ดำ เด็กข้างบ้าน 14 ชาตรี สำราญ


“ถ้าเรารักหมา หมาก็รักเรา” อันเป็นบทสรุปที่มาจากความเรียง 3 บรรทัด ที่ดำฝึกฝนเขียนมาตั้งแต่เริ่มเรียนกับผม

๑๔.

"ถ้าเราหมั่นฝึกฝนเด็กคนหนึ่ง  แม้เขาจะอ่อนแอทางภาษาในตอนแรก  แต่การเอาใจใส่  คอยกระตุ้นแนวคิดด้วยการตั้งคำถาม  ถาม  ถาม  และถามให้เราค้นหาคำตอบ  จนกระทั่งเขาสามารถตั้งคำถามด้วยตนเอง  ค้นหาคำตอบด้วยตนเองได้  และผู้สอนคอยนำคำใหม่สำหรับเขามาให้เขาเรียนรู้โดยการใช้วิธีการเขียนตาคำบอก  ค้นหาคำตอบว่าเขียนถูก-ผิดจากพจนานุกรมด้วยตนเอง  เขาก็จะสะสมคำเพิ่มขึ้น  และนานไปภาษาของเขาก็ค่อยๆ แข็งแรงขึ้น"
 

วันนี้ดำส่งความเรียงเรื่อง “อ้ายเหลือ” ให้อ่าน ดำเขียนว่า

 

อ้ายเหลือ

1

อ้ายเหลือเป็นหมาของพ่อ

มันชอบเล่นกับฉัน

มันชอบวิ่งแข่งกับฉัน

มันชอบกินอาหารที่พ่อให้มัน

2

อ้ายเหลือเป็นหมาตัวผู้

อ้ายเหลือมีขนสีน้ำตาลกับสีขาว

เพราะมันเหลือตัวเดียว

ตัวอื่นๆ ตายหมด

ใครๆ จึงเรียกมันว่า “อ้ายเหลือ”

3

อ้ายเหลือมันนอนในอู่ซ่อมรถ

บางครั้งมันนอนหน้าบ้านฉัน

แต่มันชอบนอนที่อู่ซ่อมรถ

อู่ซ่อมรถเป็นบ้านเกิดของมัน

4

ฉันชอบอ้ายเหลือ

เพราะมันเป็นเพื่อนเล่นของฉัน

เวลาคนแกล้งฉัน อ้ายเหลือจะกัด

เวลาหมาอื่นมามันจะขู่ไม่ให้หมาอื่นมาใกล้ฉัน

ฉันคิดว่า ถ้าเรารักหมา หมาก็รักเรา

7/11/54

 

5

อ้ายเหลือเวลามันหิว

มันมาที่บ้านฉัน

มันร้องขอข้าวจากฉัน

เวลาประตูบ้านปิด

อ้ายเหลือนอนรอ

หรือตะกุยประตูบ้านฉัน

ถ้ายังไม่เปิดบ้าน

มันจะส่งเสียงขออาหาร

พ่อกับฉันเอาอาหารให้มัน

อ้ายเหลือเหมือนสมาชิกของบ้านฉัน

ถ้าเรารักหมา หมาจะรักเรา

6

เวลาอ้ายเหลือกัดกับเพื่อน

มันจะไม่ยอมแพ้ง่าย

แสดงว่าอ้ายเหลือเป็นหมานักสู้

7

ฉันเป็นเพื่อนกับอ้ายเหลือ

เพราะอ้ายเหลือปกป้องฉัน

เวลาคนจะทำร้ายฉัน

ฉันรักอ้ายเหลือ

13/11/54

 

ดำเขียนอ้ายเหลือตอนที่ 1-4 มาให้ผมอ่าน ดำเขียนที่บ้าน ผมอ่านแล้วคิดว่า ดำน่าจะสะท้อนภาพของอ้ายเหลือได้มากกว่านี้ จึงนั่งพูดคุยซักถามดำถึงเรื่องอ้ายเหลือ ในแง่มุมต่างๆ แล้วเปิดโอกาสให้ดำเขียนเรื่องอ้ายเหลือต่อ ถึงตอนที่ 5-7 เป็นตอนที่ดำนั่งเขียนอยู่ใกล้ๆ ผม

การพูดคุยสนทนาซักถามเป็นวิธีการกระตุ้นความคิดของผู้สนทนาร่วมกันได้อย่างดี  โดยเฉพาะผู้สอนจะได้เรียนรู้ความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียนขณะที่สนทนากัน  ถ้าผู้สอนสามารถตั้งคำถามกระตุ้นแนวคิดมุมมองของผู้เรียนให้มองออกหรือคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิมๆ บ่อยๆ  ผู้เรียนก็เห็นทางใหม่ขึ้นมาได้

                ผมกระตุ้นให้ดำมองอ้ายเหลือจากภาพความจริงที่ดำเห็นอยู่ทุกวัน  เป็นการฝึกทักษะการสังเกตให้ดำ  ผมเชื่อว่า  ผู้ที่สังเกตเก่ง  ตั้งคำถามเก่ง  จะมีวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง  ความเชื่ออย่างนี้  ผมนำมาใช้กับลูกศิษย์ของผมทุกคน  อ้ายเหลือเป็นความเรียงที่สมบูรณ์แบบของดำ  ดำบรรยายภาพของอ้ายเหลือชัดเจน  ผู้อ่านอ่านแล้วรู้จักอ้ายเหลือ  และรู้ซึ้งว่าดำมีความผูกพันกับอ้ายเหลือมากน้อยเพียงใด

ความเรียงตอนที่ 7  ที่ดำเขียนถึงอ้ายเหลือ  คือ  เมตตาจิตที่ดำมีต่ออ้ายเหลือ  เพราะดำรักอ้ายเหลือ  ดำจึงคิดว่าอ้ายเหลือรักดำ 

 

“อ้ายเหลือเหมือนสมาชิกของบ้านฉัน” 

หรือ 

“ฉันเป็นเพื่อนกับอ้ายเหลือ”

และ 

 “ฉันรักอ้ายเหลือ” 

 

คือความจริงใจที่ดำสะท้อนออกมาให้ผู้อ่านเห็นได้อย่างชัดเจน

ความผูกพันระหว่างคนกับสัตว์  ของดำกับอ้ายเหลือที่ดำสะท้อนภาพให้เห็นในตอนต้นว่า

 

“มันชอบเล่นกับฉัน   มันชอบวิ่งแข่งกับฉัน”

 

ความผูกพันนี้ส่งผลให้เกิดความรัก  ความเป็นหนึ่งเดียวกัน  ดำเขียนว่า

 

                “เพราะมันเป็นเพื่อนเล่นของฉัน

เวลาคนแกล้งฉัน  อ้ายเหลือจะกัด

เวลาหมาอื่นมา  มันจะขู่ไม่ให้หมาอื่นมาใกล้ฉัน

ฉันคิดว่า  ถ้าเรารักหมา  หมาก็รักเรา”

 

ดำจบข้อเขียนของเขาด้วยการแสดงความเป็นดำออกมา  คือ  “ถ้าเรารักหมา  หมาก็รักเรา”  อันเป็นบทสรุปที่มาจากความเรียง 3 บรรทัด  ที่ดำฝึกฝนเขียนมาตั้งแต่เริ่มเรียนกับผม 

                “อ้ายเหลือ”  เป็นความเรียงที่พอจะสรุปได้ว่า  ถ้าเราหมั่นฝึกฝนเด็กคนหนึ่ง  แม้เขาจะอ่อนแอทางภาษาในตอนแรก  แต่การเอาใจใส่  คอยกระตุ้นแนวคิดด้วยการตั้งคำถาม  ถาม  ถาม  และถามให้เราค้นหาคำตอบ  จนกระทั่งเขาสามารถตั้งคำถามด้วยตนเอง  ค้นหาคำตอบด้วยตนเองได้  และผู้สอนคอยนำคำใหม่สำหรับเขามาให้เขาเรียนรู้โดยการใช้วิธีการเขียนตาคำบอก  ค้นหาคำตอบว่าเขียนถูก-ผิดจากพจนานุกรมด้วยตนเอง  เขาก็จะสะสมคำเพิ่มขึ้น  และนานไปภาษาของเขาก็ค่อยๆ แข็งแรงขึ้น  วันนี้กล้าพูดได้ว่า  ดำมีภาษาไทยที่แข็งแรงขึ้นแล้ว  กล้าสรุปได้ว่า  ดำมีพัฒนาการทางภาษาไทยดีขึ้น  เมื่อเทียบกับวันแรกเริ่มที่มาเรียนกับผม

                ครับวันนี้  ดำเขียน เรื่องสั้นๆ ได้แล้ว

 

 อ่านเป็นเล่มได้ที่นี่ครับ https://docs.google.com/docume...



หมายเลขบันทึก: 474669เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2012 09:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2018 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สำหรับ ผู้ที่สนใจ จะพิมพ์ หรืออ่านแบบเต็มๆ สามารถ อ่านได้ ตาม link นี้ครับ https://sites.google.com/site/chatreesamran/hnangsux/-doc-15

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท