ผักหวานป่าตื่นนอน : สูตรปลูกผักหวานป่าที่ประหยัดที่สุด ตอนที่5


"แค่เข้าใจ ไม่ต้องเอาใจ" ช่วงเวลาสำคัญในการดูแล-ให้อาหารกับผักหวานป่า ฤดูผักหวานตื่น(ฤดูหนาว-ฤดูร้อน) ปลูกดิน ห่มดิน

 

.....ย่างเข้าสู่ฤดูหนาวไปจนถึงฤดูร้อน: เป็นช่วงเวลาที่ผักหวานป่าตื่นจากหลับไหล

พร้อมที่จะออกยอด ออกดอก ติดผล (ตื่นมาพร้อมกับความหิว!)

......เพื่อให้ตรงกับฤดูกาลผักหวานป่าตื่นขึ้นมาจากหลับไหลพร้อมๆกับความหิวโหย! ได้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง(ผักหวานจะโตๆๆ)

......บันทึกฉบับนี้ข้าพเจ้าจะขอนำทุกท่านมาเรียนรู้ทำความเข้าใจ ลักษณะนิสัยใจคอ(ตัวตน)ของผักหวานป่า รวมถึงขั้นตอนวิธีการดูแลลูกๆ(เด็กๆผักหวานป่า ของเราๆท่านๆกันนะคะ)

.....ทำอย่างไร?ถึงจะทำให้ต้นผักหวานป่าที่ปลูกได้เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นต้นกล้าที่พึ่งปลูก หรือมีต้นที่โตอายุตั้งแต่ 1ปีขึ้นไป ให้เจริญเติบโตยิ่งๆขึ้นและอายุยืนยาวเป็นต้นอาหาร เป็นเพื่อนกันกับผู้ปลูกไปตลอดรอดฝั่ง (ได้ส่งไม้ต่อให้ลูกหลานคนรุ่นหลัง ได้มีแหล่งอาหาร อาชีพ อากาศ ไว้สำหรับหายใจและดำเนินชีวิต สำหรับโลกปัจจุบันสู่โลกอนาคต).....

.....ช่วงระยะเวลาการให้ปุ๋ย ชนิดของปุ๋ยที่เกื้อกูลกับผักหวานป่า(ประหยัดต้นทุนที่สุด) วิธีการให้ปุ๋ย. ทั้งหลายเหล่านี้คือสิ่งจำเป็นที่ผู้ปลูกผักหวานป่า ต้องรับรู้และทำความเข้าใจกับลักษณะนิสัยใจคอตัวตนของผักหวานป่า หากต้องการให้ผักหวานป่าเพิ่มเป็นอีกหนึ่งในสมาชิกพืชพรรณ ของครอบครัว.....

 

        

       ต้นกล้าผักหวานป่าสายพันธ์ใบมน-ใบรี(ผักหวานโคก)อายุ 5เดือน

 

        

ต้นกล้าผักหวานป่าสายพันธ์ใบแหลม(ผักหวานป่า,ผักหวานดง)อายุ 5เดือน

 

.....ช่วงเวลาที่เหมาะสมของการปลูกต้นกล้าผักหวานป่าที่สุดคือ"จากวันแม่ไปจนถึงวันพ่อ"  ต้นกล้าผักหวานป่าที่เพาะสามารถปลูกได้ตั้งแต่เมล็ดเริ่มงอก หยั่งรากลงดินในถุงเพาะ(ประมาณ20-45วัน)ไปจนถึงอายุไม่เกิน10เดือน "ยิ่งปลูกลงดินได้เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี"

.....ดังนั้นก่อนที่จะทำการปลูกผักหวานป่า นอกจากการวางแผน-ปลูกต้นตะขบในพื้นที่แล้ว  การวางแผนปลูกให้ตรงกับช่วงกรอบระยะเวลาที่เมล็ดผักหวานป่าจะที่สุก ซึ่งมีผลต่ออายุของต้นกล้าที่จะนำมาปลูกในแต่ละรอบปี(โตช้าหรือเร็ว) ถือเป็นหัวใจสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะปลูกผักหวานป่าให้ประสบผลสำเร็จ ได้เก็บกิน เก็บทาน เก็บขาย(อาหาร-อาชีพ-อากาศ).....

.....เช่นเดียวกันในการเลือกต้นกล้าผักหวานป่ามาทำการปลูกต้องดูที่ต้นกล้าเป็นหลัก มากกว่าความสูง ความงาม(ต้นโตๆ)ของต้นกล้า. ซึ่งจุดนี้นับเป็นลักษณะนิสัยใจคอของผักหวานป่า ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และแตกต่างจากพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆโดยทั่วไป ที่ต้นพันธุ์ที่นำมาปลูกยิ่งโตเท่าไหร่! ก็ยิ่งเติบโตให้ผลผลิตได้เร็วเท่านั้น. แต่ตรงกันข้ามกับผักหวานป่ายิ่งต้นกล้า(ต้นพันธุ์)ยิ่งโตๆมากเท่าไหร่!ยิ่งตายไวเท่านั้น!(ไม่ตายก็เลี้ยงให้เจริญเติบโตได้ยาก)   แต่ถ้าหากเป็นต้นกล้าเล็กๆอายุยังน้อย(อยู่ในกรอบระยะเวลา 10เดือน)ยิ่งเจริญเติบโตได้ดีและรวดเร็ว..... 

.......ต้นผักหวานป่าตื่นนอน:ออกยอด ออกดอก ติดผล(เมล็ด)ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคมของทุกปี...

.....เมล็ดพันธ์ของผักหวานป่าจะเริ่มสุกและสามารถนำมาทำการเพาะ-ปลูกได้ อยู่ในช่วง เดือนเมษายนไปจนถึงเดือนกรกฎาคม (ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และสภาพอากาศในแต่ละปี)...

.......เดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผักหวานป่าเตรียมตัวที่จะหลับ(เปรียบได้กับคนเราในยามพลบค่ำกับการอาบน้ำ กินข้าว อิ่มแล้วเตรียมตัวจัดปูที่นอน พักผ่อนหลับไหลและตื่นขึ้นมาใหม่ในเวลาตอนเช้าของอีกวัน)...

.....เดือนมิถุนายนเข้าสู่ฤดูฝนต้นผักหวานป่านอนหลับ ไม่ออกยอดหยุดการเจริญเติบโต (เปรียบได้กับคนเราในช่วงระยะเวลาของการนอนหลับ ที่ไม่กินข้าวไม่กินน้ำแต่ไม่ตาย.เพราะใช้พลังงานที่สะสมไว้ในร่างกาย ในการหายใจ-รักษาสังขาร(ชีวิต).ผักหวานป่าก็เช่นเดียวกัน..

        

ฤดูฝนกับช่วงเวลาที่ผักหวานป่านอนหลับ(ไม่ออกยอด)ไม่ต้องรดน้ำให้อาหาร ปล่อยตามสภาพธรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องดายหญ้า กำจัดวัชพืช (ดูเฉพาะเถาวัลย์ที่เลื้อยพันกับต้นผักหวานก็พอ)

        

ผักหวานป่าในฤดูนอนหลับ(ฤดูฝนไม่ออกยอด)เป็นฤดูของแมลงกินยอด-ใบ ของผักหวานป่า

.........ดังนั้นแล้วต้นกล้าผักหวานป่าที่เพาะเลี้ยงข้ามปี(อายุเกิน 10เดือน)ขึ้นไป แล้วนำมาปลูกเข้าสู่ฤดูฝนของปีถัดไป ส่วนมากจะตายหรือไม่ก็เลี้ยงไม่โต.เนื่องจากผักหวานนอนหลับ หยุดการเจริญเติบโตทางราก(น้ำท่วมจมูก)...

.....ซึ่งตรงกันข้ามกับต้นกล้าผักหวานป่าที่เพาะในรอบปีนั้นๆแล้วนำไปปลูกเมื่อเริ่มงอกแทงรากออกจากเมล็ดในฤดูฝน หรือหยอด(ปลูก)ด้วยเมล็ด.แต่ต้นผักหวานป่ากลับไม่ตายและเจริญเติบโต.

.....เนื่องจากโดยธรรมชาติของผักหวานเมื่องอกออกจากเมล็ดแล้ว พลังงานที่เก็บสะสมในเมล็ด จะถูกผลักดันออกมาสะสมไว้ที่ราก-รากฝอย ต่อมาก็สลัดเมล็ดทิ้งแล้วใช้พลังงานที่เก็บสะสมไว้ในราก ออกยอด-ผลิใบ เรียนรู้ธรรมชาติรอบๆกายจนกว่าจะหมดฤดูฝน (พลังงานที่เก็บสะสมไว้ในรากถูกนำมาใช้จนหมดขณะเรียนรู้ธรรมชาติรอบๆกาย"สิ่งแวดล้อม-ถิ่นที่อยู่)เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ผักหวานป่าเริ่มตื่นจากการนอนหลับ(ตื่นมาพร้อมกับความหิว) และต้องการพลังงาน(ปุ๋ย-อาหาร)มาขับเคลื่อนตัวเองทางราก เพื่อจะเจริญเติบโต ออกยอด(สร้างกิ่งก้าน)ออกดอก ติดเมล็ด เพื่อนำไปขยายพันธุ์และรักษาเผ่าพันธุ์ของผักหวาน.

......หากไม่มีการให้ปุ๋ย-อาหาร(น้ำ)กับต้นกล้าผักหวานป่าที่ปลูกในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ จะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก(เช่นเดียวกับมนุษย์เราหลังจากตื่นนอนก็ต้องดื่มน้ำ-ทานอาหารเพื่อสร้างพลังงานในการขับเคลื่อนตัวเอง ในการดำเนินชีวิต"ทำงาน")...

        

   ปลายฝนต้นฤดูหนาวผักหวานป่าเริ่มตื่น ทำการถางหญ้า เปิดแปลงเตรียมให้ปุ๋ย

        

        ปลายฝนต้นหนาวผักหวานป่าเริ่มตื่น เตรียมการดูแลให้น้ำ-อาหาร

.....ผักหวานป่าเป็นพืชป่าที่บรรพบุรุษพ่อแม่พันธุ์ดั้งเดิมเติบโตมีชีวิตอยู่รอดมาได้ด้วยอาศัยปุ๋ย-น้ำ จากระบบนิเวศของธรรมชาติ(สังคมพืช ที่เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน พึ่งพาอาศัย แบ่งปันซึ่งกันและกัน) เพราะฉะนั้นปุ๋ย-อาหารที่นำมาให้กับต้นผักหวานป่าที่ปลูกควรเป็นปุ๋ย จุลินทรี-ชีวภาพที่ไม่ใช่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือสารเคมีใดๆ...

.....ผักหวานป่าเจริญเติบโตในหน้าแล้ง(ไม่มีฝน)ดังนั้นก่อนที่จะนำปุ๋ย-อาหาร มาทำการรดให้กับต้นผักหวานที่ปลูก ควรทำการจัดหา-นำวัสดุเช่น ฟางข้าว,หญ้าแห้ง,ใบไม้แห้ง,ขี้อ้อยฯลฯตามแต่ที่จะหาได้สะดวกในท้องที่มาคลุมดินบริเวณหลุมปลูก(ห่มดิน) เพราะสิ่งที่ผู้ปลูกควรจดจำไว้กับข้อสำคัญคือ"ห้ามพรวนดินบริเวณหลุมปลูกผักหวานโดยเด็ดขาด" ดังนั้นจึงต้องมีการเสริม-ขยายหน้าดินให้ร่วนซุยและทำการคลุมหน้าดินเพื่อรักษาความชุ่มชื้นหลังการรดน้ำ.....

        

 หญ้า-วัชพืชในแปลงปลูกก็สามารถนำมาคลุมดินเพื่อรักษาความชุ่มชื้นได้เช่นกัน(ปุ๋ยพืชสด)

        

ไม่ว่าจะเป็นต้นกล้าผักหวานที่ปลูกหรือต้นที่โตๆอายุ1ปีขึ้นไปก็ต้องคลุมดินรดน้ำเช่นเดียวกัน

.....ในที่นี้ ไม่ขอแนะนำให้ใช้แกลบดำในการคลุมหน้าดิน-หลุมปลูก เพราะในแกลบดำมีความเป็น"ด่าง"มาก ทำให้ต้นกล้าผักหวานป่าใบร่วง ยุบตัวและตายในที่สุด :ข้อมูลดังกล่าวได้มาจาก "พันโท. นายแพทย์ "คุณหมอผู้มีใจรักผักหวานป่า จากรพ.ค่ายประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี ซึ่งได้ช่วยวิจัยทดลองแกลบดำกับผักหวานป่า นอกจากผ่าตัดคนแล้วท่านยังช่วยผ่าตัด(วิจัย)ผักหวานป่าอีกทางหนึ่ง...

.....เนื่องจากผักหวานป่าออกยอดเจริญเติบโตในหน้าแล้ง นอกจากปุ๋ย-อาหารที่นำมาให้กับผักหวานป่าจะเป็นปุ๋ยอินทรี-ชีวภาพแล้ว ชนิดของปุ๋ยก็จะต้องเป็นปุ๋ยชนิดน้ำ(ไม่ใช่ชนิดเม็ดแห้งหรือเป็นผงฝุ่น)เพราะในหน้าแล้งไม่มีน้ำฝนมาช่วยย่อยสลายละลายปุ๋ย ถึงแม้จะหว่านแห้งแล้วรดน้ำตามในภายหลังก็ต้องรอการย่อยสลายผ่าน(ขี้)ปลวก(ผักหวานตาลายตายซะก่อน!) แต่ถ้าหากเป็นปุ๋ยชนิดน้ำ(น้ำและปุ๋ยอยู่ด้วยกัน)เมื่อทำการรด ต้นกล้าผักหวานสามารถนำไปใช้ได้เลยทันทีโดยไม่ต้องรอขบวนการย่อยสลายจากปลวก...

.....ในการปลูกต้นไม้ให้เจริญเติบโตนั้นนอกจากจะทำการปลูกต้นไม้เราจึงต้อง"ปลูกดิน"ควบคู่กันไปด้วย โดยการใช้ปุ๋ยชนิดน้ำในฤดูแล้ง(ที่แห้งยาวนาน)เพื่อให้จุลินทรีย์สิ่งมีชีวิตเล็กๆที่อยู่ในดินให้มีชีวิตรอดช่วยบำรุงดิน-พรวนดินต่อเนื่องจากฤดูฝน...

.....ลักษณะดินภายใน อุฑยานผักหวานป่า'๔๔ เป็นดินเหนียวจัด ดินเหนียวปนหินลูกรังผสมกับหินแม่น้ำก้อนสีแดงๆ(หินทราย)รวมทั้งแผ่นดินบริเวณสวนตั้งอยู่บนลานหินขนาดใหญ่ หน้าฝนน้ำไหลหนี(เหมือนคนหัวล้านดินไม่ดูดซับน้ำ)หน้าแล้งแผ่นดินแตก-แยกออกจากกัน ปั๊มน้ำลงไปทั้งวันทั้งคืนก็ไม่เต็ม(คงไปออกแม่น้ำโขง)รวมทั้งลมแรงมาก.  ในการฟื้นฟูสภาพดินปรับปรุงดินควบคู่กับการค้นคว้าวิธีปลูกผักหวานป่าจึงเป็นโจทย์ชีวิตที่หนักมากสำหรับคนเพียง2คนกับเนื้อที่ไม่ราบเรียบ30กว่าไร่(พื้นที่นค.1ทำการเกษตรได้เพียงอย่างเดียว)...

.....ดังนั้นปุ๋ยที่ใช้ปรับปรุงบำรุงดินและทำให้ต้นผักหวานป่าที่ปลูกนั้นเจริญเติบโตในพื้นที่แห่งนี้นั่นก็คือ"ปุ๋ยอสุภะ"(ปุ๋ยเทศบาล) ข้าพเจ้าเรียกมันว่า"ปุ๋ยวิเศษ"เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงพลิกฟื้นดินให้ดีได้.

        

                     ปุ๋ยอสุภะ(ปุ๋ยเทศบาล)หรือว่า "ปุ๋ยวิเศษ"

        

   ...ปุ๋ยอสุภะหลังจากที่เทออกจากรถ ลงบ่อ(หลุม)แก้มลิงที่ขุดไว้ สำหรับตักนำไปรดในบางจุด ที่รถยนต์ไม่สามารถเข้าไปเทราดในแปลงได้...

        

          ในการขนย้ายปุ๋ยนำไปรดปรับปรุงดินบริเวณหลุมปลูกผักหวานป่า

        

     ...ในการลำเลียงขนย้ายปุ๋ยวิเศษเข้าไปรดปรับปรุงดินหลุมปลูกผักหวานป่าในแปลงปลูกที่รถยนต์ไม่สามารถเข้าถึงได้เนื่องจากช่องว่างระหว่างต้นไม้คับแคบ...

.....ในส่วนของปริมาณปุ๋ยที่ให้ต่อหนึ่งหลุมปลูกนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของต้นไม้ในหลุมปลูก รวมถึงอายุของต้นไม้(เปรียบได้กับเด็กเล็กและผู้ใหญ่วัยเจริญพันธ์ ที่ต้องการปริมาณอาหารที่มากน้อยแตกต่างกัน) สำหรับผักหวานป่าใช้หลัก"น้อยๆแต่บ่อยๆ ให้ชุ่มชื้นแต่ไม่ให้แฉะขัง".

.....ปริมาณ10-30ลิตร/1หลุมปลูก 3-5วัน/ครั้งหรือวันละครั้งตอนเย็นก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพดินของแต่ละพื้นที่ ที่สามารถรักษาความชุ่มชื้นไว้ได้แตกต่างกัน

.....ในการรดน้ำในช่วงเวลาตอนเย็นพลบค่ำ จะช่วยรักษาความชุ่มชื้นได้ยาวนานกว่า การรดในตอนเช้า โดยเฉพาะในฤดูร้อนที่แดดแผดเผา ไม่ควรรดน้ำต้นกล้าผักหวานที่ปลูก...

.....ในช่วงเวลากลางวัน เพราะน้ำที่รดลงดินไปจากน้ำเย็นๆจะแปรสภาพกลายเป็นไอความร้อนเมื่อโดนแดดเผาและระเหยขึ้นมาลวกต้นผักหวานป่า ทำให้ใบร่วง และอาจ"ตาย"ในที่สุด.

.....สำหรับในบางพื้นที่หรือบางท่านที่อาจจะไม่สะดวกในการนำปุ๋ย"อสุภะ"(ปุ๋ยเทศบาล)มาใช้ สามารถทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารที่หาได้จากครัวเรือน หรือตามโรงอาหาร ร้านอาหาร นำมาทำการหมักเพื่อเป็นหัวเชื้อ ก่อนจะผสมน้ำเจือจางแล้วนำไปรดปรับปรุงดินในหลุมปลูกผักหวานป่า ซึ่งแร่ธาตุคุณค่าทางอาหารไม่แตกต่างกันกับ"ปุ๋ยวิเศษ"(ต้นเหตุและปลายเหตุ).

.....หลายท่านอาจจะสงสัยว่าสามาถนำปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์หรือปุ๋ยหมักจากผัก ผลไม้ต่างๆได้หรือไม่ จากการทดลองใช้เอง(สารพัดขี้-มูลสัตว์)รวมถึงการแนะนำให้ผู้ปลูกผักหวานหลายๆท่านได้ทดลองใช้ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ผลปรากฎว่าไม่ค่อยเอื้อต่อการเจริญเติบโตของผักหวานมากนัก(แต่ก็ยังดีกว่าให้แต่น้ำเปล่าๆโดยไม่มีอาหาร).

.....อีกมุมหนึ่งของลักษณะนิสัยใจคอ(ตัวตน)ของผักหวานป่าที่ข้าพเจ้าและคุณโอภาส ไชยจันทร์ดี ได้เรียนรู้จากผักหวานป่า ตลอดเวลา10กว่าปีที่ผ่านมาทำให้ทราบว่า(พบว่า)ผักหวานป่า เป็นพืชที่มีความผูกพันธ์กับมนุษย์เรามาก(ใจ-กาย)

.....ลักษณะนิสัยของผักหวาน การกิน การอยู่ การดำเนินชีวิต(เจริญเติบโต)สิ่งที่จำเป็น สิ่งที่ต้องการ(ตัวตน) การหลับ การตื่นนอน คล้ายกับมนุษย์เรามากค่ะ (ยิ่งเห็น-รู้จักเข้าใจตัวตนของผักหวานป่ามากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เราได้รู้จักและค้นพบตัวเองได้มากเช่นกัน"ความเป็นธรรมชาติไร้สิ่งปรุงแต่ง-กำหนด"เปรียบเหมือนเป็นกระจกสะท้อนให้กับตัว-ใจของเราเอง.

.....ดังนั้นปุ๋ยที่นำมาปรับปรุงบำรุงดินบริเวณหลุมปลูกผักหวาน หากเป็นปุ๋ยที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ นอกเหนือจากความเป็นปุ๋ยแล้ว สิ่งที่ผักหวานป่าสัมผัสได้จากมนุษย์เราคือฮอร์โมน(กลิ่น-อารมณ์ความรู้สึก) จิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์"ใจ"...

.....สิ่งที่คนทิ้ง คนรังเกียจ บอกว่าไม่ดี(สกปรก) แต่ดินบอกว่าดี ต้นไม้บอกว่าชอบ.....

        

วิธีการรดน้ำต้นกล้าผักหวานป่าด้วยสายยาง ไม่ควรเปิดแรงดันน้ำที่แรงและรดน้ำลงดินให้น้ำไหลซึมเข้าไปหาต้นกล้าผักหวานแทนการฉีดพ่นที่ใบ

        

ในการรดน้ำสำหรับต้นผักหวานป่าที่โตๆก็เช่นเดียวกันควรรดที่ดินพื้นร่างให้ชุ่มชื้นมากกว่าการฉีดพ่นน้ำใส่ที่ใบ-กิ่งก้านโดยตรง(ผักหวานไม่ชอบรดน้ำที่ใบ ไม่ค่อยออกยอด สังเกตุได้กับในฤดูฝนที่ไม่ออกยอดแต่ตรงกันข้าม ให้ดินเปียกแต่ข้างบนต้นกิ่ง-ก้าน-ใบ แห้ง จะออกยอดออกดอกได้ดีมากค่ะ...

.....ที่ผ่านๆมาการให้ปุ๋ยกับผักหวานป่าของเกษตรกรที่ผิดชนิด ผิดวิธี และไม่ตรงกับฤดูที่ผักหวานป่าต้องการความต่อเนื่องของอาหาร แต่เน้นความสะดวกและทำตามใจผู้ปลูกเป็นหลัก ซึ่งไม่ถูกต้องและเหมาะสมกับลักษณะนิสัย(ใจ)ความเป็นตัวตนของผักหวานป่าจึงทำให้ผักหวานป่าที่ปลูกส่วนมากมักจะตายหรือเลี้ยงไม่โต ถึงแม้จะเป็นต้นกล้าที่ปลูกในระยะถั่วงอก...

.....ผักหวานป่าเป็น"พืชวิถีพุทธ"ไม่มีสูตรตายตัวในแต่ละพื้นที่(ความรู้เกิด-ต่อ ได้เองจากการลงมือปฎิบัติด้วยใจรัก) ซึ่งความรู้ที่ข้าพเจ้าได้นำมาเผยแพร่ให้กับทุกท่านในวันนี้เป็นแนวทางที่ได้จากการปฎิบัติ-เห็นผล.อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น.

...... เพื่อเป็นประโยชน์ เป็นทางลัด(เวลา)สำหรับท่านที่จะปลูกผักหวานป่าและนำผักหวานป่าปลูกเพิ่ม-เสริมความหลากหลายให้กับพื้นที่ของท่าน เพื่อรับรู้และทำความเข้าใจ(เปิดใจยอมรับตัวตนที่ผักหวานป่าเลือกที่จะเป็น) "แค่เข้าใจ ไม่ต้องเอาใจ"เพียงเท่านี้การปลูกผักหวานป่าให้สำเร็จก็อยู่แค่เอื้อมค่ะ...

.....สำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับช่วงเวลาผักหวานป่าตื่นนอน วิธีการให้ปุ๋ย ชนิดของปุ๋ยฯลฯตามที่ได้นำเรียนกับทุกๆท่านมาแล้วในเบื้องต้น ซึ่งความรู้ที่เกิดจากการปฎิบัติด้วยหัวใจรักผักหวานป่า ของ"อุฑยานผักหวานป่า'๔๔" ที่ข้าพเจ้าได้นำมาฝากทุกๆท่านในวันนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะทำให้ผู้ที่มีใจรักษ์ในผักหวานป่าได้รับรู้และเข้าใจไม่มากก็น้อยนะคะ.

                  .....เรื่องราวคงต้องจบลงเพียงเท่านี้..สวัสดีค่ะ!

หมายเลขบันทึก: 470610เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2011 19:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2012 12:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

มาดูการบำรุงผักหวานป่า เหมือนที่เมืองกาญจน์เลยครับ

  • ท่อน้ำแตกหน้าตึกยังนึกต่อ
  • นึกว่าท่อน้ำที่มีอยู่ทั่ว
  • หมดน้ำกินสิ้นน้ำใช้ใจยังกลัว
  • น้ำยังรั่วใจยังร้อนอ่อนอารมณ์ เอย

 

ผมปลูกที่บ้านไม่ค่อยจะรอดเลย ต้นเล็กๆเผลอแป๊บเดียวตัวอะไรมากินหมดทุกที เป็นความรู้ใหม่ว่าเขาจะแตกยอดได้หน้าหนาว ผมเข้าใจว่าเมื่อฝนมาเสียอีก

เมื่อสองปีที่แล้ว..พยายาม..ปลูกผักหวานป่า..ร้อยต้น..ตายเรียบ..อ้ะ"ปลูกตามคำแนะนำของผู้ขายพันธุ์"..อ่านหน้านี้แล้ว..มีกำลังใจว่า..ทดลองอีกคราวนี้คงรอดบ้าง..อ้ะ..กำลังรอโอกาศ..ฝนหน้าฟ้ายังมี..อิอิ..ยายธีเจ้าค่ะ

ขอบพระคุณทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมและมอบดอกไม้กำลังใจค่ะ

สวัสดีค่ะคุณนกขมิ้น! สวัสดีค่ะยายธี!

....ปีนี้มาเริ่มใหม่กับผักหวานป่า ก้าวเดินไปด้วยกันพร้อมๆกันกับอุฑยานผักหวานป่านะคะ ในการเก็บยอดผักหวานป่าที่ปลูก อีก3ปีข้างหน้า...

...พื้นที่ๆดินดีน้ำดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะเมืองกาญจ์ 2ปีก็ได้เก็บยอดรับประทาน

...ขอแนะนำให้ท่านๆที่จะปลูกผักหวานป่า ติดต่อสั่งซื้อเมล็ดสุกของผักหวานป่ามาทำการเพาะเพื่อปลูกเองในพื้นที่...

...ติดตามข้อมูลวิธีการเพาะต้นกล้าผักหวานป่าได้ในบันทึกต่อๆไปนะคะ

  • สวัสดีค่ะ
  • ปลูกผักหวานไว้เกินห้าปีแ้ล้วค่ะแต่ต้นยังเตี้ยอยู่เลย
  • ประมาณคืบเศษ
  • เลยเอาตะขบไปปลูกไว้ใกล้ๆค่ะ
  • อยากทราบว่าคุณน้อยเพาะต้นตะขบบอย่างไรค่ะ
  • เพราะว่าเพาะไว้๒สัปดาห์แล้วยังไม่งอกเลยค่ะ
  • หรือว่าไปตอนกิ่งมาเลย
  • ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณสุภัทรา

-ต้นตะขบที่นำมาปลูกนั้นจะต้องเป็นต้นที่งอกขึ้นโดยเมล็ดเท่านั้น

-ส่วนต้นตะขบที่งอกขึ้นจากรากไม่ควรนำมาปลูกเพราะไม่มีรากแก้ว ทำให้โค่นล้มได้ง่ายๆ

....วิธีการเพาะต้นตะขบ

1.เก็บลูกสุกแดงๆของตะขบมาจากต้น

2.นำลูกตะขบแช่น้ำในขัน ขยี้ๆลูกตะขบให้เละจะเห็นเมล็ดข้างในเม็ดเล็กๆเยอะมากในหนึ่งลูกมีเป็น1,000เมล็ด

3.แช่เมล็ดตะขบไว้ในน้ำประมาณ1คืน(เพื่อเจือจางความหวาน)

4.จัดหากะละมังหรือถาดมา1ใบ

5.กรอกดินร่วนปนทรายเล็กน้อยใส่ถุงดำเพาะชำ

6.เทน้ำลงในกะละมังให้ระดับน้ำสูงเพียงครึ่งหนึ่งของถุงดิน

7.นำถุงดำที่กรอกดินเสร็จแล้วจัดเรียงในกะละมัง ดินในถุงจะดูดซับน้ำจากด้านล่างก้นถุงข้นมาข้างบน

8.ทำการเทราดเมล็ดตะขบที่ขยี้และแช่น้ำไว้แล้วลงบนดินในถุงเพาะ

9.นำกะละมังเพาะไปตั้งในจุดที่มีแสงแดด

10.ประมาณ 7วันจะเห็นจุดเล็กๆสีเขียวๆเต็มใถงเพาะ(ต้นตะขบเริ่มงอก)

11.ในการรดน้ำให้เทน้ำลงในกะละมัง ห้ามเทลาดลงบนถุงเพาะโดยตรงเพราะจะทำให้เมล็ดหรือต้นกล้าตะขบเล็กๆพลิกไปพลิกมา

12.ในการเติมน้ำ(ให้น้ำ)แต่ละครั้งควรให้ทีละน้อย สังเกตดูหน้าดินบนถุงเพาะอย่าให้แหรือแห้งจนเกินไป เพราะจะทำให้ต้นกล้าเล็กๆเน่าหรือแห้ง

13.น้ำหากเติมทีละมากๆเผื่อไว้ก็จะกลายเป็นน้ำร้อน

14.เมื่อต้นกล้างอกได้ประมาณ 5เซนติเมตร ทำการย้ายมาชำในถุงเพาะอีกที

15.เมื่อความสูงของต้นได้30-40 เซนติเมตร ค่อยนำไปปลูก

16.เมล็ดตะขบที่ขยี้แช่น้ำแล้ว สามารถนำไปเทราดลงตามกระถางต้นไม้ที่รดน้ำทุกวันก็ได้ หรือจะเทใส่ในในปี๊บบัวเทราดลงขอบแปลงผักก็ได้เช่นกันคะ.

...หากจะให้ได้ต้นกล้าตะขบที่งอกจากเมล็ดและง่ายกว่าการเพาะให้ไปหาตามบ่อปลาที่มีต้นตะขบอยู่ขอบบ่อ หรือตามห้วยที่มีต้นตะขบต้นโตๆอยู่ริมห้วย ในหน้าแล้งที่น้ำเริ่มลดระดับลงเมล็ดตะขบก็จะงอกขึ้นเอง แถมโตไว ต้นแข็งแรงกว่าการเพาะ

...บริเวณที่ดินดีๆปลูกตะขบ3-4เดือนตะขบก็โตพอที่จะปลูกผักหวานได้แล้วค่ะ

...ส่วนต้นผักหวานที่ไม่ตายแต่ไม่โตนั้น เหตุส่วนหนึ่งมาจากการเพาะต้นกล้าที่ผิดวิธีรวมถึงดินที่ใช้เพาะต้นกล้าอาจจะเป็นแกลบดำ

...ต้นตะขบที่นำมาปลูกเพื่อเป็นร่มเงาให้กับต้นผักหวานที่มีอยู่แลวควรปลูกห่างจากต้นผักหวานป่าประมาณ 1ช่วงแขนนะคะ เพื่อไม่ใหรากกระทบกระเทือน.

...อย่าลืมให้อาหาร รดน้ำปุ๋ยให้ลูกผักหวานด้วยนะคะ 5ปีโตแค่คืบกว่าๆสงสัยจะเป็นโรคขาดอาหารอย่างแรงนิ...

...ทดลองดูนะคะ ยังมีเวลาหลายเดือนกว่าเมล็ดผักหวานป่าจะสุกค่ะ

ปลูก 2 ปี ยังไม่ถึงเข่าเลย

สวัสดีค่ะคนมุก.

...มีหลายเหตุหลายปัจจัยที่ทำให้ผักหวานไม่ตายแต่ไม่โต(โตช้ามาก).

...อ่านได้จากบันทึกสูตรปลูกผักหวานป่าที่ประหยัดที่สุด1-8 ค่ะ.

ขอบคุณทุกๆท่านสำหรับดอกไม้กำลังใจที่มอบให้ค่ะ.

สวัสดีค่ะคุณน้อย

วันนี้ เด็กชายคมเก็บลูกตะขบมาให้ห้าลูก

และมายืนเฝ้าหน้าจอ ให้ป้าพาเข้ามาอ่านวิธีเพาะต้นตะขบ :)

เพื่อนๆตามมาเป็นพรวน (ศิษย์บังเกิด...กล้า พาเกิดผลแท้ๆค่ะ อิอิ)

ฟ้องคุณน้อยนะคะ นายคมเค้าใจดี ตะโกนถามป้าว่า "กินมะยมหวานไหมป้าอ้อย" กินๆๆ

ขณะกำลังเข้ามามอบดอกไม้ให้คุณน้อย นายคมก็ยื่นมะยมมาให้หนึ่งลูก

ป้ารับมาเข้าปากเคี้ยวกร้วม... ร้อง"ว้ากก..." เปรี้ยวจี๊ดจ๊าด กระตุกประสาทขนาด :)

นายคมชอบใจเอิ๊กอ๊าก พร้อมลูกคู่คือเด็กหญิงฟ้ากับปูเป้

 

ตาตื่น ตื่นตาแล้วก็พากันอ่านวิธีเพาะลูกตะขบต่อ

อ่านกันแบบละเอียดมาก ป้าจะข้ามข้อมูลผักหวานสองบรรทัดยังไม่ยอมเลยค่ะ

ตอนนี้ นักเรียนรู้พากันนำกล้องไปเก็บภาพต้นตะขบแม่พันธุ์ที่เก็บลูกมา

คงต้องเตรียมสมุดปากกา ให้เด็กๆฝึกเก็บข้อมูลเป็นลายลักษร์อักษรด้วยตนเองแล้วค่ะ

คาดว่าอาทิตย์หน้า จะเข้าไปเรียนรู้วิธีทำขนมบัวลอยจากสื่อเรียนรู้คุณป้าหนูรีกัน

ขอบคุณมากนะคะ

 

.....ผักหวานป่าเป็น"พืชวิถีพุทธ"ไม่มีสูตรตายตัวในแต่ละพื้นที่

... "แค่เข้าใจ ไม่ต้องเอาใจ"!!!

.....อีกมุมหนึ่งของลักษณะนิสัยใจคอ(ตัวตน)ของผักหวานป่าที่ข้าพเจ้าและคุณโอภาส ไชยจันทร์ดี ได้เรียนรู้จากผักหวานป่า ตลอดเวลา10กว่าปีที่ผ่านมาทำให้ทราบว่า(พบว่า)ผักหวานป่า เป็นพืชที่มีความผูกพันธ์กับมนุษย์เรามาก(ใจ-กาย)

.....ลักษณะนิสัยของผักหวาน การกิน การอยู่ การดำเนินชีวิต(เจริญเติบโต)สิ่งที่จำเป็น สิ่งที่ต้องการ(ตัวตน) การหลับ การตื่นนอน คล้ายกับมนุษย์เรามากค่ะ (ยิ่งเห็น-รู้จักเข้าใจตัวตนของผักหวานป่ามากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เราได้รู้จักและค้นพบตัวเองได้มากเช่นกัน"ความเป็นธรรมชาติไร้สิ่ง ปรุงแต่ง-กำหนด"เปรียบเหมือนเป็นกระจกสะท้อนให้กับตัว-ใจของเราเอง.

.....ดังนั้นปุ๋ยที่นำมาปรับปรุงบำรุงดินบริเวณหลุมปลูกผักหวาน หากเป็นปุ๋ยที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ นอกเหนือจากความเป็นปุ๋ยแล้ว สิ่งที่ผักหวานป่าสัมผัสได้จากมนุษย์เราคือฮอร์โมน(กลิ่น-อารมณ์ความรู้สึก) จิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์"ใจ"...

.....สิ่งที่คนทิ้ง คนรังเกียจ บอกว่าไม่ดี(สกปรก) แต่ดินบอกว่าดี ต้นไม้บอกว่าชอบ.....

 

อ่านแล้วชอบใจมากค่ะคุณน้อย

เนินผักหวานป่าของพี่ คงได้บำรุงอย่างดี จากสิ่งที่...มนุษย์ทิ้งแล้วสองบ่อค่ะ

ขอบคุณ และอนุโมทนาบุญสำหรับธรรมทานและวิทยาทานอีกครั้งนะคะ สาธุค่ะ

 

 

สวัสดีค่ะคุณทวีศักดิ์...ต้นกล้าที่เพาะจำหน่ายมีหลายที่ค่ะและคุณภาพของต้นกล้าก็แตกต่างกันจึงไม่อาจแนะนำได้อย่างมั่นใจค่ะ

ก่อนจะปลูกผักหวานป่าหรือหาต้นกล้าควรศึกษาวิธีปลูกและเตรียมความพร้อมของไม้ร่มเงาไว้ในแปลงปลูกก่อนนะคะ

http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=73555.0

ขอบคุณค่ะ...

ผมปลูกผักหวานมาแล้วประมาณ ๖ เดือน เดียวคราวหน้าไปสวนจะถ่ายรูปมาให้ชมครับ

ขอบคุณและยินดีค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท