เขมรรบไทย


เขมรรบไทย
โดย ดร.ศานติ ภักดีคำ
ประเภท สารคดีประวัติศาสตร์การสงครามระหว่างไทย - เขมร


....................
ไทย (สยาม) เขมร (ขอม) มีความสัมพันธ์กันอย่างยาวนานทั้งทางด้าน วัฒนธรรม การเมือง การค้า เป็นทั้งคู่รัก คู่แค้น คู่กรรม คู่เวร
...................
ความสัมพันธ์ไทย-เขมรถูกหยิบยกขึ้นมาพูดในเวทีวิชาการ การเมือง หรือระดับโด๊ะกาแฟบ่อยครั้งมากจนรู้สึกว่าเอียน บ่อยครั้งถูกใส่สีตีไข่ ใส่มายาคติ อคติ และถูกนำมาเป็นเครื่องมือบ่อยครั้งจนแทบหาว่าอะไรจริงอะไรเท็จไม่ได้เลย โดยเฉพาะกรณีข้อพิพาคปราสาทเขาพระวิหาร
..................
คนพูดเรื่องเขมรเยอะ แต่คนรู้จริงน้อย
.................
ดร.ศานติิ ภักดีคำ เป็นนักวิชาการสังกัด ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ที่ขยันทำวิจัย ขยันเขียนหนังสือ ขยันไปงานสัมนาวิชาการ ฯลฯ เป็นนักวิชาการด้านเขมรศึกษาที่หาตัวจับยาก และเป็น "ไอดอล" ของผมด้วย
.................
เขมรรับไทยเป็นอีกหนึ่งผลงานที่คนไทยควรอ่าน แม้จะเล่มไม่หนามากแต่ก็มากไปด้วยคุณภาพ ผมจึงขอสรุปใจความสำคัญดังนี้


1. บอกเล่าประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-เขมรตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
2. มีการวิภาคหลักฐานที่นำมาใช้ประกอบการเขียน พงศาวดาร ไทย-เขมร จารึกโดยเฉพาะจารึกรุ่นหลังเมืองพระนคร จดหมายเหตุ ฯลฯ ส่ีวนที่เป็นภาษาเขมรทั้งจารึกและเอกสาร อาจารย์ได้อ่านเอง แปลเอง จึงมีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่าการไปหยิบยกจากที่คนอื่นแปลเอาไว้
3. วิเคราะห์ ชื่อ บุคคล วาทะกรรม เพื่อให้ผู้อ่านทราบที่มาที่ไป เช่น ขอมคือใคร, ขอมสบาทโขลนลำพงคือใคร, ขอมแปรพััตร์คืออะไร, สมเด็จพระอินทราชากับพระยาแพรกพระองค์เดียวกันหรือสองพระองค์, ที่มาของเสียมเรียบ, ใครคือพระองค์สวรรคโลก, พระยาละแวกไม่ได้ถูกปฐมกรรม นักพระสัตถาคือใคร, ฯลฯ
4. วิเคราะห์ประวัติศาตร์สงครามไทยเขมร ว่าแต่ละครั้งเกิดขึ้นจริงหรือไม่ มีหลักฐานใดในการสนับสนุึน หลักฐานมีทั้งสองฝ่ายหรือไม่ อาจารย์ศานติสรุปสงครามระหว่างไทย-เขมรจนถึงรัตนโกสอนทร์ตอนต้นไว้ถึง 28 ครั้ง สงครามที่เกิดขึ้นเช่น สงครามสมัยก่อนอยุธยา สงครามสมัยอยุธยา 22 ครั้ง, สงครามสมัยธนบุรี 4 ครั้ง, สงครามสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นครั้งใหญ่ ๆ 2 ครั้ง ไปจนถึงการเสียอำนาจของเขมรให้กับฝรั่งเศส
5. ลักษณะการเขียนของหนังสือเล่มนี้เป็นรูปแบบงานวิขาการ มีการอ้างอิง การยกประโยคจากเอกสารต่างมาประกอบทำให้อ่านยาก เข้าใจยาก แต่อาจารย์ศานติก็ยังใจดี สรุปเนื้อความให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ผมคิดว่าอาจไม่เหมาะกับคนที่เริ่มศึกษาและผู้ที่อ่านเอกสารประวัติศาสตร์ไม่แข็งแรง ถึงอย่างไรหนังสือเล่มนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเป็นหนังสืออ้างอิง นำไปใช้ต่อยอดในการค้นคว้าวิจัยต่อไป เพราะได้ชี้ประเด็นในส่วนที่ยังไม่ได้ศึกษาไว้มาก
6. เน้นความเป็นกลางยกข้อมูลทั้งสองฝ่ายมาวิเคราะห์ ไม่อคติ ชาตินิยม ไม่ชี้นำ ใช้มุมมองแบบจากคนนอกมองเข้าไป
7. ใช้เป็นคู่มือในการศึกษาความสัมพันธ์ไทย-เขมรในระดับเบื้งอต้นไปจนถึงระดับกลาง และต่อยอดไปจนถึงระัดับสูงได้
..................
ปรัชญาของหนังสือ


อาจารย์ศานติเขียนไว้ใน แทนคำนำ คือ
"หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อตอกย้ำความขัดแย้งระหว่างกันในอดีต แต่เพื่อให้เกิดการเียนรู้ประวัติศาสตร์ซึ่งกันและกันโดยปราศจาก "อคติ" เนื่องมากจาปัจจุบันไทยกัมพูชาต่างมี "มายาคติ" และ "อคติ" ทางประวัติศาสตร์ต่อกัน เพราะฉะนั้นในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย-กัมพูชาเราจึงต้องพยายามเรียนรู้ ยอมรับ เติบโตไปด้วยกัน พัฒนาไปด้วยกัน อย่างเรียนรู้และเข้าใจกัน"
................
ผู้สนใจเขมรศึกษาไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง

วาทิน ศานติ์ สันติ

คำสำคัญ (Tags): #ดร.ศานติ ภักดีคำ
หมายเลขบันทึก: 474840เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2012 19:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2016 00:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ประเทศไทยช่วงนี้่อ่อนแอแพ้เขมรเพราะฝ่ายการเมืองฉ้อราษฏร์บังหลวง นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท