คุณภาพ ภาพรังสีมาจากกระบวนการล้างฟิล์ม


กระบวนการล้างฟิล์มเป็นหัวใจของภาพรังสีที่มีคุณภาพ

4  กระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพ4.1  ควบคุมคุณภาพเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติ  การควบคุมคุณภาพของเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติเป็นหัวใจของการทำให้ภาพเอกซเรย์เป็นภาพที่มี    คุณภาพเพียงพอกับการวินิจฉัยโรคโดยการดำเนินการเริ่มจาก  การดูแลรักษาเครื่องล้างฟิล์มให้สามารถทำงานได้ตรงตามมาตรฐาน ควบคุมเวลาในการล้างฟิล์ม อัตราการฉีดน้ำยาเติม  เครื่องกรองน้ำ อัตราการไหลของน้ำ และไส้กรองน้ำยาสร้างภาพ โดยทำการทดสอบคุณภาพทุกวันก่อนการใช้งาน เพื่อควบคุมให้คงที่มีมาตรฐานเหมาะสม                การล้างฟิล์มด้วยเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ฟิล์มเอ็กซเรย์มีคุณภาพ  ซึ่งการจะทำให้ได้ฟิล์มที่มีคุณภาพนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยและองค์ประกอบหลายอย่าง โดยเฉพาะคุณภาพของน้ำยาล้างฟิล์ม  ซึ่งจะต้องมีการควบคุมให้มีคุณภาพคงที่สม่ำเสมอพร้อมใช้งาน                การควบคุมคุณภาพของน้ำยาล้างฟิล์มด้วย Step wedge จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะใช้ในการควบคุมคุณภาพของน้ำยาล้างฟิล์มให้มีคุณภาพตลอดเวลาวัตถุประสงค์การควบคุมเครื่องล้างฟิล์ม1.     เพื่อให้การล้างฟิล์มมีคุณภาพดีสม่ำเสมอเพียงพอต่อการวินิจฉัยของแพทย์2.       เพื่อลดปริมาณฟิล์มเสียที่มีสาเหตุจากขบวนการล้างฟิล์มการวิเคราะห์สาเหตุที่ฟิล์มไม่ได้มาตรฐานจากเครื่องล้างฟิล์ม1.      น้ำยาล้างฟิล์มในเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติไม่มีคุณภาพ ทำให้ฟิล์มเอกซเรย์ที่ผ่านขบวนการล้างฟิล์มไม่มีคุณภาพ มีลักษณะดำไปหรือขาวไป2.       ไม่มีการตรวจสอบควบคุมคุณภาพของน้ำยาล้างฟิล์มทำให้ไม่ทราบถึงสภาพของน้ำยา  ความพร้อมในการล้างฟิล์มของเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติการปรับปรุงที่เกิดขึ้น1.       กำหนดเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมรับผิดชอบดูแลการควบคุมคุณภาพของน้ำยาล้างฟิล์ม  โดยเจ้าหน้าที่ได้ผ่าน   การอบรมด้านการควบคุมคุณภาพ2.       นำ Step  wedge มาใช้ในการควบคุมคุณภาพของน้ำยาล้างฟิล์ม3.       เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมคุณภาพตรวจสอบคุณภาพของน้ำยาล้างฟิล์มทุกสัปดาห์โดยการประเมินผล          การตรวจสอบคุณภาพของน้ำยา4.       ผู้ดูแลเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติทำการการแก้ไข-เปลี่ยนน้ำยากรณีน้ำยาล้างฟิล์มไม่ได้มาตรฐานวิธีการดำเนินการ

1   เตรียมเครื่องล้างฟิล์มและทำฟิล์มมาตรฐาน
1.       ระบายน้ำยาเก่าทั้งในถังใช้งาน และถังน้ำยาเติมออกให้หมด2.       ทำความสะอาดถังน้ำยาล้างฟิล์มอย่างหมดจดทุกครั้ง3.       ผสมน้ำยาล้างฟิล์มใหม่4.       เริ่มงานตามปกติเพื่อล้างฟิล์มในน้ำยาใหม่  จนกระทั่งน้ำยาใช้งานมีความสมดุลย์ของน้ำยาล้างฟิล์มได้คุณภาพคงที่  (มีการล้างฟิล์มประมาณ 50 แผ่น)5.       ทำมาตรฐานภาพ  Step wedge โดย          A  กำหนดอุปกรณ์ที่ใช้                1   กำหนดเครื่องเอกซเรย์ใช้สำหรับทำการตรวจสอบคุณภาพเครื่องล้างฟิล์ม(ห้องเอกซเรย์ 1)                2   กำหนดฟิล์มขนาด 8X10  นิ้ว  จำนวน 1 กล่อง แยกไว้ต่างหาก( Note ใช้ในการตรวจสอบ)                3   กำหนดคาสเซตพร้อมสกรีน หมายเลข..............ในการตรวจสอบทุกครั้ง                4   กำหนดค่าปริมาณรังสีในการถ่ายภาพ Step  wedge ( 50 kVp, 100 mA, 0.04 Sec, SID  100 )         B    จัดทำภาพ Step wedge มาตรฐาน-   นำฟิล์มที่กำหนดใส่ในคาสเซตที่กำหนดไว้                -  ถ่ายภาพเอกซเรย์ของ    Step wedge ด้วยเครื่องเอกซเรย์เครื่องที่กำหนดโดยใช้ปริมาณรังสีที่                  กำหนด                -  นำฟิล์มไปล้างในเครื่องล้างฟิล์มที่ทำการตรวจสอบ                -   ได้ภาพรังสีของStep wedge เก็บไว้เป็นมาตรฐานการตรวจสอบ(เทียบกับฟิล์มที่ตรวจสอบ

                   ประจำสัปดาห์)

2   การควบคุมคุณภาพเครื่องล้างฟิล์ม

   2.1  การตรวจสอบน้ำยาล้างฟิล์มประจำสัปดาห์ เพื่อเทียบค่ากับฟิล์มมาตรฐาน

-      นำฟิล์มที่ใช้ในการตรวจสอบ(กำหนดไว้)สำหรับตรวจสอบคุณภาพของน้ำยาไปถ่ายภาพ  Step        wedge โดยควบคุมปัจจัยต่างๆให้เหมือนกับฟิล์มมาตรฐาน ( ใช้ปริมาณรังสี  50 kVp  ,  100         mA,  0.04 sec    เครื่องเอกซเรย์ ห้อง 1, ระยะจากหลอดถึงฟิล์ม (SID) =100 cm )-       นำฟิล์มที่ถ่ายภาพ Step wedge ไปผ่านกระบวนการล้างฟิล์มที่เครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติที่              ต้องการทดสอบคุณภาพ-       เปรียบเทียบความดำ  (Density) ของขั้น Step wedge ที่ตรงกันระหว่างฟิล์มมาตรฐานกับฟิล์ม        ที่ตรวจสอบ โดยส่องดูฟิล์มด้วยตาเปล่าบนตู้ไฟส่องฟิล์มa   ถ้าความดำของขั้นที่ตรงกันมีค่าเท่ากันแสดงว่าฟิล์มทั้งสองมีความดำไม่แตกต่างกัน ถือ     ว่าคุณภาพของน้ำยาล้างฟิล์มยอมรับได้ b  ถ้าภาพความดำของขั้นแตกต่างกันมากกว่าหรือน้อยกว่า 2 ขั้น Step wedge ถือว่าคุณ      ภาพของน้ำยาล้างฟิล์มนั้นเกินขีดจำกัดที่ยอมรับได้ ต้องทำการเปลี่ยนน้ำยาใหม่เพื่อให้      มีคุณภาพที่ยอมรับได้1.2      ตรวจสอบอุณหภูมิของน้ำยาสร้างภาพในเครื่องล้างโดย ใช้ปรอทวัดไข้ จุ่มวัดอุณหภูมิในถังน้ำยาสร้างภาพเพื่อตรวจสอบอุณหภูมิจริงของน้ำยา และเพื่อตรวจสอบค่าอุณหภูมิของเครื่องล้างตรงกัน1.3    ตรวจสอบอัตราการปั้มน้ำยา Repeniser  ว่ามีการปั้มสม่ำเสมอตามพื้นที่ฟิล์มที่เข้าไปล้างโดยการใช้หลอดแก้วที่บอกความจุเป็นเครื่องมือวัดจำนวนน้ำยาที่ออกมาเมือนำฟิล์มเข้าไปทดสอบ1.4    ดูอัตราการไหลของน้ำผ่านตัวกรองและฉีดล้างฟิล์มสม่ำเสมอ1.5    ตรวจสอบดูการทำงานของ Roller  ต่างๆมีการหมุนแบบเรียบไม่สะดุด  3    ตรวจสอบสภาพเครื่องล้างฟิล์มประจำวันก่อนการปฏิบัติงาน                3.1    นำ  Cross   Roller  ไปล้างทำความสะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง3.2     นำ Roller ของDevenloper และ Fixer ไปฉีดล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วเช็ดคราบน้ำยาที่ติดอยู่บนลูก   กลิ้ง (Roller)ออกให้หมด

                3.3      ประกอบชิ้นส่วนของเครื่องให้พร้อม  เปิดเครื่อง Warm up 10 นาที3.4    นำฟิล์มที่เสียที่มีอยู่มาป้อนเข้าเครื่องล้างเพื่อฟังเสียงการทำงานของเครื่องล้างฟิล์มว่าเดินสะดวก3.5    ใช้งานประจำวัน  

ควบคุมคุณภาพคนล้างฟิล์ม  จะมาเล่าต่อ

  

 

หมายเลขบันทึก: 47461เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2006 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูลดีๆข้างบน เป็นประโยชน์มากค่ะ ที่รพ.กำลังจะทบทวนวิธีการควบคุมคุณภาพของเครื่องล้างฟิล์ม ได้อ่านข้อมูลของพี่แล้ว ดีมากค่ะ ได้แนวคิดได้การนำเสนอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท