๒๔๔.พุทธศาสนาเชิงรุกด้านการสาธารณสงเคราะห์


สรุปได้ว่าการเผยแผ่พุทธศาสนาเชิงรุกทั้ง 3 ด้านคือด้านการเผยแผ่ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ และด้านการสาธารณสงเคราะห์นั้นเป็นเครื่องมือขององค์กรทางพุทธศาสนาที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพสูงที่สามารถขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวหน้าต่อไปได้

 

     พุทธศาสนาเชิงรุกด้านการสาธารณสงเคราะห์นี้ เป็นการจัดสร้างเพื่อประโยชน์อันก่อให้เกิดผลต่อสาธารณะ เช่น การสร้างโรงพยาบาล การสร้างถนน การสร้างศาลา การสร้างอาคารเรียน การสร้างสถานีตำรวจ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังเป็นการจัดหาสิ่งของ หรือวัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้สำหรับสถานศึกษา หรือสถานที่อื่นใดที่เป็นของสาธารณะ (พระธรรมปัญญาภรณ์และพระมหาทองดี ปญฺญาวชิโร, 2548 : 99)

     ดังนั้น การสาธารณสงเคราะห์  หมายถึง  การจัดกิจการอันเป็นสาธารณประโยชน์  ที่พระสงฆ์ หรือวัดต่าง ๆ จัดทำอยู่  ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น  4  แนวทาง  คือ

                แนวทางที่ 1  การเข้าไปบริหารจัดการ  เป็นกิจการที่ดำเนินการหรือจัดทำโครงการขึ้นมาเอง ในลักษณะที่ทำเป็นกิจการประจำหรือชั่วคราว  เช่น  กิจการห้องสมุดเพื่อประชาชน  การตั้งมูลนิธิ  การตั้งกองทุน  เพื่อช่วยเหลือคนยากจนหรือช่วยเหลือคราวประสบภัยพิบัติ  การกำหนดเขตอภัยทาน  หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) เป็นต้น ซึ่งพระเข้าไปดำเนินการเอง

     แนวทางที่ 2  การเข้าไปสนับสนุน  เช่น  การพัฒนาหมู่บ้านหรือชุมชน  การจัดหาทุนเพื่อการสงเคราะห์  การช่วยเหลือทางราชการในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด  เป็นต้น อาจเป็นการเกื้อกูลกิจการของภาครัฐหรือของภาคเอกชนในลักษณะของการเข้าไปมีส่วนร่วม เป็นต้น ซึ่งเป็นการทำกิจกรรมส่งเสริมหน่วยงานอื่นที่ทำอยู่ก่อนแล้ว

     แนวทางที่ 3  การเข้าไปแสวงหาการมีส่วนร่วม  เป็นการช่วยเกื้อกูลในส่วนของสาธารณสมบัติ โดยมุ่งเอาผลเพื่อส่วนรวมที่เป็นสาธารณที่เป็นวัตถุ  เช่น  การสร้างถนนหนทาง  การขุดลอกคูคลอง  การสร้างฌาปนสถาน  การสร้างระบบประปาและระบบไฟฟ้าหรือเครื่องกำเนินไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งเน้นที่สาธารณสมบัติส่วนรวมเป็นหลัก

     แนวทางที่ 4  การเข้าไปแบบให้เปล่า  เช่น  การช่วยผู้ประสบภัยพิบัติ  ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัยวาตภัย  อัคคีภัย  การประสบอุปัทวเหตุ  การประสบภัยธรรมชาติ  การสงเคราะห์คนชรา คนพิการ คนผู้ด้อยโอกาส หรือการสงเคราะห์โดยประการอื่น ๆ ทั้งในยามปกติและตามโอกาสที่มาถึง เป็นต้น ซึ่งเป็นความเมตตาเอื้ออาทรต่อผู้อื่น

     สรุปได้ว่าการเผยแผ่พุทธศาสนาเชิงรุกทั้ง 3  ด้านคือด้านการเผยแผ่ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ และด้านการสาธารณสงเคราะห์นั้นเป็นเครื่องมือขององค์กรทางพุทธศาสนาที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพสูงที่สามารถขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวหน้าต่อไปได้

                จากแนวคิดทฤษฎีและการทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมา ทำให้เห็นแนวคิดของพุทธศาสนาเชิงรุกของบุคคล องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้

                พระธรรมโกศาจารย์ ได้ให้ทางพุทธศาสนาเชิงรุก 2 ด้านคือ พุทธศาสนาเชิงรุกด้านการศึกษาสงเคราะห์ และด้านการสาธารณสงเคราะห์ ซึ่งการให้แนวทางพุทธศาสนาเชิงรุกทั้งสองด้านนั้น ต้องใช้หลักการสงเคราะห์ประชาชนเพื่อต้องการนำประชาชนเข้าหาธรรมะ

                พระมหาวุฒิชัย  วชิรเมธี  ได้นำหลักพุทธศาสนาเชิงรุกในด้านการเผยแผ่โดยให้ความหมายว่า การบุกไปทำงานทุกหนทุกแห่งเท่าที่โอกาสเปิดให้ โดยใช้กระแสธรรมอินเทรนด์ อันเป็นที่นิยมของคนทั่วไป เช่น ผลิตธรรมะชุดธรรมะติดปีก  การใช้หลักธรรโมโลยีซึ่งใช้รูปแบบธรรมะฉบับ SMS หรือธรรมะโมบายเพื่อต้องการทำลายกำแพงแห่งภาษา ที่เข้าใจได้ยากและต้องการทำลายกำแพงแห่งท่าที หรือการเผยแผ่แบบตั้งรับ ที่มีกฎเกณฑ์มากเกินไปมาเป็นท่าที่ที่ตอบสนองต่อสังคมมากขึ้น ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้ พระต้องปรับท่าทีใหม่ในการเผยแผ่โดยใช้แนวคิดพุทธก้าวหน้า พระก้าวนำ อันเป็นเครื่องมือพัฒนา ไม่ใช่เครื่องมือจับผิดคน

                พระพรหมคุณาภรณ์(ประยุทธ์  ปยุตฺโต) มองพุทธศาสนาในอดีตว่า วัดเป็นสถานที่สำคัญ โดยสามารถชี้ให้เห็นตามพุทธศาสนาเชิงรุกใน ดังนี้ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ คือ 1.วัดเป็นสถานที่ศึกษา 2.วัดเป็นศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรม  ด้านการสาธารณสงเคราะห์ คือ 3.วัดเป็นสถานสงเคราะห์  4.วัดเป็นสถานพยาบาล  5.วัดเป็นที่พักคนเดินทาง  6.วัดเป็นคลังวัสดุ  7.วัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม  ด้านอื่น ๆ คือ 8.วัดเป็นสโมสรที่ชาวบ้านพบปะสังสรรค์  9.วัดเป็นสถานบันเทิง  10.วัดเป็นสถานที่ไกล่เกลี่ย  11.วัดเป็นศูนย์กลางการบริหารและปกครอง

                ประเวศ  วะสี  มองว่าการที่พระสงฆ์ได้พยายามคิดทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งต่อพุทธศาสนาเชิงรุก เพราะจะทำให้พุทธศาสนามีพลังในการขับเคลื่อนสู่สังคมในระดับกว้างต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไปจับยุทธศาสตร์การขจัดทุกข์ เพราะยุทธศาสตร์นี้จะนำไปสู่ปัญญา ซึ่งต่างจากยุทธศาสตร์สร้างความสุขซึ่งจะนำไปสู่ความโลภและการแย่งชิง การทอดทิ้งกัน

                มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เปิดการเรียนการสอน การทำวิจัยเกี่ยวกับวิชาการทางด้านพุทธศาสนาครอบคลุมแทบทุกจังหวัดของประเทศและมีสถาบันสมทบในต่างประเทศอีก 7 แห่ง กิจกรรมพุทธศาสนาเชิงรุกที่สำคัญ คือการจัดงานพุทธศาสนสัมพันธ์โลก การจัดงานวิสาขบูชาโลก การจัดวิทยาลัยนานาชาติ โครงการพระธรรมทูตสายต่างประเทศ โครงการครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน โครงการธรรมจาริกสู่พื้นที่สูง โครงการสถานีวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น

                มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้เปิดการเรียนการสอน การทำวิจัยเกี่ยวกับวิชาการทางด้านพุทธศาสนากระจายไปทั่วประเทศ โครงการพุทธศาสนาเชิงรุกที่สำคัญ คือโครงการพระธรรมทูตสายต่างประเทศ โครงการครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน โครงการสถานีวิทยุ เป็นต้น

                วัดในพุทธศาสนา ได้ทำงานพุทธศาสนาเชิงรุกด้านการเผยแผ่ ด้วยการอบรม เทศนาธรรม การสอนธรรม ตามวันเวลาและโอกาสสำคัญ  ส่วนพุทธศาสนาเชิงรุกด้านการศึกษาสงเคราะห์ จะมีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ โรงเรียนการกุศลของวัด โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนตามพระราชประสงค์ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด และพุทธศาสนาเชิงรุกด้านการสาธารณสงเคราะห์ ประกอบด้วยการเข้าไปบริหารจัดการ การเข้าไปสนับสนุน การแสวงหาการมีส่วนร่วม และการเข้าไปแบบให้เปล่า

 

ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์พุทธศาสนาเชิงรุก  3  ด้าน

 

ที่

 

พุทธศาสนาเชิงรุก

 

1

 

ด้านการเผยแผ่

 

2

 

ด้านการศึกษาสงเคราะห์

 

3

 

ด้านการสาธารณสงเคราะห์

 

 

 

 

 

 

                ดังนั้น พุทธศาสนาเชิงรุกในที่นี้ จึงสามารถสรุปเป็นภาพรวมได้ใน  3  ด้านหลัก  ดังนี้

     1.งานด้านการเผยแผ่  คือ  การเผยแผ่พุทธศาสนาสู่สังคม  โดยรุกออกไปข้างนอกวัด  ทั้งนี้ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา  สถานที่  ในฐานะพระธรรมทูต  โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย  ภาษาที่เข้าใจง่าย  โดยมีข้อมูลจากฐานความรู้หรืองานวิจัยทางพระพุทธศาสนา

     2.งานด้านการศึกษาสงเคราะห์  คือ  การเปิดวัดหรือศาสนสถานให้เป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษา  เรียนรู้  ในรูปแบบของการให้การศึกษาทุกระดับชั้นทั้งในระบบ  และนอกระบบโดยไม่หวังผลกำไร

     3.งานด้านการสาธารณสงเคราะห์  คือ  การทำวัดหรือศาสนสถานให้เป็นที่พักผ่อน เป็นที่พึ่งของสังคมชุมชน  เช่นจัดสร้างโรงพยาบาล  สถานีอนามัย  ที่พักอาศัย  ที่พักฟื้น  ที่สร้างอาชีพรายได้  โดยวัดเป็นเจ้าของดำเนินการบริหารจัดการเอง  การเข้าไปสนับสนุน การเข้าไปแสวงหาการมีส่วนร่วม และการเข้าไปแบบให้เปล่า

 

หมายเลขบันทึก: 475386เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2012 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • นมัสการเจ้าค่ะ พระครูโสภณปริยัติสุธี(ศรีบรรดร)
  • หนังสือที่ท่านพระมหาศรีบรรดร ส่งมาให้หนูได้รับแล้วเจ้าค่ะ
  • อ่านเพลินเลย ภาพและเนื้อหาชวนอ่านมากๆ
  • นอสตาดามุส หนูเพิ่งเคยได้ยินครั้งแรกจากหนังสือของท่านนี่แหละค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับหนังสือดีมีคุณค่าที่ท่านพระมหาศรีบรรดรมอบให้หนูมากค่ะ

-เจริญพรคุณโยมกล้วยไข่ หนังสือที่ฝากท่านอาจารย์ขจิตไปให้เป็นผลงานอันดับที่ ๑๗ ของอาตมา

เนื้อหามี ๓ ส่วนคือ การ์ตูน ภาคบรรยาย และภาคการวิเคราะห์ ซึ่งอ่านได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่

-ส่วนอันดับที่ ๑๘ เรื่อง"ธรรมาธิปไตย : ธรรมรัฐ-ธรรมราชา-ธรรมานุวัตร" เป็นหนังสือเชิงวิชาการ และอันดับที่ ๑๙ "เรื่องเล่าจากกว๊าน

พะเยา" เป็นฉบับการ์ตูน

-หนังสือทั้ง ๒ เล่มหลังนี้คงจะพิมพ์มุทิตาหลวงปู่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ตอนอายุวัฒนมงคลครบ ๙๖ ปี ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ หรือ

อีก ๔ เดือนกว่า ๆ นี้

-อย่างไรเสียจะได้ฝากอาจารย์ขจิตไปให้

 

  • เย้ดีใจที่จะได้อ่านหนังสือของพระคุณเจ้าอีก
  • หนังสือที่มีภาพประกอบจะช่วยให้หนูอ่านสนุกมากขึ้น แต่กับคนอื่นหนูไม่แน่ใจว่าเป็นเหมือนกันหรือไม่อย่างใด
  • แต่เรื่องการใช้ภาษาเขียนก็สำคัญไม่น้อยไปกว่าภาพประกอบนะคะ
  • ซึ่งงานเขียนของพระคุณเจ้าผ่านฉลุยทั้งสองส่วนเลย คือภาพประกอบเหมาะสมและภาษาเขียน คือได้ทั้งความรู้มี อ่านแล้วสนุกชวนติดตาม
  • ช่วงนี้หนูใกล้จะปิดเทอมแล้ว คงมีเวลาอ่านหนังสือของท่านซ้ำอีกสักรอบเจ้าค่ะ โดยเฉพาะหน้าที่มีรูปภาพประกอบ
  • อย่างไรเสีย หนูก็จะนั่งรออ่านหนังสือดีมีคุณค่าของพระครูโสภณปริยัติสุธี(ศรีบรรดร)อีกนะเจ้าค่ะ
  • ภาษาเขียนยังไม่ดีพอขอให้พระคุณเจ้าโปรดให้อภัย และชี้แนะด้วย
  • ขอบคุณล่วงหน้าเจ้าค้า....

เจริญพรคุณโยมกล้วยไข่ ที่ช่วยวิจารณ์หนังสือให้ สาธุๆๆๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท