ตอนที่ ๑ ผลกระทบของมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีของสหภาพยุโรปต่อการส่งออกของไทย


มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีอากร (Non Tariff Barriers : NTBs) นั้นถือว่าเป็นมาตรการทางการค้ามาตรการหนึ่งที่มีผลกระทบต่อประเทศผู้ส่งออก โดยเฉพาะประเทศที่มีรายได้หลักมาจากการส่งออกสินค้าอย่างเช่นประเทศไทย

EU’s NTBs : อุปสรรคทางการค้า?

    

                    มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีอากร (Non Tariff Barriers : NTBs) นั้นถือว่าเป็นมาตรการทางการค้ามาตรการหนึ่งที่มีผลกระทบต่อประเทศผู้ส่งออก  โดยเฉพาะประเทศที่มีรายได้หลักมาจากการส่งออกสินค้าอย่างเช่นประเทศไทย

                   มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีอากรมักเป็นที่สงสัยของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกว่าการใช้มาตรการดังกล่าวเข้าข่ายการกีดกันทางการค้าที่ต้องห้ามตามกฎขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) หรือไม่เพียงใด  และมาตรการมักมีรูปแบบและเงื่อนไขที่ซับซ้อนหลากหลาย  ประเทศผู้ส่งออกจำเป็นต้องยอมรับในทุกกรณีหรือไม่

                   จากการเฝ้าสังเกตรูปแบบของมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีอากร  พบว่าจำแนกได้ ๓ กลุ่มใหญ่  คือ

                   ๑.  มาตรการเพื่อคุ้มครองสุขภาพ (Health Concern)  มาตรการเพื่อคุ้มครองสุขภาพ  พบว่ามักเป็นการริเริ่มโดยฝ่ายผู้บริโภคทั่วไปที่เรียกร้องให้มีการสร้างมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัย

                   ๒.  มาตรฐานเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Environment Concern)  มาตรการเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อม  พบว่ามักเป็นการริเริ่มโดยฝ่ายองค์กรอิสระ (Non – Governmental Organization : NGO)  ที่เรียกร้องให้มีการสร้างมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม

                   ๓.  มาตรการเพื่อคุ้มครองการใช้แรงงาน (Labor Concern) มาตรการเพื่อการคุ้มครองการใช้แรงงานนี้ยังคงเป็นที่โต้เถียงว่าเป็นมาตรการทางการค้าที่ชอบด้วยกฎขององค์การการค้าโลกหรือไม่ แต่ทั้งนี้มาตรการเพื่อการคุ้มครองการใช้แรงงานยังไม่เป็นที่ใช้แพร่หลายในสหภาพยุโรป  แต่กลับพบในมาตรการทางการค้าของสหรัฐอเมริกาค่อนข้างมาก

                   ดังนั้นจึงอาจแยกกลุ่มของมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีอากรได้ในอีกรูปแบบตามวัตถุประสงค์ของประเทศผู้นำเข้า  โดย  ๑. สหรัฐอเมริกาจะให้ความสำคัญกับการคุ้มครองอุตสาหกรรม  และคุ้มครองการจ้างแรงงานภายในประเทศ  และ  ๒. สหภาพยุโรปเน้นการคุ้มครองสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก  โดยมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีที่ประเทศไทยพบนั้น  สามารถแยกเป็น ๕ กลุ่ม  ดังนี้

                   ๑.  มาตรการควบคุมสินค้า

                   ๒.  มาตรการออกใบอนุญาต / ควบคุมการนำเข้า

                   ๓.  มาตรการควบคุมปริมาณการนำเข้า / ส่งออก

                   ๔.  มาตรการกึ่งผูกขาด (กำหนดช่องทางการนำเข้าสินค้า)  เช่น  การกำหนดท่าเรือที่สินค้าบางประเภทสามารถขึ้นได้หรือขึ้นไม่ได้

                   ๕.  มาตรการทางเทคนิค  เช่น  กฎระเบียบกำกับทางเทคนิค  กระบวนการพิเศษทางศุลกากร  หรือการกำหนดองค์ประกอบของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์  เป็นต้น

 

หมายเลขบันทึก: 47471เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2006 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 00:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ขอบคุณพี่นอตที่นำความรู้มาแบ่งปันค่ะ ...ได้อ่านแล้วค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งนะคะ...กิ๊กขอยืมไปใช้ประกอบการรายงานด้วยนะคะ

อ่ะ เต็มที่เลยครับผม

แล้วมีอะไรใหม่ๆก็จะเอามาเล่าให้ฟังอีกนะ

อ้อ . . . งานชิ้นนี้มันมีสามบทความนะ อ่านหมดหรือยังอ่ะ

 

นอต

มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีอากร (Non Tariff Barriers : NTBs) คงมีผลกระทบประเทศผู้ส่งออกอย่างไทยและจีนเยอะเลยนะครับ โดยเฉพาะจีนในประเด็นปัญหาการใช้แรงงาน
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท