ทำไม?...ต้องทำร้ายกัน


“ประตูแห่งความทุกข์ใจแต่ละบาน สามารถเปิดและไขออกได้ด้วยกุญแจแห่งปัญญา”

          ทบทวนตนอยู่หลายเพลา เอะ! เรากำลังทำร้ายตัวเอง หรือใครทำร้ายเรากันแน่แต่เมื่อทบทวนและได้คำตอบแห่งตน ว่าแท้จริงแล้วไม่มีใครทำร้ายเราได้ นอกจากใจเราทำร้ายใจเราให้สั่นคลอนไปเอง หากใจสั่นคลอนย่อมเท่ากับการไปทำลายระบบการเต้นของหัวใจให้ผิดปกติ และส่งผลต่อกายให้ค่อย ๆ เสื่อมสภาพลง หากไม่มั่นฝึกจิตให้นิ่ง และไม่ยอมรับสภาพความเป็นจริงแห่งชีวิต อาจจะตกเป็นเหยื่อของเชื้อโรคร้ายได้ง่าย ๆ ภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดคือ สติ และปัญญาแห่งตน จึงให้รู้ทันและเตือนตนอยู่เป็นนิจอย่างมีสติ และต้องมีสตังค์ด้วยถึงจะดี (อ้าว!! ไปกันใหญ่)

          เอะ!! นั่น ๆ อะไรกันหนอวางกองอยู่ตรงหน้า อ่อ...หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม 2549 หยิบขึ้นมาดูและพริกไปพริกมาเปิดดูไปเรื่อย ๆ จนถึงหน้า 25 เจอคอลัมภ์สรรหา...มาฝาก เรื่อง “เด็กสาว 1 ใน 10 เคยทำร้ายตัวเอง” น่าสนใจมากกก...นั่นเจอของดีแล้วเรา อ่านต่อเถอะนะ...

          ดร.คาแรน  ร็อคแฮม อาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยบาธ ได้ทำการสำรวจกลุ่มวัยรุ่นนักเรียน อายุ 15-16 ปี โดยการพูดคุย พบว่า กลุ่มเด็กนักเรียนหญิงในอังกฤษ 1 ใน 10 ตั้งใจทำร้ายตัวเอง และมีเด็กสาวทำร้ายตัวเองมากกว่าเด็กหนุ่มถึง 4 เท่า ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ความตั้งใจทำร้ายตัวเองกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นง่ายมากในกลุ่มวัยรุ่นที่อังกฤษ  โอ!! พระเจ้าจ๊อด แล้วในประเทศไทยเราล่ะ น่ากลัวและน่าวิตกกังกลค่ะ อ่านต่ออีกนิดค่ะ

          อ.คีธ  ฮอว์ตัน จากศูนย์ศึกษาปัญหาฆ่าตัวตาย ของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้พบรายงานเรื่องการทำร้ายตัวเองเพียงแค่ 13% แต่เฉพาะจากเพื่อนนักเรียนที่มีโอกาสไปเยี่ยมเพื่อนที่นอนเจ็บอยู่ในโรงพยาบาลเท่านั้นนะ อ้าว!! ทำให้นึกต่อไปว่าแล้ววัยรุ่นที่แอบไปทำร้ายตัวเองโดยไม่มีใครรู้ล่ะ มีอีกเท่าไรกัน!! ยังมีคำถามตามมาอีกว่า อะไรคือแรงจูงใจ ที่ทำให้วัยรุ่นชายหญิง ตัดสินใจทำร้ายตัวเองล่ะ ก็ทั้ง ๆ ที่มนุษย์เราทุกคนต่าง “รักตัว...กลัวตาย” กันทั้งนั้น แล้วทำไมปัญหานี้จึงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในกลุ่มวัยรุ่นประเด็นนี้น่าคิดค่ะน่าคิด หรือเพราะมนุษย์ต้องการหาวิธีหนีไปให้พ้นจากความทุกข์ใจ!!

          เมื่ออ่านเสร็จจึงนั่งทบทวนตนอีกรอบ บุญเท่าไรแล้วที่เราไม่เคยคิดฆ่าตัวตายก็เพราะว่าเรามีที่ปรึกษาที่ดีนะสิ  อ้าว!! แล้วถ้าเราไม่มีที่ปรึกษาที่ดีละ ชีวิตเราจะเป็นอย่างไร? แล้ววัยรุ่นอีกมากมายหลายคนเขาเหล่านั้นเคยได้รับคำปรึกษาที่ดีจากใครหรือเปล่า? แต่ที่แน่ ๆ ในยามเราทุกข์ใจ อย่าขังตัวเองไว้ในห้องคนเดียว ให้ออกมาเดินสูดอากาศข้างนอกบ้านซะ มาดูต้นไม้ใบหญ้า ดูมด ดูแมงที่โบยบิน จะได้รู้ว่าความอิสระแห่งใจคืออะไร? หันไปหันมาไม่เจอใครก็ให้วิ่งเข้าบ้านไปดูหน้าพ่อหน้าแม่สักครั้งสองครั้ง ก่อนจะตัดสินใจทำอะไรลงไป ดูให้ลึกเข้าไปในดวงตา กอดท่าน ร้องไห้กับท่านสักครั้ง แล้วจะรู้ว่าที่เราคิดจะทำร้ายตัวเองมันผิด!! มากแค่ไหน

          การทำร้ายตัวเองไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหา...ปัญหาทุกปัญหามีทางออกเสมอ...หากจะคิดแก้ปัญหาก็จงอย่าทำร้ายตัวเอง ก่อนอื่นต้องนิ่งและเรียกสติกลับมาให้ได้ก่อน และจะพบว่า “ประตูแห่งความทุกข์ใจแต่ละบาน สามารถเปิดและไขออกได้ด้วยกุญแจแห่งปัญญา”

หมายเลขบันทึก: 47241เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2006 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
     พอดีได้อ่านเจอแล้วด้วยเช่นกัน ในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม 2549 ที่กล่าวไว้ ไม่นึกว่าอาจารย์น้องจะนำมาสรุปไว้ ดีครับจะได้สืบค้นคราวหลังได้ง่ายขึ้นครับ...ขอบคุณนะครับ

อ้าว!! ฉบับเดียวกันเหรอคะ...งั้นก็เท่ากับเอามะพร้าวมาขายสวนสิคะเนี่ย...แต่ไม่เป็นไรนะคะอ่านสองรอบจะได้ซึมซับข้อมูลทำให้จำนานคะ จะได้ไม่ลืมอะไรง่าย ๆ ว่าใหมค่ะคุณพี่

     มาอีกรอบครับ ชอบใจจังเลยที่บอกว่า “ประตูแห่งความทุกข์ใจแต่ละบาน สามารถเปิดและไขออกได้ด้วยกุญแจแห่งปัญญา”
     เมื่อได้อ่านเป็นครั้งที่ 2 ในเรื่องนี้ และลองย้อนคิดกลับดี ๆ จึงได้ตั้งข้อสังเกตว่า...

  •      ข้อมูลนี้เป็นอย่างต่ำใช่หรือไม่ เพราะเรื่องราวเหล่านี้ซีเรียสครับ น่าจะยังมีข้อมูลอีกเยอะที่หลบซ่อนอยู่ใต้สิ่งที่พบและเห็นแล้ว หากใช่คงต้องตั้งคำถามต่อไปว่า แท้ที่จริงแล้วจะมีขนาดของปัญหามากมายแค่ไหนเพียงไร เป็นประเด็นที่ 1 ทำอย่างไรดีครับจะได้คำตอบนี้ หรือว่ามีใครศึกษาบ้างแล้วโดยเฉพาะในบ้านเมืองเราเอง
  •      ประเด็นที่ 2 เพราะเหตุใดได้บ้างครับที่ทำให้เกิดสภาพเช่นนี้ขึ้นในสังคม
  •      ประเด็นที่ 3 ในแต่ละบริบทของสังคม สภาพเช่นนี้คล้ายคลึงกันไปหมดเลยหรือ หากมีที่แตกต่างกัน หรือบางที่บางแห่งไม่เคยมีสภาพเช่นนี้เลย ชวนให้คิดนะครับว่าเงื่อนไขอะไรที่ทำให้แตกต่างกันได้บ้าง (เท่านี้ก่อน)

     หากอาจารย์น้องพอจะตอบได้ ก็ลองดูสิครับ อาจจะทำให้คนขี้สงสัยได้รู้เรื่องราวนี้บ้างครับ จักเป็นพระคุณยิ่ง (ยิ้ม ๆ)

เป็นเรื่องที่น่าสนใจและขอบคุณที่นำมาเล่าให้ฟังค่ะ อ่านข้อมูลแล้วก็รู้สึกหนักใจที่เดี๋ยวนี้แม้กระทั่งเด็กๆน้องๆวัยรุ่นก็เริ่มเครียดและท้อแท้กับชีวิตมากขึ้นกว่าแต่ก่อน (เป็นNostalgiaอีกแล้ว) ที่โรงพยาบาลเองถ้าเราได้มีโอกาสถามผู้ป่วยเอดส์เกือบทุกรายจะตอบว่าเคยคิดอยากจะฆ่าตัวตายแต่สิ่งที่ทำให้เขาไม่กระทำลงไปหลายคนตอบเหมือนอย่างที่อาจารย์น้องสรุปว่าเพราะเขานึกถึงพ่อแม่นึกถึงความรักที่เขามีอยู่ที่บ้านและอีกหลายคนอยู่เพราะว่าต้องการทำบางอย่างเพื่อคนที่เขารักให้แล้วเสร็จก่อนจะจากไป... เคยอ่านข้อคิดของนักจิตวิทยาอยู่บทความหนึ่ง(ขอโทษที่จำชื่อไม่ได้ชัดเจน)เขาบอกว่าถ้าคนเราขาด2H1s(Helpful,Hopeful,Selfesteem)โอกาสเสี่ยงสูงที่เขาคิดจะทำร้ายตัวเองก็จะมีในการช่วยเหลือเขาให้ใช้PDht :find Potentialหาข้อดี/จุดแข็งที่มีอยู่ :develop self esteemพัฒนาหรือเสริมสร้างความภาคภูมิในตนเอง :reset Help&Hopeสร้างความหวังและเสริมความช่วยเหลือ :Timeและสุดท้าย กาลเวลาคือยาสมานใจที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งค่ะ

คุณ "พี่ชายขอบ" คะ ข้อสังเกตทั้ง 3 ประเด็นของคุณพี่ น่าสนใจมาก ๆ ค่ะ คงจะต้องนั่งวิเคราะห์เป็นข้อ ๆ ไป และจะนำไปเขียนเป็นบันทึกตอบนะคะ เพราะประเด็นน่าสนใจจริง ๆ ค่ะ คำว่า "เท่านี้ก่อน" ของคุณพี่เล่นซะเจ้าของบันทึกน่วมไปเลยค่ะ แต่มีประโยชน์มากจริง ๆ คะ อย่างไรซะ อย่าลืมเติมเต็มให้กันนะคะ...ขอบพระคุณยิ่งในความสงสัยของคุณพี่ ที่มีประโยชน์นักแล

คุณพี่ seangja คะ ขอบพระคุณอย่างสูงสำหรับการต่อยอดเพื่อเติมเต็มให้กัน คห.ของคุณพี่ช่วยจุดประกายความคิดของผู้เขียนได้เยอะแยะมากมายเลยคะ ประมาณว่ามาช่วยชี้ทางสว่างให้คนมืดบอด ที่กำลังงมเข็มอยู่ในมหาสมุทรค่ะ มีประโยชน์เหลือหลายเลยค่ะ

คุณ seangja ค่ะ เดี๋ยวจะนำเอาส่วนที่ให้ คห.ไว้ไปเขียนบันทึกไว้ในประเด็นที่คุณ "พี่ชายขอบ" ตั้งข้อสังเกตนะคะ อย่างไรซะก็ขอให้ช่วยเติมเต็มให้อีกครั้งนะคะ ขอบพระคุณมากค่ะ

แหม!.......แต่ อ.Vij คะ เวลาเราทุกข์ขึ้นมาเนี่ยพบว่า (“ประตูแห่งความทุกข์ใจแต่ละบาน สามารถเปิดและไขออกได้ด้วยกุญแจแห่งปัญญา”) หากุญแจไขไม่ทันสักทีค่ะ ส่วนใหญ่จะหาของมีคมเจอก่อนกุญแจนะซิคะ

คุณ "พี่เมตตา" ค่ะ...บางครั้งบางทีที่เราหากุญแจไม่เจอก็เพราะว่า ของมีคมบางอย่างมักจะทิ่มแทงเราเข้าข้างหลังโดยที่เราไม่ทันจะระวังตัวค่ะ ด้วยความมึน งง...ก็เลยมักจะหากุญแจไม่ทันสักที

เพราะความที่คนเราหากุญแจไม่เจอจึงมักทำให้เกิดพฤติกรรมการทำร้ายตัวเองกันบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในวัยรุ่นที่ขาดการยั้งคิด ปัญหานี้นับว่ายิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ เราจึงจำเป็นจะต้องหากุญแจให้เจอ พอเจอกุญแจของมีคมก็คงไร้ประโยชน์ที่จะใช้แล้วค่ะ...ขอบคุณ "พี่เมตตา" ที่มีความสมเมตตาดั่งชื่อค่ะ และได้มีประเด็นเพื่อจุดประกายความคิดขึ้นอีกแล้วค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

ประเด็นร้อนที่ post มานี้ชักจะเป็นปัญหามะเร็งร้ายของสังคมขึ้นทุกวัน

ดิฉันท้อใจทุกครั้งว่า....ทำไมเดี๋ยวนี้คนเราตัดสินใจทำอะไรสักเรื่อง....จะใช้เวลาไตร่ตรองน้อยลงทุกที

หากใช้สติ ปัญญาและเวลาไตร่ตรองอย่างรอบคอบปัญหาคงไม่เกิดขึ้นนะคะ

"อารมณ์" ชั่ววูบค่ะ คุณ "ศุภลักษณ์" ตัดสินใจโดยใช้อารมณ์และความรู้สึกของตนขณะนั้นเป็นที่ตั้ง ตัดสินใจแค่เสี้ยววินาที เพราะทนทุกข์นั้นของตนไม่ไหว และอยากหนีเพื่อให้ตนพ้นทุกข์ ถึงทุกข์กายหนักสักเท่าไร แต่หากทุกข์ใจเล่าหนักกว่าเป็นพันเท่า

วัยรุ่นส่วนใหญ่จะเจอกับปัญหาทางใจ เพราะเขายังเรียนรู้กับความเจ็บปวดไม่มากพอ ยังอยู่ในโลกของความฝัน หากแต่เมื่อได้เจอกับสภาพความเป็นจริงแห่งชีวิตจึงรับไม่ได้กับสภาพที่ต้องเจอ จึงน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของการทำร้ายตัวเอง

ด้วยความที่ไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบอย่างที่ คุณ"ศุภลักษณ์" กล่าวล่ะค่ะ จึงทำให้ปัญหาเกิดขึ้น เพราะเขายังขาดภูมิคุ้มกันแห่งชีวิตค่ะ จึงทำให้เขาเกิดความอ่อนแอเมื่อเจอกับปัญหา

ขอบพระคุณ คุณ "ศุภลักษณ์" มากค่ะ

     เข้ามาตามคำตอบครับ แต่ไม่ได้รีบอะไร เห็นการ ลปรร.กัน ต่อยอดกัน ได้ความรู้ดีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท