"นโยบายรัฐกับการจัดการความรู้ของชาวบ้าน"


"ปลูกป่าเห็ด.....ปลูกเห็ดป่า"

                   หลังจากได้เรียนรู้จากทฤษฎี คนชายขอบ กับอาจารย์กนกวรรณ  โดยเฉพาะ เรื่องเกี่ยวกับการเข้าถึงทรัพยากรของชุมชน  ปกติแล้วป่ากับชุมชนกับชาวบ้าน อยู่ด้วยกันได้ด้วยการพึ่งพากัน  ชาวบ้านได้ใช้สอยจากของจากป่า เหมือนที่พ่อบุญเต็ม  ชัยลา  ปราชญ์ชาวบ้านได้พูดไว้ว่า ป่าเป็นห้างสรรพสินค้าของชุมชน และชุมชนก็ช่วยกันรักษาป่า  เพราะเขาเห็นประโยชน์ของป่า  มีป่าเขาก็มีทุกอย่าง

                          ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ(ชาวบ้าน)  การปลูกป่าเห็ด ปลูกเห็ดป่า มีชาวบ้านมาร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากทั่วประเทศ  โดยเฉพาะภาคอีสาน  ส่วนมากเป็นกลุ่มเกษตรกร ที่เพาะเห็ดเป็นอาชีพ กลุ่มเพาะเห็ดในชุมชน   กลุ่มนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย กลุ่มนักจัดรายการวิทยุชุมชน      สิ่งที่ได้เห็นจากการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สิ่งแรกที่ปรากฏเห็น คือความตั้งใจของชาวบ้านพยายามจะแก้ปัญหาของตัวเองผ่านการเรียนรู้ประสบการณ์ของคนในกลุ่ม ทั้งที่เป็นชาวบ้านด้วยกัน  นักวิชาการ โดยเฉพาะ นักวิชาการชาวบ้านมีปัญหาของการสื่อสารกันเช่นการใช้ไมคอไรซ่า ในการสร้างเห็ดและช่วยไห้ต้นพืชเจริญงอกงามดี   ขั้นตอนการสร้างเชื้อ การเก็บ การนำไปใช้ ชาวบ้าน  งง...  แต่พอชาวบ้านด้วยกันนำเสนอ การทำป่าเห็ด การทำเห็ดป่า  โดยการเอาเห็ดแก่ๆ  มาบดละเอียดผสมน้ำ ราดลงบนพื้นรอบๆโคนต้นไม้หรือที่มีรากไม้(ก่อนราดเชื้อใช้ปุ๋ยคอกโรยก่อน)แล้วเอาฟางคลุม  ชาวบ้านมีความสนใจและซักถามมาก มีการแลกเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์กัน เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและปัญหาซึ่งกันและกัน   มีบางคนบอกว่า กลับไปนี้ผมจะลงมือทำเลย..ผมไม่กลัวเพราะมีเครือข่ายที่จะให้คำปรึกษามากมาย                       เห็ดอยู่กับป่าอยู่กับชาวบ้านมานานเป็นอาหารที่ดีราคาถูก แต่เมื่อป่าไม้ถูกกันออกไปจากชุมชน ไปเป็นของกรมป่าไม้อย่างเด็ดขาด ชาวบ้านไม่มีสิทธิพึ่งป่าได้  ป่าไม่ใช่ของพวกเขาอีกแล้วความร่วมมือ ในการรักษาป่าของชาวบ้านก็ไม่มี ป่าชุมชนก็ไม่มี  กลายเป็นป่าของคนอื่นนโยบายของรัฐที่ต้องการรักษาพื้นป่าไห้ได้ร้อยละ  50 เปอร์เซ็นต์    ของพื้นที่ทั้งหมด      ในแผนที่ 1   แต่พื้นที่ป่าได้ลดลงเหลือ 25 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2540 ทั้งๆที่มีโครงการปลูกป่าของรัฐมากมาย  ชาวบ้านจึงต้องหันมาปลูกป่าเอง เพื่อเลี้ยงตัวเองเห็ดป่าก็ต้อง สร้างเองชาวบ้านคงจะต้อง อาศัยเครือข่ายชาวบ้านเองและนักวิชาการระดับรากหญ้าที่พอเป็นที่พึ่งของชาวบ้าน..ครับ                                                  
หมายเลขบันทึก: 47386เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2006 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท