การศึกษากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล


ในปัจจุบันกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลเข้ามามีส่วนในชีวิตประจะวันเรามากขึ้นและใกล้ตัวเรามากขึ้น

กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นหนึงในกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถที่จะแยกออกได้เป็นสองกลุ่มได้แก่ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง และกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล โดยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลนั้นจะใช้บังคับแก่ นิติสัมพันธ์ของเอกชนที่มีลักษณะระหว่างประเทศ โดยในกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลนั้นจะสามารถที่จะจำแนกออกเป็นได้ดังนี้ ได้แก่ กฎหมายสัญชาติ กฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย หลักเกณฑ์การย้อนส่ง เขตอำนาศาลและการบังคับคดี

ในปัจจุบันนี้การสื่อสารและเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้นกว่าในอดีต ทำให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ อาจเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้โดยที่เราไม่รู้ตัว เช่น การซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เนต ซึงในปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมาก โดยทั่วไปแล้วเราก็มักจะเกิดขึ้นระหว่างประเทศหนึ่งกับอีกประเทศหนึ่ง ดังนี้ความสัมพันธ์ลักษณะนี้ก็ถือว่าเป็นความสัมพันธ์ของเอกชนที่มีลักษณะระหว่างประเทศ โดยถ้าเรารู้ว่าเมื่อเกิดปัญหาขึ้นเราจะนำหลักเกณฑ์ใดมาปรับใช้แก่กรณี และอีกส่วนที่เราเห็นอยู่ได้แก่การเคลื่อนย้ายของบุคคลไปมาระหว่างประเทศ ซึ่งในส่วนนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐโดยตรง การที่เราได้เรียนกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลนั้นจะทำให้เราได้ทราบถึงวิธีการจัดการกับเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นคดีต่างๆ และในเรื่องการจัดการบุคคลต่างด้าวต่างๆ

โดยส่วนตัวข้าพเจ้า  คิดว่าความสำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลนั้นจะอยู่ที่กฎหมายว่าด้วยเรื่องสัญชาติ และกฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย ในส่วนกฎหมายว่าด้วยเรื่องสัญชาติ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ว่าด้วยการจัดสรรบุคคลต่างด้าว ที่ทำการกำหนดสิทธิหน้าที่ของคนต่างด้าวที่พึงมีในประเทศไทย โดยในส่วนนี้ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของข้าพเจ้า เนื่องจากการที่ข้าพเจ้ามีคนที่ทำงานบ้านเป็นคนพม่า ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ใกล้ชิดมาก ได้รู้ว่าการที่จำให้บุคคลเหล่านี้อาศัยอยู่ในบ้านทำงานให้เรานั้นต้องมีการของอนุญาตนำบุคคลเหล่านี้ไปขึ้นทะเบียน ส่วนกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลอีกเรื่องที่ข้าพเจ้าคิดว่ามีความสำคัญนั้นได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องกฎหมายสัญชาติ เพราะ กฎหมายขัดกันว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายเป็นกฎหมายที่ทำให้รู้ว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดเข้าไปบังคับกับคดีที่เกิดขึ้น ที่เป็นนิติสัมพันธ์ของเอกชนที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังนั้นกฎหมายขัดกันจึงเปรียบเสมือนกุญแจสำคัญสำหรับคดีที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศของเอกชน ที่จะใช้ในการบอกว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดๆ บังคับแก่คดีที่เกิดขึ้น ซึ่งถ้าไม่มีกฎหมายขัดกันมาเป็นตัวบ่งชี้แล้วนั้น คดีเหล่านี้ก็จะเกิดปัญหาขึ้นมากมายว่าจะเลือกใช้กฎหมายของประเทศใดในการตัดสินคดีที่เกิดขึ้น ดังนั้นในการเรียนกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลข้าพเจ้าจึงเห็นว่ามีความสำคัญยิ่งเนื่องจากถือว่าเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นมากในปัจจุบันที่นิติสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใกล้ตัวบุคคลทุกๆคน

สิ่งที่คาดหวังจากวิชานี้ การได้ศึกษากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลอย่างลึกซึ้งขึ้น และสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างถูกต้อง
หมายเลขบันทึก: 47267เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2006 19:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 10:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากถามในประการแรกว่า คุณธนวรรณให้ความสำคัญกับเรื่องการจัดสรรเอกชนโดยภูมิลำเนาไหมคะ ?

ในประการที่สอง เรื่องของ alien condition ล่ะ มีคุณมีความเห็นว่า สำคัญมากไหมคะ ?

 นาง ก เป็นคนไทย  เกิดที่ไทยมีพ่อ แม่คนไทย ต่อมาแต่งงานกับคนลาว แล้วเข้าศูนย์อพยพคนลาวที่ประเทศไทย

เพื่อจะไปประเทศที่สาม เมกา  แล้วไปเมกา ได้สัญชาติเมกาแล้ว จนกระทั่งบัดนี้ นาง ก คนนี้ยังมีบัตรประชาชนคนไทยอยุ่ ทำได้หรือไม่ กฎหมายให้ทำได้ถูกต้องหรือไม่  หรือลักไก่ เป็นคนไทย(เถื่อน ๆ ) การรับมรดก ของนาง ก จะต้องรับมรดก ในฐานะ เป็นผู้สืบสันดาน แล้วรับมรดกในฐานะคนต่างด้าว ใช่หรือไม่ มิใช่อ้างส่งเดชว่า เป็ฯไทยสมบูรณ์เช่นเดิม ลูกหลาน เหลน ก็แอบมาเป็นคนไทย ทั้งที่มิได้เป็นคนไทย แบบนี้ทำได้หรือไม่ ถ้าให้ถูก นาง ก จะต้องกลับคืนสัญชาติไทย หรือไม่ ถ้าจะอยากเป็นคนไทยสมบูรณ์ เหมือนเดิมทุกอย่าง ต้องทำอย่างไร เพราะนาง ก เคยเข้าศูนย์อพยพคนลาว ถือว่า นาง ก เป็นคนลาว สมบูรณ์ ทิ้งสัญชาติไทยเด็ดขาดแล้ว (ผลตามกฎหมาย)เพราะหากไม่ทิ้งสัญชาติไทย นาง ก ก็จะไม่ได้ไปประเทศที่สามแน่นอน เป็นข้อตกลงการช่วยเหลือผู้อพยพของระหว่างประเทศซึ่งเท่ากับว่า นาง ก โกหก ให้การเท็จต่อทางการ ว่าตนเองเป็นคนลาว โดยกำเนิด มีพ่อแม่คนลาว ไม่ได้มีพ่อแม่ไทยตนเองไม่ได้เป็นคนไทยแต่ประการใดๆ ทั้งสิ้น  แบบนี้ นาง ก มีสิทธิคนไทย อย่างไรบ้าง วันนี้ กฎหมายไทย ให้นาง ก เป็นคนไทย หรือไม่ สถานะภาพการเป็นคนไทย ของ นาง ก เป็นอย่างไร อยากจะเป็นคนไทย ทำได้อย่างไร หรือยังเป็นคนไทย ได้สมบูรณ์ทุกอย่าง ทุกประการ เพราะ ยังต่ออายุบัตรประชาชนไว้อยู่ตามกำหนด มีปัญหาเฉพาะตอนแรก เพราะบัตรขาดอายุนาน  แต่ทางทะเบียนอำเภอก็เรียกพยานไปสอบ ได้ความว่า นาง ก มีพ่อแม่เป็นคนไทย มีใบเกิดจริง แต่ไปอยู่ต่างประเทศนาน กลับมาเลยอยากต่ออายุ บัตรประชาชนไว้   ทะเบียนก็ต่ออายุบัตรให้ปกติ ผิดหรือถูก ที่ทะเบียนทำแบบนี้  ที่จริง น่าจะเป็นการจำหน่ายชื่อออกจาก เป็นคนไทย จากทะเบียนบ้านของรัฐบาลไทยเรียบร้อยแล้ว  ก่อนที่จะไปประเทศที่สามได้  ...หากทำได้แบบนี้ ก็ถือว่า หลอกรัฐบาล หลอกประเทศที่สาม หรือหลอกไป

แล้วยังกลับมาเป็นคนไทยเช่นเดิม มีสิทธิเช่นเดิมทุกอย่าง ผิดปกติ อยากได้ความรู้ เรื่องนี้ ขอได้โปรดแบ่งความรู้ด้วยค่ะ ผุ้รู้ใจดี ใจบุญ ขอให้มีความสุขทั่วถึงกันทุก ๆ คนไทย


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท