ชุมชนแนวปฏิบัติเรื่องผึ้ง


การเขียนโครงการแบบนี้เป็นของยาก เพราะว่าผู้เสนอขอทุนต้องมีความรู้อย่างน้อย 2 เรื่อง คือ เรื่อง KM และการเขียนบล็อก

เมื่อวันที่ 26 กันยายน ผมเขียนโครงการจัดตั้ง "ชุมชนแนวปฏิบัติเรื่องผึ้ง" เสร็จภายใน 5 ชั่วโมง ตามประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง การให้ทุนอุดหนุนเพื่อจัดตั้งชุมชนแนวปฏิบัติ ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2548  ส่งให้กับหน่วยประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งจากการสอบถามกับเจ้าหน้าที่คุณเพ็ญนภา บอกว่าโครงการนี้เป็นโครงการแรกที่ส่งมา จะเห็นว่านับตั้งแต่ประกาศมา 3 เดือนกว่า ยังไม่มีผู้ส่งโครงการ เพราะการเขียนโครงการแบบนี้เป็นของยาก เพราะว่าผู้เสนอขอทุนต้องมีความรู้อย่างน้อย 2 เรื่อง คือ เรื่อง KM และการเขียนบล็อก

ผมมีการเตรียมการล่วงหน้าครับ คือผมได้ทราบข้อมูลจากท่านดร.วิบูลย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพว่าจะมีโครงการแบบนี้ เมื่อตอนออกหน่วยเคลื่อนที่ของมหาวิทยาลัย ในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมิถุนายน 2548 หลังประกาศไม่เกิน 1 สัปดาห์ ตอนนั้นผมมีความรู้เรื่อง KM ลาง ๆ ครับ แต่งานที่ผมทำอยู่คือเรื่องการเป็นที่ปรึกษากล่มผู้เลี้ยงผึ้งภาคเหนือต่อนล่าง และช่วยดำเนินการในหลายเรื่อง เป็นการนำความรู้เรื่องผึ้งลงสู่ภาคปฏิบัติอยู่แล้ว (ตามที่อาจารย์วิบุลย์วิเคราะห์) และผมได้ลงพื้นที่ในจังหวัดพิจิตรด้วย ซึ่งเป็นพื้นที่เดียวกับที่ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ ได้ลงชุมชนที่นั่นด้วย (หนึ่งในหลายพื้นที่) ผมอาศัยเรียนรู้ทฤษฎี KM กับท่านอาจารย์วิบูลย์ไปพร้อมๆ กับการปฏิบัติ สิ่งที่ผมต้องเรียนรู้เพิ่มคือการเขียนบล็อก ซึ่งผมก็เข้ารับการอบรมและเริ่มทำได้ ในเดือนถัดมา ความจริงการเขียนบล็อกก็ไม่ใช้เรื่องง่ายนัก คนที่เขียนได้ต้องเป็นนักเล่าเรื่อง สามารถนำสิ่งที่เกิดในชีวิตประจำวันมาเล่าได้ เคยมีอาจารย์ท่านหนึ่งบอกผมว่า "พี่ไปอบรมเรื่องบล็อกมาและเปิดบล็อกไว้แล้วแต่ไม่รู้จะเขียนอะไร" ความจริงอาจารย์ท่านนี้ ท่านเป็นนักบริหาร ซึ่งควรจะมีเรื่องเล่ามากมาย แต่ท่านเล่าไม่ได้เพราะท่านไม่ได้ฝึกมาทางด้านนี้

กลับมาเล่าเรื่องการเสนอโครงการฯต่อ ผมไปส่งเอกสารโครงการ เย็นวันจันทร์ที่ 26 พอเช้าวันอังคารที่ 27 กันยายน ท่านอาจารย์วิบุลย์โทรมาหาผม ในเชิงถามว่าจะทำไหวไหมเพราะผมเคยบ่นว่ามีงานมาก ผมก็บอกว่าไหว แกเลยดำเนินการต่อให้ผมส่ง File โครงการไปให้คุณเจนจิราและตอนเช้าของวันที่ 28 กันยายน อาจารย์วิบูลย์ก็นำโครงการของผมลงบล็อก NUKM และจัดการส่ง File ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ Comment ซึ่งภายในวันที่ 29 กันยายน ก็มีผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน Comment มา และผมอยากตอบในบล็อกของผมในบันทึกหน้าถัดไปครับ

ยังไม่จบครับ ส่วนหนึ่งที่ทำให้การเขียนโครงการแบบนี้ยากคือ ตัวประกาศเองครับ มีส่วนที่ยากในการปฏิบัติอยุ่ 2 เรื่อง คือ 1. เรื่องต้องเขียนในลักษณะโครงการจัดตั้งชุมชนพร้อมๆ กับการเขียนขอทุนว่าจะเอาไปทำอะไร (อาจมองดูว่าเหมือนการขอทุนวิจัย) คือแผนการดำเนินกิจกรรมนั่นเองความจริงถ้าตั้งชุมชนเสร็จ ขอทุนดำเนินการ ทำกิจกรรม รายงานผล และปิดชุมชน อย่างนี้จะเขียนง่ายครับ แต่ถ้าชุมชนนั้นทำงานเสร็จตามวัตถุประสงค์แล้ว แต่ถ้ายังไม่ปิดชุมชนจะขอทุนใหม่ทำอย่างไร (ในทางปฏิบัติ)

2. ถ้าจะขอทุนใหม่ ต้องเขียนในลักษณะโครงการจัดตั้งไปใหม่ หรือเขียนเฉพาะโครงการที่จะดำเนินงาน ผมอ่านระเบียบปฏิบัติแล้วมีความเห็นว่า ในทางปฏิบัติต้องคัดลอกส่วนที่เป็นตัวโครงการจัดตั้งไปใหม่ (อาจมีการแก้ไขให้ Update) แล้วแนบแผนการดำเนินงานโครงการย่อยเพื่อขอทุนแต่ละครั้งครับ (นี่คือส่วนที่เป็นความซ้ำซ้อนครับ)

หมายเลขบันทึก: 4733เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2005 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท