วัฒนธรรมการเรียนรู้ : มุมมองทางมานุษยวิทยา


ผู้รู้คือกลุ่มชนชาวบ้าน...เราคือผู้ศึกษาเรียนรู้และนำมาเผยแพร่

            ช่วงที่ผมเข้าฟังการบรรยายเกี่ยวกับงานวิจัยทางด้านมานุษยวิทยานำเสนอโดยศ.ดร.วรรณี วิบูลย์สวัสดิ์แอนด์เดอร์สัน จากภาควิชาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยบาวน์ USA ท่านอาจารย์นำเสนอการลงพื้นที่บ้านเกาะกลางในจังหวัดกระบี่ เป็นกรณีศึกษา นั่งเรือเข้าไปประมาณ 17 นาที เมื่อขึ้นฝั่งไปแล้วก็ไปนั่งดูเด็กๆเล่นสนุกสนานกัน เพื่อดูพฤติกรรมศึกษา สอบถาม และเก็บเอาข้อมูล โดยมีความคิดว่า ทุกคนที่บ้านเกาะกลางเป็นผู้รู้ เราเป็นผู้เข้ามาศึกษา สิ่งที่ได้คือเป้าหมายในการลงพื้นที่

              ต่อจากนั้น ท่านอาจารย์เขียนเพื่อให้นิสิต ป.เอก สาขาวัฒนธรรมศึกษา ได้ร่วมกันอภิปรายคำว่า เพื่อน มีเพื่อนดี เพื่อนกิน เพื่อนชั่ว เพื่อนเล่น เพื่อนเรียน เพื่อนสนิท เพื่อนรัก มิตร สหาย  เกลอ  เพื่อให้นิสิตร่วมกันวิเคราะห์ วิจารณ์...  

เกี่ยวกับเรื่องระเบียบวิธีวิจัย มีประเด็นดังต่อไปนี้1.    การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ2.    เข้าไปนั่งสนทนา เช่น ร้านน้ำชา และพยายามจดจำ3.    การสังเกต4.    กรณีเด็กๆให้เขียนบทความ โดยกำหนดเรื่องให้5.    เมื่อกลับที่พัก รีบบันทึกจดจำให้ได้มากที่สุด6.    การสัมภาษณ์จะไม่ใช้เครื่องมือสื่อสารใดๆทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นเครื่องบันทึกเทปหรือกล้องถ่ายรูป  สมุดจดบันทึก แต่เป็นการพูดคุยอย่างเป็นกันเอง

           ต่อจากนั้น ท่านอาจารย์เปิดประเด็นให้ผู้เข้าร่วมฟังได้ซักถามในประเด็นที่สนใจ ในช่วงพักผมได้ถามเกี่ยวกับประเทศสหรัฐอเมริกา ท่านได้อธิบายหลายประการน่าสนใจ เช่น กรณีมหาวิทยาลัยบาวน์ เป็น ม.เอกชนแห่งแรกที่ตั้งรับชนกลุ่มน้อยเข้ามาเรียน ซึ่งสามารถเปิดโอกาสให้เขาเข้ามาเป็นกำลังของชาติ เช่น กลุ่มอินเดียแดง เป็นการตั้ง ม. ให้ผู้ด้อยโอกาสซึ่งประเทศไทยของเราน่าจะมีมหาวิทยาลัยอย่างนี้บ้างโดยอาศัยเงินทุนจากคนที่เห็นการศึกษาเป็นสิ่งที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังคมผู้ด้อยโอกาสที่ไม่สามารถเข้าไปสอบแข่งขันตามมหาวิทยาลัยดังๆได้

            ท่านอาจารย์กล่าวถึงนักเรียนที่มาเรียนเขามีการจัดกลุ่มชาติพันธุ์ เขาเรียกว่างานพาวาวเป็นงานจัด weekend โดยนักเรียนขอทุนสนับสนุนจากผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชนให้มาจัดบูทขายของ ขายสินค้าและเก็บค่าเช่าที่ ในงานมีการแสดงโชว์ศิลปะของอินเดียนแดง มีการเต้นรำแบบกลุ่มของตนเองซึ่งมีหลายเผ่า กลุ่มนักเรียนจะเช่ารถบัส ซึ่งเขียนชื่อ ทาสีรถบัสของกลุ่มเป็นสัญลักษณ์ 

             นับเป็นการแสดงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของตนเอง เพื่อความคงอยู่ในกลุ่มของตน ซึ่งมีความสำคัญทางมนุษยวิทยา...ฮา ๆ เอิก ๆ

       ช่วงนี้มหาวิทยาลัยบาวน์ที่ท่านอาจารย์ไปอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 40 ปีแล้ว ได้สอนชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ซึ่งถือว่าเป็นกำลังของชาติในอนาคตที่เขามีสิทธิ์เลือกเดินทางชีวิต ช่วงนี้มหาวิทยาลัยปิดเทอม คือ มิถุนายน กรกฎาคม และ สิงหาคม ท่านอาจารย์อาศัยช่วงนี้เดินทางกลับประเทศไทยเพื่อทำวิจัยทางด้านมานุษยวิทยาดังกล่าว

โปรดติดตามตอนต่อไป ด้วยความปรารถนาดี

จาก ...umi

หมายเลขบันทึก: 47091เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2006 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท