จัดการความรู้เพื่อความพอเพียง


การจัดการความรู้มีอยู่ในวิถีชีวิต แต่จะยากตรงเครื่องมือที่จะนำมาจัดการให้เกิดความสำเร็จ

                วิธีการจัดการความรู้ของชุมชนที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นอีกโจทย์หนึ่งที่สนใจอยากทำวิจัย ทั้งนี้เพราะทุกชุมชนต่างมีวิธีการจัดการความรู้ที่หลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองภายใต้เงื่อนไขและบริบทที่แตกต่างกัน การเรียนรู้ในรูปแบบและวิธีการจัดการความรู้ที่หลากหลายจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการนำความรู้ไปปรับใช้เพื่อพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น

                ปัจจุบันแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกำลังเป็นกระแสที่มาแรงในเชิงนโยบายของรัฐเพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชน แต่การที่จะนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้และเกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนนั้นอาจเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร ถ้าหากประชาชนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องหรือแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้นไม่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมของชุมชนที่มีอยู่ก่อน หรือเศรษฐกิจพอเพียงอาจจะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าหากชุมชนนั้นเป็นเพียงชุมชนแห่งการรับรู้ไม่ใช่ชุมชนแห่งการเรียนรู้

               ดังนั้นการค้นหาวิธีการการจัดการความรู้ของชุมชนที่สามารถทำให้ชุมชนมีความพอเพียงได้นั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อได้ความรู้เหล่านี้มาเราจะนำความรู้ไปใช้กับชุมชนอื่นให้มีความพอเพียงได้ถ้าหากบริบทต่างๆของชุมชนมีความใกล้เคียงกัน

              

                

หมายเลขบันทึก: 47382เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2006 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ผมขับรถไปร่วมประชุมกับปราชญ์ชาวบ้าน ที่ขอนแก่นทุกเดือนเป็นเวลา มากกว่า 5 ปี ผมเห็นแต่ เมืองพล ยังไม่เห็นเมืองพอเลยครับ คำว่าพอเพียง มีคำอยู่ 2 คำ คือคำว่า "พอ" และคำว่า"เพียง" ยังไม่มีใครทำได้สักคนเลยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท