ดำ เด็กข้างบ้าน 9 ชาตรี สำราญ


เรื่องนายขนมต้ม ฉบับสุดท้ายของดำนี้ เป็นความเรียงที่เหลือเพียง ความ คิดจากใจ นำมา เรียง เป็นเรื่องราวได้แล้วจึงสั้นกะทัดรัด มีประเด็นประวัติศาสตร์ร่วมกับความคิดเห็นของดำเอง บทเรียนอย่างนี้เรียกว่า "จินตมยปัญญา"

๙.

เช้าวันนี้ ดำมาเรียนเขียนความเรียงอีก ยังให้เขียนเรื่อง นายขนมต้ม แต่เขียนโดยใช้ความรู้สึกนึกคิดของดำเอง ให้อ่านเรื่องที่เขียนมาแล้ว เขียนจากความรู้ที่ยังคาอยู่ในใจ รู้อะไรแค่ไหนอย่างไร ดำเขียนเล่าออกมาอย่างสบาย ๆ ดำเขียนว่า

 

1.

คนไทยคนเก่ง

ยุคกรุงศรีอยุธยา ก่อน พ.ศ. 2310

แผ่นดินขุนหลวงสุริยาบรินทร์

กษัตรย์กรุงศรีอยุธยา องค์ที่ 33

ยุคนี้บ้านเมืองอ่อนแอ

ประชาชนมีความคิดแตกแยก

ข้าราชการไม่สามัคคีกัน

ทหารขาดการฝึกอาวุธป้องกันบ้านเมือง

2.

ช่วงนี้ นายขนมต้ม พบครูสอนมวยไทย

ครูสอนมวยไทยชื่อ ทัด

ครูทัดมีฝีมือการชกมวยเก่งมาก

นายขนมต้มสมัครเป็นลูกศิษย์

ครูทัดรับนายขนมต้มเป็นศิษย์

แรก ๆ นายขนมต้มฝึกความอดทน

โดยใช้ผ้าชุบน้ำแล้วฟาดตามลำตัว จนเป็นไหม้

ต่อมาก็ฝึกชกผลมะนาวผูกเชือกแขวนไว้

ชกผ้าที่ผูกไว้ที่กิ่งไม้

และซ้อมกับคู่ซ้อม

ครูทัดให้นายขนมต้มกินน้ำว่าน

เพื่อความคงกระพัน

3.

นายขนมต้มไปต่อยมวยตามที่ต่างๆ

ได้รับชัยชนะทุกครั้ง

เพราะนายขนมต้มหมั่นฝึกซ้อม

จนมีชื่อลือฝีมือทั่วกรุงศรีอยุธยา

4.

พ.ศ. 2309

พม่ายกกองทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา

นานถึงหนึ่งปีสองเดือน

กรุงศรีอยุธยาก็ถูกพม่าตีแตก

พม่าจับต้อนคนไทยไปเป็นเชลย

นายขนมต้มต่อสู้กับพม่า

แต่แพ้พม่า เพราะพม่ามีจำนวนมาก

จึงถูกจับตัวไป

5.

ที่เมืองพม่า

นายขนมต้มต่อยกับพม่า

หน้าที่นั่งกษัตริย์พม่า

นายขนมต้มชนะพม่าถึงสิบคน

14/8/54

 

จะเห็นว่า ความเรียงเรื่องนี้ ดำยังติดกลิ่นอายวิชาการที่อ่านมาอีกมาก แม้จะเขียนได้ดี มีสาระเชิงวิชาการ ผสมความคิดเห็นส่วนตัวอยู่มาก ภาษาสำนวนก็ไม่แข็งแบบที่เขียนตอนแรก แต่ก็ยังติด "สุตมยปัญญา" อยู่ จึงนัดหมายให้ดำมาเขียนใหม่ในตอนบ่าย

ตอนบ่าย ดำมาเรียนเรื่อง นายขนมต้ม อีก บอกว่าให้เขียนสิ่งที่ดำอยากเขียนถึงนายขนมต้ม ดำคิดอย่างไร ชอบอย่างไร ดำเขียนตามสบาย เขียนแบบดำ ดำยิ้มแล้วก็นั่งเขียนว่า

 

นายขนมต้ม

นายขนมต้มอยู่ในกรุงศรีอยุธยา

สมัยกษัตริย์องค์ที่ 33 ชื่อ สุริยามรินทร์

กรุงศรีอยุธยาแพ้พม่า

แต่นายขนมต้มไม่แพ้พม่า

นายขนมต้มต่อยมวยหน้าพระที่นั่งกษัตริย์พม่า

นายขนมต้มชกชนะนักมวยพม่า 10 คน

นายขนมต้มต่อยมวยเก่ง

เพราะนายขนมต้มฝึกซ้อมมวยมาก

เตะต่อยลูกมะนาวมาก

ผมต้องฝึกซ้อมเตะต่อยลูกมะนาวบ้าง

ผมจะได้เก่งเหมือนนายขนมต้ม

ผมจะไปต่อยมวยที่สนามมวยต่าง ๆ 14/8/54

 

จะเห็นได้ว่าเมื่อ ดำ มีโอกาสพิจารณาในใจหลาย ๆ ครั้ง ได้กลั่นกรองความคิดหลายครั้งในเรื่องเดียวกัน เรียกว่าได้เคี่ยวความคิดในเรื่องเดิมจนความคิดนั้นงวดเข้าเป็น ความคิดรวบยอดได้ (ถ้าเขียนความเรียงให้สั้นกว่านี้)

เรื่องนายขนมต้ม ฉบับสุดท้ายของดำนี้ เป็นความเรียงที่เหลือเพียง ความ คิดจากใจ นำมา เรียง เป็นเรื่องราวได้แล้วจึงสั้นกะทัดรัด มีประเด็นประวัติศาสตร์ร่วมกับความคิดเห็นของดำเอง บทเรียนอย่างนี้เรียกว่า "จินตมยปัญญา" บทเรียนของดำขณะนี้ฝึกให้เข้าสู่ความเป็นจินตมยปัญญา กล่าวคือเมื่อเรียนเรื่องใดแล้วต้องน้อมนำมาเข้าพินิจพิจาณา ไตร่ตรอง กลั่นกรองจากใจ จนได้เรื่องที่ใจคิด ไม่ใช่ได้เรื่องที่จำจากการฟัง การอ่าน แต่เรื่องที่ผ่านการคิดพิจารณาของใจครั้งแล้วครั้งเล่าจนใจสรุปว่า ใช่แล้ว ก็นำมารีบ เขียน มิฉะนั้นจะลืมความเดิม เขียนแล้วต่อไปถ้าคิดอีกจะคิดได้ความคล้าย ๆ กัน แต่ไม่เหมือนเดิม เป็นการคิดเค้าเรื่องนั้นได้ต้องนำเค้าเรื่องนั้นมา นึกคิดทบทวนอีกครั้งหนึ่ง เรื่องนั้นจึงจะผุดจากใจลึก ๆ มาให้รู้อีก นี่คือ Deep knowledge หรือความรู้ที่ฝังลึก

ความรู้ที่ฝังลึกนี้ ถ้าดึงมาใช้บ่อย ๆ ก็จะพัฒนาเป็น ปัญญา (Wisdom) และถ้าหากดำนำวิธีการเรียนรู้แบบนี้ไปเรียนรู้เรื่องราวอื่นๆ บ่อยๆ แสดงว่าดำรู้วิธีการเรียนรู้ (Learning How to learn ) การที่ดำจะแสดงความสามารถแท้ของดำออกมาให้เห็นดำต้องเขียนเรื่องราวต่างๆ ที่ตนเรียนรู้ด้วยวิธีการที่ดำถนัด และเป็นวิธีของดำเอง ดำต้องเขียนด้วยความคิดความรู้ และความรู้สึกของดำ ชิ้นงานชิ้นนั้นจึงจะเป็นชิ้นงานที่บ่งบอกความสามารถแท้ของดำ

15/8/54 

 อ่านเป็นเล่มได้ที่นี่ครับ https://docs.google.com/docume...



 

หมายเลขบันทึก: 474211เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2012 08:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2018 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท