หมวกกันน็อกไฮเทค สมองเด็กไทยคิดค้น


ในงานวันเทคโนโลยีของไทยประจำปี 2548 ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-23 พ.ย. ณ บางกอกคอนแวนชั่นฮอลล์ โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล ลาดพร้าว
โดยในงานนี้มีนักศึกษาและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สุวรรณภูมิ วิทยาเขตนนทบุรี (มทร.) สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม    ภาควิชาอุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิต   คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ร่วมคิดค้นและประดิษฐ์ผลงานด้วยฝีมือนักศึกษาเพื่อเข้าร่วมชิงรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศครั้งที่    5 ด้วยเช่นกัน  ผลงานที่ว่านี้ก็คือ  "หมวกกันน็อกไฮเทค" ที่สามารถช่วยลดอัตราการตายหรือบรรเทาความรุนแรงจากอุบัติเหตุทางรถมอเตอร์ไซค์ได้มากเดียว  เพราะถ้าไม่สวมหมวก รถจะไม่สามารถสตาร์ทติดได้นายดำรง   เซ้งมณี   อาจารย์แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์  ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาในโครงการฯ กล่าวว่า    จุดประสงค์หลักของการผลิตสิ่งประดิษฐ์ตัวนี้ขึ้นมานั้น   ก็เพื่อต้องการให้ผู้ขับขี่จักรยานยนต์สวมหมวกกันน็อก เพราะจากสถิติอุบัติเหตุการตายด้วยการไม่สวมหมวกนั้นมีสูง และยังเป็นการป้องกันในกรณีโดนขโมยหรือรถสูญหายได้ "ในเวอร์ชั่นแรกเราผลิตในปี  2546 ซึ่งลองผิดลองถูกมาตลอด และพัฒนามาจนเป็นเวอร์ชั่นที่ 2 ในปีนี้ ส่วนต่างที่พัฒนาขึ้นก็คือ ในเวอร์ชั่นแรกไม่สามารถติดตั้งอุปกรณ์และโปรแกรมในรถทุกรุ่นทุกยี่ห้อได้ และแผงวงจรที่ฝังไว้ในหมวกก็มีขนาดใหญ่เกินไป แต่ในรุ่นที่ 2 นี้มีขนาดเล็กลงและติดตั้งได้กับทุกรุ่น และสามารถผลิตเป็นเชิงพาณิชย์ได้ เพราะมีขบวนการทางเทคนิคเพิ่มมากขึ้น" อาจารย์ดำรงกล่าวด้านนายสุนทร  ฉิมม่วง  และนายพรชัย  ลีแอล  นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม   ภาควิชาอุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิต  อธิบายถึงหลักการทำงานของหมวกกันน็อกไฮเทคว่า ในส่วนของอุปกรณ์จะประกอบด้วยแผงวรจรสวิตส์ปิดเปิดที่เป็นเครื่อส่งสัญญาณแบบเซ็นเซอร์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอร์รี่ขนาดถ่านนาฬิกาที่ติดอยู่กับหมวก    และอีกหนึ่งส่วนคือแผงวงจรไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับสายไฟในการสตาร์ทรถ   ซึ่งในส่วนที่ 2 นี้จะมีแผงปุ่มกดไว้คอยให้เจ้าของกดรหัสประจำตัวเวลาหมวกหายหรือลืมหมวกไว้ที่อื่น ทั้งนี้อุปกรณ์ทั้งหมดจะจัดทำขึ้นมาให้กับรถหนึ่งคันต่อหมวกและแผงวงจร 1 ใบเท่านั้น "ลักษณะการทำงานของหมวกไฮเทคก็คือ เมื่อเวลาสวมหมวกแล้วจะมีสัญญาณเชื่อต่อไปยังแผงวงจรที่ตัวรถ  ซึ่งจะทำหน้าที่ในการปลดล็อกให้รถสตาร์ทติดได้ และในขณะเดียวกัน เรายังได้ตั้งเวลาเผื่อไว้  1  นาที  ในกรณีถอดหมวกออกในเวลาอากาศร้อน หรือในกรณีที่มีการกระทบกระเทือนอันเนื่องมาจากการขับขี่หรือพื้นผิวของถนนไม่เรียบ   ที่จะส่งผลให้หมวกไม่สัมผัสกับศีรษะและอาจทำให้เครื่องดับได้ ส่วนวิธีการติดตั้งแผงวงจรนั้น    ผู้ที่สนใจก็สามารถหาหมวกใบที่ถูกใจแต่ขอให้ได้มาตรฐาน   มาติดตั้งแผงสวิตส์ปิดเปิดได้เลย  ส่วนแผงวงจรไฟฟ้าที่ติดอยู่กับตัวรถนั้นสามารถติดได้กับรถทุกรุ่นอยู่แล้ว  สำหรับราคาในการติดตั้งก็น่าจะอยู่ที่    3,000   บาท   หากนำไปทำเป็นระบบอุตสาหกรรมแล้วราคาน่าจะลดลงกว่านี้ และขณะนี้มีชาวต่างประเทศหลายคนให้ความสนใจและมาสอบถามเช่นกัน" นายสุนทรเป็นคนกล่าว.
คำสำคัญ (Tags): #ima#it#rsu
หมายเลขบันทึก: 47407เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2006 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ขับรถอย่าประมาทดีที่สุด

เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ และน่าภูมิใจกับนักศึกษาไทยค่ะ แต่อย่าประมาทดีที่สุดใช่แล้วค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท