ข้อสังเกตเกี่ยวกับการสร้างองค์ความรู้จากข่าวในแบบ ASTV


กรณีศึกษาที่น่าสนใจอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลทางสื่อโทรทัศน์ไทย ที่มีช่อง 3 5 7 9 11 ITV  ซึ่งมีคนดูเยอะแยะ แต่ทำไมฟรีทีวีผ่านดาวเทียมอย่าง ASTV จึงทำให้หลายคนมีทัศนคติที่เปลี่ยนไป หลายคนต้องฟังข้อมูลจากสื่อแห่งนี้ และมีจำนวนผู้ชมที่รับข้อมูลจาก ASTV เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ทั้งๆที่ถูกความพยายามในการปิดกั้นอยู่บ่อยๆ แล้ว ASTV มีเวทย์มนต์อะไรที่ทำให้หลายคนเชื่อถือข้อมูลที่ถูกนำมาเสนอ เพิ่มมากขึ้น

มีบางคนบอกว่า ASTV ทำข่าวให้คนฉลาดขึ้น บางคนบอกว่าก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคมมากกว่า

ที่เขียนอยู่นี่ ไม่ได้มาเชียร์ให้ต้องไปดู ASTV  แต่อยากให้ทีวีช่องต่างๆ นำเสนอข้อมูลเพื่อทำให้ผู้ชมเกิดความรู้ ตัดสินใจด้วยตัวเอง คิดวิเคราะห์สังเคราะห์ข่าวสารได้เอง

 

ASTV ช่อง News1 สถานี ข่าว 24 ชั่วโมง เกาะประเด็นเรื่องการเมืองเป็นหลัก ดูผังรายการที่ออกอากาศ ระยะเวลาการนำเสนอ รูปแบบการนำเสนอข้อมูลแล้ว เต็มอิ่มจริงๆ

ในช่วงวันจันทร์ – ศุกร์ตั้งแต่ 6.00-8.00 น. รายการริมเช้าเจ้าพระยา  8.00 -10.00 น. สภาท่าพระอาทิตย์  15.00-16.30 น. News Hour ชั่วโมง แห่งการวิเคราะห์ข่าว  , 12.00-13.30, 18.00-19.30 น. รอบวันทันเหตุการณ์  19.30-21.00 น. รู้ทันประเทศไทย กับ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง  21.00-22.30 น. รายการคนในข่าว  22.30-23.30 น. คลุกวงในข่าว ส่วนวันศุกร์ มีรายการดัง เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร  17.00-21.30 น.

โดยเฉลี่ยมีรายการเชิงวิเคราะห์ข่าวเกิน 8 ชั่วโมง /  วัน และละเนื้อหาโดยเฉพาะประเด็นการเมืองจะมีการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของบุคคล ต่างๆทางโทรศัพท์ อาจจะนานถึงครึ่งชั่วโมงบ้าง ทำให้ได้เนื้อหาเชิงลึกและมุมมองที่หลากหลาย มีการหยิบยกคำพูดของบุคคลที่เป็นข่าวมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆ ให้ผู้ชมที่ติดตามดู + ฟัง ใช้ประกอบการตัดสินใจว่า จะเชื่อถือหรือไม่

มีการนำเสนอข้อมูล เอกสารหลักฐาน การเปรียบเทียบเบื้องหน้า เบื้องหลังในเชิงสืบสาวหาความจริง การสังเกตสิ่งที่ผิดปกติ และนำมาเสนอให้เห็นถึงกระบวนการ ขั้นตอน ความเป็นไปของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ความจริงแล้ว ฟรีทีวีช่อง 3 5 7 9 11 ITV สามารถนำเสนอข่าวสารในเชิงวิเคราะห์เจาะลึกได้ดีกว่า ASTV หลายเท่า เพราะมีเครื่องมือ ทุน บุคลากร และเครือข่ายการรับชมเข้าถึงผู้ชมทางบ้านมากกว่า แต่กลับไม่สามารถทำได้ดีเท่าที่ควร

ถ้าสื่อฝ่ายรัฐ นำเสนอข้อมูลในทิศทางข่าวของฝ่ายรัฐอย่างเจาะลึกบ้าง ผู้ชมจะได้เปิดรับข้อมูล เปรียบเทียบและตัดสินใจเชื่อถือข้อมูลที่ได้รับจากการสังเคราะห์ด้วยตัวเอง ไม่ต้องเชื่อถือข้อมูลข่าวสาร เท่าที่ได้รับรู้ในบางด้านเท่านั้น โดยไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ

เหมือนการอ่านหนังสือ การติดตามข้อมูลความรู้ในประเด็นที่น่าสนใจ ยิ่งอ่านมากเท่าไร ยิ่งแตกฉาน รู้ลึกและสร้างองค์ความรู้ คิด วิเคราะห์ด้วยตัวเองได้มากขึ้น

 

ไม่ ใช่เป็นการเลือกรับสื่อที่ชอบ ปิดรับสื่อของฝ่ายตรงข้ามเหมือนกับหลายคนในเวลานี้ ซึ่งทำให้เกิดความแตกแยก และความไม่เข้าใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ


หมายเลขบันทึก: 47207เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2006 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เป็นประเด็นที่น่าคิดมาก ๆ เลยครับนายบอน
  • เมื่อก่อนตอนที่อยู่อุตรดิตถ์ ที่บ้านติดเคเบิ้ลก็มีโอกาสได้ดู ASTV บ้างครับ
  • ได้รับมุมมองจากสื่ออีกมิติหนึ่งครับ น่าสนใจดีมากครับ
  • แต่พลังจาก ASTV อาจจะมีน้อยสู่พลังจากสื่อหลักยากสักนิดครับเพราะเข้าถึงประชาชนได้น้อยมาก ๆ ครับ ถ้าเทียบสัดส่วนของ  3 5 7 9 11  และ ITV
  • แต่ก็เป็นการดีที่มีการปลุกกระแสของกลุ่มคนให้มีโอกาสเข้าถึงขึ้นครับ
  • จะได้มีการฉุกให้คิด ทอนอำนาจในการคิดจากสื่อหลักได้บ้างครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่จุดประเด็นนี้ขึ้นมา
  • ขอพลังความรู้จงสถิตกับนายบอนตลอดไปครับ
ขอบพระคุณนายรักษ์สุขที่มาให้พลัง เอ๊ย ร่วมแบ่งปันความเห็นครับ
ครูอ้อยมีความคิดเห็นตรงกันด้วยค่ะ  หลายครั้งที่ถูกปิดกั้น  ไม่ให้รู้แต่เราก็รู้จนได้ค่ะ  ขอบคุณค่ะ คุณบอน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท