ความประทับใจครั้งแรกในการทำงานควบคุมป้องกันมะเร็งปากมดลูก


อาจารย์จะเน้นเรื่องทีมเสมอ ให้เห็นความสำคัญของเพื่อนร่วมงานทุกคน เน้นให้คิดแบบ positive thinking

  ขอย้อนความหลัง ปี 2547 เมื่อฉันเริ่มมาทำงานส่งเสริมสุขภาพเป็นครั้งแรก งานที่ได้รับมอบหมายคือ การควบคุมป้องกันมะเร็งปากมดลูกในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก ซึ่งมีศูนย์สุขภาพชุมชนที่ต้องรับผิดชอบ 25 แห่ง สตรีอายุ 35-60 ปี จำนวนกว่าสามหมื่นคน สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 40 45 50 55 60 ปี จำนวนเจ็ดห้าพันคน

  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก(pap smear)อย่างน้อยร้อยละ 40 และผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติหรือผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างครบวงจรทุกราย

  เป็นงานที่ยากมาก ๆ ในตอนนั้น เพราะ ฉันรู้จักโรคมะเร็งปากมดลูกและการดูแลรักษาตลอดจนการติดตามเยี่ยมบ้านไม่มากพอ การตรวจ pap smear ก็ไม่แน่ใจว่าทำได้

ขั้นตอนแรกที่ทำ คือ หาความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก และทักษะให้ตัวเองก่อน

ขั้นตอนที่สองคือ เขียนโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกลงสู่ ศสช. ทั้ง 25 แห่ง

และผู้ที่ให้คำปรึกษา ชี้แจงแนวทาง และเป็นพี่เลี้ยง จนเป็นที่มาของงานวิจัยการพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบเชิงรุกในศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่ายโรงพยาบาลพุทธชินราช (Action Research) คือ อาจารย์นายแพทย์วิโรจน์  วรรณภิระ (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน ครอบครัวและอาชีวเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร)

ตอนนั้น อ.นพ.วิโรจน์ เป็นสูตินรีแพทย์ ที่ย้ายมาอยู่กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว และมีหัวใจเป็นเวชศาสตร์ครอบครัวจริง ๆ อาจารย์มีแนวคิดว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่มีความรุนแรงมากโดยเฉพาะถ้าพบในระยะลุกลาม และสตรีทุกคนควรมีความรู้ และควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นการคัดกรองเบื้องต้นที่ไม่มีความซับซ้อน เพียงแต่รู้ขั้นตอนที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยก็สามารถตรวจได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นพยาบาลเพียงอย่างเดียว และพัฒนาต่อมาเป็นการให้ความรู้ และฝึกทักษะการตรวจแบบเชิงรุก

ทำให้ดู แล้วให้ลองฝึกทำ ถ้าไม่แน่ใจให้ถามได้ หรือเมื่อตรวจเองแล้วพบว่ามีอาการผิดปกติให้โทรศัพท์ถามอาจารย์ได้โดยตรง หรือส่งต่อเข้ามาในโรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่ตามเข้ามาดูการตรวจรกษาของแพทย์ได้

การให้ความรู้แบบเชิงรุกในศสช. แบบเพื่อนร่วมอาชีพและให้สามารถนำไปปฏิบัติได้

รูปแบบการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งพัฒนาต่อมาเป็นต้นแบบการให้ความรู้(good model)

อาจารย์จะเน้นเรื่องทีมเสมอ ให้เห็นความสำคัญของเพื่อนร่วมงานทุกคน เน้นให้คิดแบบ positive thinking

  สำหรับงานวิจัย จากเรื่องแรก ที่อ้อยได้รับรางวัลการนำเสนอด้วยวาจายอดเยี่ยม ในงานมหกรรมศูนย์สุขภาพชุมชนครั้งที่ 1 ทำให้เกิดกำลังใจในการทำวิจัยในเรื่องต่อมา

อยากบอกอาจารย์ว่า ระลึกถึงคำสอนของอาจารย์เสมอ ขอขอบพระคุณอาจารย์มากที่สุด และมีอะไรที่สามารถรับใช้อาจารย์ได้ จะยินดีเป็นที่สุดค่ะ

หมายเลขบันทึก: 47336เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2006 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
ถ้าวิโรจน์ได้อ่านบันทึกนี้คงจะชื่นใจที่น้องๆ สานต่องานได้เป็นอย่างดี  เราว่าดีนะ ที่อ้อยไม่ลืมสิ่งที่วิโรจน์พยายามจะบอก ขอให้ตั้งใจทำต่อไปนะ

          ยินดีด้วยกับน้องอ้อย "ผลงานที่ดีย่อมปรากฏเด่นชัด"  แล้วจะรบกวนขอคำแนะนำที่ดีๆจากอ้อย  เป็นกำลังใจให้เสมอ

           

                                                                                             

  ดีใจกับอ้อยมากจริงๆ ที่อ้อยได้ค้นพบตัวเองและสิ่งที่ตัวเองชอบจนทำให้ผลงานปรากฏเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ทำต่อนะน้อง ขอเป็นกำลังใจจ๊ะ
คุณสุนันทา ค่ะ ขอชื่นชมการทำงานและเป็นกำลังใจ พบคำแนะนำที่ blog commmunity nurse light ที่ดิฉันได้เขียนเรื่องมะเร็งปากมดลูกไว้ยินดีจริงๆนะคะที่ได้แลกเปลี่ยน ผลการทำงานที่ออกมาก็นะค่ะน้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งแต่ก็มากกว่าที่ไม่ได้ออกไปค่ะ

ขอบคุณค่ะพี่โต้งในกำลังที่ให้เสมอมา

 ขอบคุณค่ะพี่นู๋ทิม กับกำลังใจและความห่วงใย

ขอบคุณมากค่ะคุณ big c 

 ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนและเป็นกำลังใจให้คนที่ทำงานเหมือนกัน งานมะเร็งปากมดลูกเป็นงานที่ยากมากค่ะ แม้ไม่ถึงเป้าหมาย แต่ก็ก้าวหน้ากว่าปีที่ผ่านมาไม่ใช่เหรอ สู้ สู้  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท