Benchmarking(1)


ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการทำงานที่เป็นเลิศ กับอีก 2 สถาบันคือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยบูรพา

 Hula ในวันที่ 2-4 กันยายน นี้  ทีมงานของศูนย์บริการวิชาการจะเดินทางไปที่สักภูเดือนรีสอร์ท อำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา เพื่อร่วมสัมมนาโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของการบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน  สิ่งที่สำคัญนอกจากการไปรับทราบแนวคิดยุทธศาสตร์ของสถาบันการศึกษา  ทิศทางการบริหารราชการประจำปี 2549-2550 ตลอดจนกลยุทธ์ต่าง ๆ ในการทำงานแล้ว  ก็คือ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการทำงานที่เป็นเลิศ กับอีก 2 สถาบันคือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยบูรพา

สิ่งที่คาดหวังจากการไปครั้งนี้ คือการได้เครือข่ายร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานด้านงานบริการวิชาการแก่สังคม และ Benchmarking เพื่อพัฒนาต่อยอดต่อไป

                                                   - น้อง -





หมายเลขบันทึก: 47396เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2006 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2013 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 ประเด็นที่สามหน่วยงาน สามมหาวิทยาลัยจะมา แลก เปลี่ยน ประสบการณ์ จะมีมาตรฐานการบริการวิชาการที่ สมศ กำหนด และเราจะมา เทียบเคียงกันเพื่อสร้าง Raise The Roof 1 เครือข่ายร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน

"การให้บริการวิชาการที่เป็นประโยชน์ เป็นที่พึ่งและแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสม สอดคล้อง เพื่อเสริมสร้าง ความมั่นคง และ ความเข้มแข็ง ของ สังคม ชุมชน ประเทศชาติ และ นานาชาติ ตลอดจนการส่งเสริมบทบาททางวิชาการ และ วิชาชีพ ของสถาบันการศึกษา โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสาธารณะ"

 ตัวบ่งชี้

  ๑.จำนวนกิจกรรม/โครงการ บริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของสังคม ชุมชน ประเทศชาติ และ นานาชาติ ต่อ จำนวนอาจารย์ประจำ

 ๒.ค่าใช้จ่าย/มูลค่า ของสถาบัน ในการบริการวิชาการเพื่อสังคมต่ออาจารย์ประจำ

 ๓.มีการนำความรู้ และ ประสบการณ์ จากการบริการวิชาการมาใช้ในการพัฒนาการเรียน การสอน และ การวิจัย

 ๔.ประสิทธิผลและประโยชน์ของการให้บริการวิชาการ โดยพิจารณาจาก

  ๔.๑ การมีบทบาทที่แสดงถึงความรับผิดชอบทางวิการ และ วิชาชีพ ต่อสาธารณะ การเป็นที่พึ่งทางวิชาการ การเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสม ต่อ สังคม ชุมชน และ ประเทศ

  ๔.๒ การคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมของ หลักสูตร และ บริการที่จัดขึ้น

  ๔.๓ มีงานบริการวิชาการที่ใช้องค์ความรู้จากการพัฒนาหลักสูตรและ การเรียนการสอนและ/ หรือ งานวิจัยที่สอดคล้องกับ บริบทของ ชุมชน และ สังคม

  ๔.๔ ผลของการบริการวิชาการ ต่อ การพัฒนา "สังคมแห่งการเรียนรู้" รวมทั้งความมั่นคง และ ความ เข้มแข็งของ สังคม ชุมชน ประเทศชาติ และ นานาชาติ

 ๕.การเป็นแหล่งให้บริการวิชาการที่ได้การยอมรับในระดับชาติ หรือ ระดับนานาชาติ

 ๖.รายรับของสถาบันในการให้บริการวิชาการในนามสถาบัน ต่อ อาจารย์ประจำ





พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท