สะแล ไม่แลไม่ได้แล้ว


สะแลเป็นพืชพืนถิ่นของคนเหนือ เป็นอาหารพื้นบ้านที่แสนอร่อย

            

              

              สะแลพืชพื้นถิ่น และ เป็นอาหารพื้นเมืองของคนเหนือ ชื่ออาจแปลกหู และหาทานได้เพียงฤดูนี้เท่านั้น แกงสะแลใส่ปลาแห้ง หรือ เนื้อ เชื่อว่าทานแล้วช่วยให้ร่างกายอบอุ่น และเจริญอาหาร  ฟื้นไข้ ช่วงนี้หากเดินตามตลาดสด (เช้า – แล้ง)ก็จะเห็นลูกผักสีเขียววางกองในกระด้งขายรวมกับผักอื่นๆ นั้นเหละคือลูกสะแล

            สะแลเป็นไม้เลื้อย กึ่งยืนต้น มีอายุหลายปี ไม่พบในป่าโดยทั่วไป พบแต่บริเวณชุมชนชนบทที่มีคนอาศัย แสดงว่ามีการขยายพันธุ์และปลูกไว้กินเท่านั้น ว่าไปแล้วสะแลเป็นญาติว่านเครือกับหมอน หากสังเกตให้ดีก็จะเห็นว่าลูกสะแลมีลักษณะคล้ายกับลูกหม่อน แต่ส่วนที่ใช้ทานคือลูกดิบสีเขียว หากสุกจะมีสีเหลือง รสชาติหวาน-ขม เลี่ยน ติดปากติดคอ ไม่นิยมทาน

            สะแลมีสองประเภท ชนิดที่มีลูกยาว เรียก สะแลสร้อย  อีกชนิดลูกกลม เรียกสะแลป้อม ที่นิยมรับประทานคือ สะแลป้อม

             สะแลป้อมก็แบ่งเป็นอีก 2  ประเภทอีกเช่นกัน คือ ชนิดที่ออกตามฤดู ช่วงเดือน ม.ค-มี.ค และชนิดที่อกก่อนฤดู ต.ค-ธ.ค ซึ่งเรียกว่าสะแลดอ(สะแลทวาย) ความน่าสนใจอยู่ที่สะแลดอซึ่งออกต้นฤดู และมีราคาแพงมาก คือ กิโลกรัมละกว่า 200-350 บาทเลยทีเดียว(ราคาส่ง) แต่สะแลพันธุ์ดอนี้ก็หายาก เจ้าของสวนก็หวงพันธุ์มิใช่น้อย  

             สะแลขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง ที่นิยมคือการขดหลุม และปักชำกิ่งสะแลลงในดินใต้ต้นไม้ยืนต้นโดยตรงในฤดูฝน สะแลจะแตกกิ่งก้านรวดเร็วและเลื่อยเกาะเกี่ยวไม้ใหญ่และทอดกิ่งบนเรือนยอดไม้ใหญ่  แต่เนื่องจากกิ่งใบไม่หนาทึบ สะแลเลยไม่รบกวนการเจริญของไม้ต้นนั้น เพียงแต่อาศัยยึดเกาะเท่านั้น

             การเก็บสะแลใช้วิธีตัดกิ่งสะแล ที่มีลูกเขียว แก่จัด แต่ไม่สุก นำมาริบออกด้วยมือ สะแลจะแตกกิ่งใหม่ได้รวดเร็วและพร้อมเป็นดอกในปีต่อไป แต่หากไม่ตัดกิ่งสะแลทิ้ง สะแลกิ่งแก่มักไม่ติดดอกอกผลดีเท่าที่ควร คล้ายกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่ต้องมีการตัดแต่งกิ่งทุกปี

             สะแล หนึ่งต้นที่แล้ว อายุ 3-4 ปี ขึ้นไป จะเก็บผลได้ 5-10 กก.ต่อต้น จึงไม่เป็นเรื่องน่าแปลกใจที่เกษตรกรที่ปลูกสะแลไว้ในบ้าน หรือ หัวไร่ปลายนา คนละ 20-30  ต้น จะได้เงินนับแสน บาทในแต่ละปี บางปีได้เงินจากสะแล มากกว่าลำไย หรือ มะม่วง ที่เป็นผลผลิตหลักเสียอีก

              ปัจจุบันร้านอาหารพื้นเมืองมีผู้สนใจต่างถิ่นเริ่มสนใจชิมแกงสะแลมากขึ้น นอกจากอาหารเหนือที่ชื่อคุ้นเคย  สะแลก็ยังมีคนนิยมรับประทานอยู่มาก  สะแลจึงเป็นพืชที่ไม่ควรมองข้ามทีเลยเดียว

กิ่งสะแลที่มีผลติด

การริดผลสะแลจากกิ่ง

ผลสะแล หรือ ดอกสะแลที่ใช้ทำอาหารบริโภค

หมายเลขบันทึก: 476080เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2012 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สะแล ไม่เคยเห็น แต่ถ้า สาและ ปักษ์ใต้บ้านผมมีเยอะ

ขอบคุณที่นำมาให้เรียนรู้

  • ไม่เคยรู้จักมาก่อนเลย 
  • ไม่ทราบจะนำไปปลูกแถวภาคกลาง,ภาคอื่นๆได้ไหม
  • สวัสดีครับ
  • บ้านผมที่แพร่มีสะแลมากมาย กะว่าจะลองเอากิ่งมาชำทางขอนแก่นบ้าง เพราะเท่าที่เห็นไม่เห็นพืชชนิดนี้ที่อีสานเหมือนกันครับ

ขอบคุณ ทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมครับ

สะแลปลูกได้ทุกภาค แต่จะออกดอกต่อเมื่อฤดูสลัดใบเท่านั้น

จึงไม่เหมาะกับที่ชุ่มนำ เพราะจะมีแต่ใบไม่มีลูก

ขอบคุณครับ

ผมเคยไปกินที่อำเภอเทิงจังหวัดเชียงราย อร่อยดีครับ ทั้งแกง หรือแกล้มน้ำพริก คิดแล้วอยากกินอีกครับ

สวัสดีค่ะ

          ขออนุญาตและขอบคุณมากนะคะ

ได้นำบันทึกของคุณเจษฏาเพิ่มในบันทึกแกงสะแล

       http://www.gotoknow.org/posts/520240



เคยทานค่ะ ลวกกินกับน้ำพริกก็อร่อย รสชาติจะจืดๆมันๆ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท