นักบริหารของพระพุทธเจ้า


นักบริหารของพระพุทธเจ้า

นักบริหาร....ของพระพุทธเจ้า โดยสุชาติ เทพเรือง

               จากข่าวสารทางหนังสือพิมพ์  ข่าวทางโทรทัศน์  อินเตอร์เน็ต    ที่รายงานให้ได้รับรู้กันทุกวันเรื่องปัญหาเศรษฐกิจการเงินของประเทศในแถบยุโรป....โดยเฉพาะกรีซ ที่มีปัญหาจนกลายเป็นประเทศที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว......มีหนี้สาธารณะสูงถึง 161 เปอร์เซ็นของ GDP ซึ่งหมายความว่า ประชนชนในประเทศต้องมีภาระหนี้สินร่วมกัน ถึง 161  เปอร์เซ็น ของเงินที่หาได้มา เช่น หามาได้100 บาท แต่เป็นหนึ่งอยู่ 161 บาท มันจะเจริญได้อย่างไรละครับ ........ และที่น่ากลัวปัญหาดังกล่าวยังลุกลามต่อไปถึง โปรตุเกส  ไอร์แลนด์  อิตาลี   สเปน  และประเทศอื่น ๆ ในแถบนั้นอีกหลายประเทศ.....และยังได้เห็นข่าวเรื่องการประท้วงของคนกรีซ....เพื่อไม่ให้รัฐบาลรัดเข็มขัด หรือลดค่าใช้จ่ายลงในด้านสวัสดิการ...เงินเดือน ....รายจ่ายด้านต่าง ๆ แล้วทำให้คิดไปถึงเหตุว่าเป็นเพราะอะไร....ที่ทำให้ผลมันเป็นไปได้ถึงเพียงนี้.............และทีเห็นอยู่ในปัจจุบัน.....การแก้ปัญหาต่าง ๆ ก็จะใช้วิธีการแก้แบบไม่มองเหตุเท่าที่ควร.......เอากันเฉพาะหน้ามากกว่า ซึ่งส่วนหนึ่งก็ถูกต้อง ...แต่ระยะยาวควรมาแสวงหาเหตุปัจจัยกันมากขึ้น เพื่อจะได้แก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน

               ผมได้เรียนรู้สิ่งต่าง  ๆ จากนักปราชญ์  นักปรัชญา ....ทีเกิดขึ้นในประเทศนี้หลายท่านมาก......ไม่ว่าพลาโต  ,อริสโตเติล, โสเครติส...และอีกมาก.... นักปรัชญาเหล่านี้สอนเรื่องการเมือง  เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม......แต่ผลที่เกิดขึ้นกับประเทศแถบนี้กลับกลายเป็นประเทศที่เหมือนล้มละลาย...........ทำให้ต้องมานั่งคิดว่า แท้จริงแล้ว....นักปรัชญาเหล่านี้สอนถูก...หรือสอนผิด........หรือคนที่นำมาปฏิบัติ นำมาปฏิบัติหรือไม่   .....หรือนำมาปฏิบัติแล้ว  ...ปฏิบัติผิดทาง  ผิดเจตจำนงของอาจารย์หรือเมธีเหล่านั้น .....มันก็น่าสงสัยอยู่  ....หรือว่าจะเป็นคนละยุคสมัยกัน......สมัยหนึ่งปฏิบัติ แล้วดี....แต่อีกสมัยหนึ่งทำให้ล่มสลายได้

               แล้วบ้านเราก็ยังชอบส่งลูก...ส่งหลานไปร่ำเรียนวีธีการบริหาร...วิธีการจัดการ ทั้งด้านการศึกษา...ด้านธุรกิจ...ด้านการเมือง ...ด้านการปกครอง...และอะไรมากมาย   ...สุดท้ายก็ขอให้ต่อท้ายว่า  “จบนอก”ก็ถือว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง   มีการยอมนับถือกันในสังคม  .....    มันยังเป็นสิ่งที่ควรทำกันอยู่หรือเปล่า.......

               คราวนี้มาดูว่า...... ถ้าไม่ศึกษาหลักการเหล่านั้นแล้ว ...เราจะศึกษาอะไร   ...กลับพบว่าในพระไตรปิฎก...มีคำตอบมากมายให้คลายสงสัยมากมายหลายคำถาม 

               เบื้องต้นมาดูว่าด้านการบริหาร  โดยเฉพาะตัวนักบริหาร พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ว่าอย่างไร  

               พระพุทธเจ้าสอนไว้ใน พระไตรปิฎกว่า คุณสมบัติของนักบริหารดี และทำงานแล้วประสบความสำเร็จทั้งส่วนตน และส่วนรวม  ต้องมีคุณสมบัติ    3   ประการ  ดังนี้

             สิ่งที่นักบริหารต้องมีคือ 1.    จักขุมา   นั่นคือ ต้องมี วิสัยทัศน์ มีนัยส์ตาดี หมายถึงมีสายตาที่ยาวไกลมองการณ์ไกล  ถึงสิ่งที่จะทำ ว่าสิ่งที่ทำนี้มีผลเป็นอย่างไรในอนาคต   มีความเป็นไปได้แค่ไหน  มีความเกี่ยวพันธ์กับสิ่งใดบ้าง   มีผลดี ผลไม่ดีกับสังคม  สิ่งแวดล้อม ประเทศชาติอย่างไร   จะแก้ไข ปรับปรุงอย่างไร ถ้าดีอยู่แล้ว จะทำอย่างไรให้ดียิ่งขึ้น  และนำสิ่งทีดี ...ที่ได้จากการทำธุรกิจมาช่วยเหลือจุนเจือสังคม คนรอบข้าง ประเทศชาติ  ในสัดส่วนที่พอเหมาะพอควร     หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ต้องเป็นคนเก่งคิด  คือคิดถูก  คิดดี

           คุณสมบัติข้อที่  2.  คือ วิธูโร หมายถึง  ต้องเป็นนักบริหารจัดการที่ดีและมีความเชี่ยวชาญในงานที่ทำ ต้องรู้เรื่องงานที่บริหารเป็นอย่างดี  ทั้งด้านสั่งการ  ด้านควบคุม  รายละเอียดของการปฏิบัติ ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้ปฏิบัติเองก็ตาม    และ ที่สำคัญต้องเป็นคนที่มีธรรมาภิบาลในหัวใจ  นั่นคือยึดถือระบบและความถูกต้องเป็นหลัก   อาจโอนอ่อนตามหลักการได้และต้องไม่ยืดหยุ่นตามใจตนเอง.......หรือพวกพ้อง ต้องซื่อสัตย์  สุจริตต่อหน้าที่.....และบทบาท   หรือเรียกให้เข้าใจง่ายว่า เป็นคน   เก่งทำ   คือทำถูก   ทำดี

           คุณสมบัติที่สำคัญอีกประการหนึ่งของนักบริหารนั่นคือ  ข้อที่  3. นิสสยสัมปันโน  นั่นคือ    ต้องเป็นคนที่มีอุปนิสสัยดี มีกัลยาณมิตรมากมาย   นั่นหรือก็คือมีเพื่อนที่ดี   มีนายดึง   ลูกน้องดัน  ลูกค้าสนับสนุน คู่ค้าให้ความเชื่อถือ คู่แข่งให้เกียรติ  การเป็นนักบริหารที่ดีได้ครบเครื่องเรื่องคน

               หลักการคือทำให้ทุกคนที่สัมพันธ์หรือติดต่อด้วยเป็นเสมือนญาติมิตร หรือผู้มีพระคุณ

ซึ่งอาจจะจากทั้งข้างบน    นั่นคือลูกค้า......เจ้านาย........หน่วยงานราชการต่างที่ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามระเบียบกติกาสังคม.......เพื่อนระดับเดียวกัน....คือเพื่อนร่วมงานทั้งในและนอกองค์กร  .....สร้างคู่ค้า  แทนคู่แข่ง....สร้างตลาดร่วมกัน...แทนการแข่งขันตัดราคา........เพื่อนระดับล่าง  นั่นคือลูกน้อง...พนักงาน  ต้องมีความเมตา   กรุณา  มุติตา    อุเบกขาในบางเรื่อง .....และรู้จักให้อภัยในบางคราว    นอกจากนี้การเป็นผู้มีเพื่อนมาก   มีคนคอยช่วยเหลือ ชี้แนะ  ทุกระดับ  จะเป็นสิ่งล้ำค่ามหาศาลต่อการทำกิจการงานทุกอย่างให้สำเร็จลุล่วง  ในปัจจุบันนี้เขาเรียกว่า  การมี คอนเน็คชั่นดี.....หรือพูดให้เข้าใจง่ายนั่นก็คือ  เก่งคน.....นั่นเอง

                 แค่ 3 ข้อเท่านั้นสำหรับคุณสมบัตินักบริหารที่พระพุทธเจ้ากำหนดไว้ ถ้าใครที่เป็นนักบริหารที่มีคุณสมบัติครบตามนี้  รับรองว่าจะเป็นนักบริหารที่ทั้งเก่ง ทั้งดี มีคุณธรรม  ครบเครื่อง นำพาองค์กร  สังคม  ประเทศชาติ ไปสู่เป้าหมายที่ดี  ที่ยั่งยืน  และปลอดภัยอย่างแน่นอน......

คำสำคัญ (Tags): #นักบริหาร
หมายเลขบันทึก: 473763เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2012 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดีน่ะ!!!เผยแพร่ที่โรงเรียนด้วย

ข้อมูลนี้ก็เป็นอีกมุมหนึ่งที่เหมาะสมกับเพื่อนๆ นักบริหารในอนาคตที่จะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารได้เป็นอย่างดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท