"อุ้มบุญ" ศีลธรรม VS วิทยาศาสตร์ VS กฎหมาย"


"ริกกี้ มาร์ติน"แฮปปี้ชีวิตพ่อเล็งหาสาวมาอุ้มบุญลูกเพิ่ม”

ริก กี้ มาร์ติน นักร้องหนุ่มเปอร์โตริโก้ วางแผนจะหาสาวมาช่วยอุ้มบุญลูกสาวให้ในช่วงปลายปีนี้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีลูกชายฝาแฝดด้วยวิธีการเดียวกันมาแล้ว

มาร์ติ นโด่งดังจากเพลง “Maria”, “Livin’ La Vida Loca” และ “She Bangs” โดยมียอดขายผลงานกว่า 50 ล้านก๊อปปี้ทั่วโลก แต่ด้วยท่าเต้นและบุคคลิกส่วนตัว ทำให้ถูกตั้งคำถามเรื่องรสนิยมทางเพศมาโดยตลอด จนกระทั่งในปี 2010 มาร์ตินได้ประกาศตัวว่าเป็นเกย์ผ่านเว็บไซต์ของตัวเองและขณะนี้ได้เป็นพ่อ ของลูกแฝดเพศชายที่แสนน่ารัก 2 คน  ซึ่งเกิดจากการให้หญิงสาวมาช่วยอุ้มท้องให้ ล่าสุด นักร้องหนุ่มยอมรับว่ามีความสุขกับการเป็นพ่อคนและเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง จึงมีความคิดจะมีลูกสาวด้วยการอุ้มบุญในช่วงปลายปีนี้ "ผมคิดว่าจะลองมีลูกสาวในช่วงปลายปี เพราะพวกเด็กๆจะได้มีอายุไม่ต่างกันมากเกินไป แต่เอาไว้ค่อยว่ากันอีกที เพราะยังไงมันก็เป็นไปไม่ได้ที่จะมีในตอนนี้"

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1325830289&grpid=&catid=08&subcatid=0807

 

เห็นข่าวดังกล่าวแล้ว...จึงขอนำประเด็นกฎหมายมา KM กันหน่วยครับ...กรณีนี้ที่ต่างประเทศในหลายๆประเทศเขายอมรับการ "อุ่มบุญ” แต่กฎหมายของไทยปัจจุบัน ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ครับ...

  1. ยังมองว่าการอุ้มบุญขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน...(จริงๆก็มีการทำกันอยู่ใน หมู่ญาติพี่น้อง..เพราะสุขาพของแม่)..แน่นอนว่าถ้าทำเพื่อหวังค่าตอบแทนคง ขัดกับศีลธรรมอันดีของประชาชนและสัญญาจ้างอุ้มบุญก็ตกเป็นโมฆะตามหลัก ป.พ.พ.มาตรา 149 ...
  2. มีปัญหาด้านกฎหมายเกี่ยวกับสถานะความเป็นบิดา มารดาและบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายครับ..เพราะ ป.พ.พ.มตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น” ดังนั้น ถ้า นาย ก. สมรสกับนาง ข. แล้วไม่สามามารถตั้งครรภ์ได้เพราะสุขภาพของนาง ข. ต่อมา ก.และ ข. ได้ปรึกษาแพทย์และทำการผสมเทียม(อสุจิของ ก. และ ไข่ของ ข.) และทำการฝังตัวอ่อนไปในผนังมดลูกของ ค. ซึ่งเป็นพี่สาวของ ก. เช่นนี้ เมื่อ เด็กคลอดออกมา ตามกฎหมายไทยยย่อมถือเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ค. ครับ...ในทางปฏิบัติก็ใช้การรับบุตรบุญธรรมได้...แต่ก็คงดูแปลกๆ เพราะจริงๆก็ต้องบอกว่าเด็กที่คลอดออกมาเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของ ก+ข จริงไหมครับ...

 

ปัจจุบันประเทศไทยได้ร่างกฎหมายฉบับหนึ่งขึ้นมาครับ...

(ร่าง)พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ....

ผมคัดมาบางส่วนครับ

หมวด ๓ การตั้งครรภ์แทน

มาตรา ๒๑ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๘ การดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(๑) สามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งภริยาไม่อาจตั้งครรภ์ได้ที่ประสงค์จะมี บุตรโดยให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน ต้องมีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจที่จะเป็นบิดามารดาของเด็ก

(๒) หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนต้องมิใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานของสามีหรือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายตาม (๑) และ

(๓) หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนต้องเป็นหญิงที่เคยมีบุตรมาก่อนแล้วเท่านั้นถ้าหญิงนั้นมีสามีจะต้องได้รับความยินยอมจากสามีด้วย

แพทยสภาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาจประกาศกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร

มาตรา ๒๒ การดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนตามพระราชบัญญัตินี้ให้กระทำได้สองวิธี ดังต่อไปนี้

(๑) ใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิและไข่ของสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทน

(๒) ใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิหรือไข่ของสามีหรือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทนกับอสุจิหรือไข่ของผู้อื่น ทั้งนี้ ห้ามใช้ไข่ของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน

มาตรา ๒๓ ห้ามดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้า

มาตรา ๒๔ ให้แพทยสภาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสุขภาพของหญิงที่รับตั้ง ครรภ์แทนในขณะตั้งครรภ์ การคลอดและหลังคลอด

มาตรา ๒๕ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการเป็นคนกลางหรือนายหน้า โดยเรียกรับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อเป็นการตอบแทนในการจัดการหรือชี้ช่องให้มีการรับตั้งครรภ์แทน

มาตรา ๒๖ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือไขข่าวให้แพร่หลายด้วยประการใด ๆ ว่ามีหญิงที่ประสงค์จะเป็นผู้รับตั้งครรภ์แทนผู้อื่น หรือมีบุคคลที่ประสงค์จะให้หญิงอื่นเป็นผู้รับตั้งครรภ์แทน ไม่ว่าจะได้กระทำเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือไม่ก็ตาม

หมวด ๔

ความเป็นบิดาและมารดาของเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์

มาตรา ๒๗ เด็กที่เกิดจากอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อนของผู้บริจาค แล้วแต่กรณีโดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ตามพระราชบัญญัติ นี้ ไม่ว่าจะกระทำโดยการให้ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของสามีซึ่งประสงค์จะมีบุตร เป็นผู้ตั้งครรภ์ หรือให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนให้เด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีและ ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งประสงค์จะมีบุตรแม้ว่าสามีหรือภริยาที่ชอบด้วย กฎหมายซึ่งประสงค์จะมีบุตรถึงแก่ความตายก่อนเด็กเกิดชายหรือหญิงที่บริจาค อสุจิหรือไข่ซึ่งนำมาใช้ปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนเพื่อการตั้งครรภ์หรือผู้บริจาค ตัวอ่อน และเด็กที่เกิดจากอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อนที่บริจาคดังกล่าว ไม่มีสิทธิและหน้าที่ระหว่างกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบ ครัวและมรดก

มาตรา ๒๘ ในกรณีที่สามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์ให้มีการตั้งครรภ์แทนถึง แก่ความตายก่อนเด็กเกิด ให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนเป็นผู้ปกครองเด็กนั้นจนกว่าจะมีการตั้งผู้ปกครอง ขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทน พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ปกครองได้ และในการตั้งผู้ปกครองดังกล่าวให้ศาลคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของเด็ก นั้นเป็นสำคัญ

มาตรา ๒๙ ให้นำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัวและมรดกมาใช้ บังคับโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ นี้

 

ดูฉบับเต็มครับ

http://web.krisdika.go.th/data/news/news10866.pdf

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/780/952/original_news10866.pdf?1325862542

.................................................................

อุดม งามเมืองสกุล

6 มกราคม 2555

หมายเลขบันทึก: 473647เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2012 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท