ปัจจัยต้านทานต่อการเรียนรู้


ปัจจัย

ปัจจัยบางประการที่ทำให้การสร้างสังคมแห่งการรียนรู้หยุดชะงักลง เช่น


1)  ไม่สามารถสร้างค่านิยม วัฒนธรรมใหม่ได้ คนยังยึดติดกับรูปแบบความคิดและการกระทำ
เช่นในอดีต คำถามเช่น “ทำไปทำไม ที่ทำอยู่นี่ก็ดีอยู่แล้ว” เป็นเสมือนก่อนหินขนาดใหญ่ที่หล่น
จากยอดเขามาขวางทาง การข้ามไปยากพอๆ กับการขนย้ายก้อนหิน  ลองมองหาไม้งัดข้างๆ
ถ้ามีก็ง่ายหน่อย แต่ถ้าไม่มีก็ทำใจเสีย
2)   หลงอยู่ในเขาวงกตที่ชื่อว่าอดีต ไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่กล้าที่จะออกจากกรอบ ด้วย
กลัวว่าจะเกิดความผิดพลาด จุดยืนที่ไม่กล่าเสี่ยง ไม่กล้าล้มเหลวก็ทำได้เพียงเป็นคนแก่ที่ใช้
ไม้เท้าช่วยค้ำยัน ไม่ก้าวเดิน  
3)   หวงอำนาจ ปิดกั้นคนรุ่นใหม่ สนับสนุนแต่พวกพ้องเครือญาติของตน ทำให้คนเก่งๆ
ท้อทอยกับระบบของคน บางส่วนปลีกตัวออกไป ดังนั้นโครงสร้างสังคมที่เกิดขึ้นก็จะมีฐาน
ที่ไม่แน่น ขณะเดียวกันหลังคาก็รั่ว
4)   สไตล์การนำไม่เหมาะกับกลุ่มคน อาจเด็ดขาดไป หรือยึดติดกฎเกณฑ์มากไป ไม่รับฟัง
และยึดมั่นความคิดตนเองสุดขั้วก็จะทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
5)   งานหนัก ระบบยุ่ง เกิดเป็นความท้อใจ เนื่องจากกำหนดหลักการที่ไม่ชัดเจนหรือตั้งระบบ
ที่ยุ่งยากไป ขณะเดียวกันก็ขาดแรงกระตุ้นที่ดี ทำให้เกิดการเบื่อหน่าย ขอเว้นวรรค และสุดท้าย
ก็ถอนตัวไป ทุกอย่างก็ต้องเริ่มต้นใหม่
6)   สื่อสารพลาด ไม่ครบถ้วน ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในแนวทางและจุดประสงค์ กลายเป็นว่า
การแสวงหาความรู้เป็นการทำงานเพิ่ม ไม่ใช่การทำงานให้ง่ายอย่างฉลาด
คำสำคัญ (Tags): #psycho#จิตวิทยา
หมายเลขบันทึก: 4726เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2005 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท