ความสำคัญของกฏหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล


นิติสัมพนธ์ของเอกชนที่มีลักษณะระหว่างประเทศ เป็นหัวข้อหนึ่งทีสำคัญในกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและมีความสำคัญในการช่วยให้การก่อนิติสัมพันธ์ในทางระหว่างประเทศ

   ในยุคโลกกาภวัฒน์ที่ทำให้สังคมของมนุษย์ในโลกนี้แคบลง ทำให้คนไทยและคนต่างด้าวสามารถติดต่อมีนิติสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ ได้มากขึ้น ทั้งนี้สามารถเห็นได้จากการที่รัฐที่อยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ได้มีการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศกันมากขึ้นทั้งในแบบพหุภาคี ที่สำคัญได้แก่การจัดทำข้อตกลงและจัดตั้งองค์การการค้าโลกหรือ WTO ซึ่งปัจจุบันุถือเป็นองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญในการช่วยผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ลดการกีกกันทางการค้าระหว่างกัน ส่วนในระดับภูมิภาคก็ได้แก่ การจัดตั้งสหภาพยุโรป   การจัดทำข้อตกลงอาฟต้า เป็นต้น  ส่วนในระดับทวิภาคีนั้น ที่เป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ก็คือ  การจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี หรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า FTA  นั่นเอง นอกจากนั้นปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้านของไทย ยังส่งกระทบให้เกิดการอพยบหรือการลอกลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของคนเป็นจำนวนนับล้าน ๆ คน อีกด้วย

ผลจากข้อตกลงและเหตุการณ์ดังกล่าวเหล่านั้นส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายของทุนและคนจากประเทศหนึ่งมายังอีกประเทศหนึ่ง  ซึ่งกฎหมายที่ประเทศไทยมีอยู่ในการควบคุมดูแลในส่วนนี้ก็มีหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว  พ.ศ 2542 พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ 2521 พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าวกฎหมาย พ.ศ 2493  พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ 2522 ประมวลกฎหมายที่ดิน พ .ศ 2497  พระราชบัญญัติิสัญชาติ พ.ศ 2508 ที่ใช้ในการควบคุมดูในส่วนนี้  และกฎหมายที่มีความสำคัญอีกฉบับก็คือกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล  ซึ่งในประเทศไทยนั้นได้มีการตรากฎหมายฉบับนี้ขึ้นเรียกว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ 2481หรือที่เรียกกันติดปากว่ากฎหมายขัดกัน

การที่ผู้เขียนได้ทำงานในตำแหน่งที่ปรึษากฎหมายในสำนักกฎหมายที่มีลูกความเป็นคนต่างชาติเป็นจำนวนมาก   ทำให้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและช่วยแก้ไขปัญญหาที่เกิดขึ้นกับชาวต่างชาติเหล่านั้นที่เข้ามาพำนักหรือดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ที่ควาสัมพันธ์ของเขาเหล่านั้นจะเป็นนิติสัมพันธ์ของเอกชนที่มีลักษณะระหว่างประเทศ  ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญเรื่องหนึ่งในกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล  และมีความสำคัญในการช่วยให้การก่อนิติสัมพันธ์ในทางระหว่างประเทศ

กฎหมายฉบับนี้มีหลักในเรื่องจุดเกาะเกี่ยวที่ช่วยให้คนในประเทศไทยที่ทำนิติกรรมกับคนที่อยู่ในต่างประเทศหรอชาวต่างชาติ เช่นในเรื่องสัญญา  สามารถทราบถึงถิ่นที่มีการปฎิบัติตามสัญญาในกรณีที่คู่สัญญาไม่ได้เลือกกฎหมายที่จะใช้บังคับกับสัญญา เช่น ตามมาตรา 13 วรรค 1 ให้ใช้สัญชาติร่วมกันของคู่สัญญาหรือกฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทำขึ้น นอกจากนั้นกฎหมายฉบับนี้ยังได้กำหนดจุดเกาะเกี่ยวในด้านอื่น ๆอีกเช่น  ในเรื่องสถานะและความสามารถของบุคคล จุดเกาะเกี่ยวก็คือสัญชาติของบุคคคลแต่ถ้าหากเป็นคนไร้สัญชาติกฎหมายก็กำหนดให้ใช้หลักในเรื่องภูลำเนา

ในด้านมรดกที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ จุดเกาะเกี่ยวคือภูมิลำเนาของเจ้ามรดกในขณะที่ถึงแก่ความตาย แต่ในส่วนเรื่องของอสังหาริมทรัพย์นั้น  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสามารถในการทำนิติกรรม  ความสัมพันธ์ระหว่างสามีกริยาและมรดก จุดเกาะเกี่ยวคือ ถิ่นที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่

ในเรื่องครอบครัวไม่ว่าจะเป็นเรื่องหมั้นหรือการสมรส จุดเกาะเกี่ยวคือสัญชาติของคู่สมรสแต่ละฝ่าย

ในด้านละเมิดกฎหมายฉบับนี้ ตามมาตรา 15  ได้กำหนดให้ใช้กฎหมายแห่งท้องถิ่นที่การละเมิดนั้นเกิดขึ้นเป็นหลักในการเยี่ยวยาความเสียหาย  ทั้งนี้บทบัญญติตามพระราชบัญญัติการขัดกันของ

กฎหมายดังกล่าวนี้ มิอาจที่จะใช้ได้เลยหากปราศจากกฎหมายสำคัญ ๆ อื่น ๆ ตามที่กล่าวไว้ ข้างต้น  ซึ่งต้องนำมาใช้ประกอบกันจึงจะช่วยให้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างความสัมพันธ์ของเอกชนในลักษณะระหว่างประเทศ นั้นได้รับการเยียวยาอย่างเหมาะสม   นอกจากนี้ ในเวลาที่ต้องมีการนำคำพิพากษาจากต่างประเทศมาใช้บังคับในศาล กฎหมายฉบับนี้ก็มีการหลักในเรื่องการรับรองและการบังคับคำพิพากษาของศาลต่างประเทศอีกด้วย เพื่อช่วยอำนวนความสะดวกให้แก่ผู้ที่ชนะคดีจะได้ไม่ต้องมีภาระในการนำคดีมาฟ้องใหม่ในประเทศ

จากลักษณะของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลดังกล่าว  ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับกฎหมายอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติ  ทำให้กฎหมายฉบับนี้มีความสำคัญกับผู้เขียนที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศเหล่านี้โดยตรง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท