คนคุณภาพล้างฟิล์มในห้องมืด


คุณภาพภาพรังสีได้จากคนคุณภาพล้างภาพรังสี
ควบคุมคุณภาพคนล้างฟิล์ม

วัตถุประสงค์1         เพื่อลดปัญหาฟิล์มเสียหรือฟิล์มไม่ได้คุณภาพ จากการล้างฟิล์ม เช่นไม่มีรอยแปลกปลอม        ฟิล์มโดนแสง2         ภาพถ่ายรังสีมีคุณภาพเพียงพอต่อการวินิจฉัยของแพทย์3         ผู้ปฏิบัติงานโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ห้องล้างฟิล์ม ทุกคนมีความรู้ เข้าใจ สามารถปฏิบัติงานเป็นแนวทางเดียวกัน

การวิเคราะห์สาเหตุ            1.   เจ้าหน้าที่ห้องล้างฟิล์มไม่มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน  เช่น                                -มือเปียกน้ำ  เมื่อล้างฟิล์มทำให้เกิดรอยแปลกปลอมบนฟิล์ม                                -ไอ หรือจาม ขณะล้างฟิล์ม                                -ผมยาว รุงรัง                  2 .  เจ้าหน้าที่ห้องล้างฟิล์มขาดความชำนาญในการปฏิบัติงาน                             -ใส่ฟิล์มในถาดเครื่องล้างฟิล์มไม่ดี ไม่ตรง หรือเอียง อาจทำให้ฟิล์มติดในเครื่องเวลาล้าง                            -ใส่ฟิล์มในคาสเซท(load flim)  ไม่ตรงล็อค  ทำให้ฟิล์มหักงอเกิดสิ่งแปลกปลอม                              -นำฟิล์มที่ถ่ายภาพแล้วออกจากคาสเซทไม่ดี มีการเสียดสีกับ สกรีน ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตใน   ฟิล์มเป็นรอยแปลกปลอมได้                            -ลืมปิดกล่องฟิล์มหรือปิดไม่สนิททำให้ฟิล์มถูกแสง                            -ไม่ล็อคประตูห้องล้างฟิล์มขณะล้างฟิล์ม                การปรับปรุงที่เกิดขึ้น1.       จัดอบรมเจ้าหน้าที่ห้องล้างฟิล์มเพื่อเพิ่มพูนทักษะในหารล้างฟิล์มโดยการสอนและให้ความรู้เรื่องเทคนิคการล้างฟิล์มที่ถูกวิธี2.   สร้างจิตสำนึกในการเพิ่มความระวังให้มากขึ้นและฝึกให้เป็นนิสัยโดย                                -ล็อคประตูทุกครั้งที่ปฏิบัติงานเพื่อป้องกันคนภายนอกเข้าไปในห้องล้างขณะล้างฟิล์ม                                -ก่อนออกจากห้องล้างฟิล์มสำรวจกล่องฟิล์มทุกครั้งโดยใช้มือสัมผัสที่กล่องฟิล์มก่อน                                -ไม่ไอหรือจามขณะล้างฟิล์ม ถ้าเป็นหวัดให้ใส่ ผ้าปิดปาก จมูก(mask)ในขณะล้างฟิล์ม                                -ถ้าผมยาวให้มัดผมให้เรียบร้อยก่อนเข้าไปล้างฟิล์มเป็นการป้องกันมิให้เส้นผมหล่นใส่ ใน        คาสเซท                                -การใส่ฟิล์มในถาดเครื่องล้างควรใส่ให้ชิดขอบของถาดด้านในด้านหนึ่งเพื่อป้องกันฟิล์มติดใน        เครื่อง                                -การจับฟิล์มออกมาล้างควรจับบริเวณมุมบนขอบฟิล์มใช้นิ้วมือสัมผัสฟิล์มให้น้อยที่สุดเพื่อ     ป้องกันรอยแปลกปลอมของนิ้วมือ 
คำสำคัญ (Tags): #คนล้างฟิล์ม
หมายเลขบันทึก: 47463เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2006 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 03:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท