วางใจใช้สินค้าและบริการของบริษัท เป็นผลให้บริษัทอยู่รอดและสามารถเติบโตเกินค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมภายใต้การแข่งขันที่ รุนแรง - ความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาคุณภาพพนักงาน จากการส่งเสริมให้ความรู้พนักงานทุกระดับ ตลอดจนสนับสนุนให้กระทำกิจกรรมร่วมกันที่จะสร้างสรรค์ความเจริญให้บริษัท ด้วยการให้กำลังใจ อดทน เพื่อพยายามฝ่าฟันความยากลำบากต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จ - การมีวิสัยทัศน์และคุณธรรมของผู้บริหาร โดยเน้นความสำคัญต่อ ผู้บริโภค คุณธรรมที่จะดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและช่วยเหลือสังคม ชุมชนด้วยความเห็นอกเห็นใจ ข้อสรุปจากการศึกษาการจัดการองค์การของผู้บริหารด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ จะเห็นได้ว่าบริษัทได้มีการจัดการที่ดีอย่างเห็นได้ชัดเจนด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คือพนักงานภายในองค์การได้มีนโยบายที่ชัดเจนในการให้ความสำคัญกับพนักงาน โดยเน้นเรื่องการเพิ่มศักยภาพ และการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และไม่เน้นเรื่องการใช้เครื่องจักรเพื่อทดแทนคน ซึ่งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงาน การให้ผลตอบแทนหรือผลประโยชน์อื่นๆ และบริการที่ดีให้แก่พนักงานที่นอกเหนือจากค่าจ้างก็เป็นการจูงใจ และได้รับการยกย่องจากภายในองค์การและภายนอกองค์การ จากการที่บริษัทมีขนาดย่อมซึ่งมีความเสียเปรียบในเรื่องเงินลงทุน เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยี การจัดการที่ ทันสมัย บุคลากรที่มีคุณภาพและความสามารถ จึงต้องพยายามเรียนรู้ในการปรับตัว การรู้ เข้าใจ และเข้าถึงความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง ตลอดจนการมีและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าควบคู่ไปกับการสร้างระบบคุณภาพให้เป็นที่ยอมรับ รวมถึงการสร้างสรรค์กิจกรรมกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ผู้บริหารพึงมี นอกเหนือจากการพัฒนาบุคลากรโดยให้พนักงานมีส่วนร่วม รู้สึกเป็นเจ้าของใน กิจกรรมและทรัพย์สินที่ตนเองดูแลรับผิดชอบ ด้วยการสร้างวัฒนธรรม บรรยากาศในการทำงานที่มีความสุข เพื่อให้พนักงานทำงานอย่างเต็มความสามารถ และประสบผลสำเร็จจากงานที่ทำ ผู้บริหารย่อมควรเรียนรู้จากกรณีตัวอย่าง
คำสำคัญ (Tags): #หนึ่งกำลังใจ
หมายเลขบันทึก: 47636เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2006 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เยี่ยมมากเลย มีภาพประกอบสวยๆจะชวนอ่านมากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท