ความคิดที่เข้ามาศึกษาวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล


        ในการศึกษาวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลได้มีการศึกษาที่แบ่งให้เห็นได้อย่างชัดเจน ได้แก่ การศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายขัดกัน และ การศึกษาเกี่ยวกับการจัดการสถานะบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งจากการที่ได้มีการศึกษาวิชานี้ในครั้งแรกในระดับปริญญาตรีนั้น รู้สึกว่าวิชานี้ค่อนข้างมีความซับซ้อน
       หากเป็นการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายสัญชาติจำเป็นต้องมีการศึกษาจนสามารถทราบได้ว่าบุคคลนั้น เกิดที่ใด เมื่อไร บิดา – มารดาเป็นใคร ซึ่งก็จะทำให้เราสามารถทราบถึงความเป็นมาของบุคคลดังกล่าวได้ ทำให้บุคคลนั้นมีสิทธิที่เขาควรจะได้รับตามรัฐธรรมนูญหรือสิทธิที่เขาควรจะได้รับตามหลักสิทธิมนุษยชนที่เป็นสากลต่าง ๆ มากมาย และจากการได้ติดตามข่าวสารที่ผ่านมาในบัจจุบันพบว่ามีบุคคลที่สมควรที่จะได้รับการช่วยเหลือเพื่อให้เขาเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากประเทศที่เขาอยู่ หรือได้รับสิทธิตามที่เขาควรจะได้ ซึ่งการจากการศึกษาในกฎหมายสัญชาติเป็นการช่วยเหลือในขั้นต้นเพื่อให้เขาได้รับสิทธิต่าง ๆ ตามมาในภายหลังจากการที่ได้มีการพิสูจน์การเป็นบุคคลตามกฎหมายของเขาแล้ว
        ในเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาในส่วนของกฎหมายขัดกันนั้น      จากการที่โลกมีการเปิดเสรีมากขึ้น ทำให้มีการติดต่อกันระหว่างคนในประเทศต่าง ๆ มากขึ้น      ทำให้มีการก่อนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในประเทศต่าง ๆ อย่างมากมาย ซึ่งการที่ได้มีการศึกษาจากเรื่องกฎหมายขัดกันทำให้ทราบว่าหากมีปัญหาเกิดขึ้นกันระหว่างบุคคลที่มีสัญชาติต่างกันนั้น ควรจะนำกฎหมายของประเทศใดมาเป็นตัวกำหนดในการขจัดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นหากว่าไม่สามารถหาข้อยุติในการใช้กฎหมายที่จะมากำหนดในการแก้ไขปัญหาให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งในเรื่องของการใช้กฎหมายในการแก้ไขปัญหาการขัดกันแห่งกฎหมายมีเรื่องต่าง ๆ ที่นำหลักกฎหมายขัดกันมาช่วยในการแก้ไขปัญหา ได้แก่เรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (1) เรื่องสถานะและความสามารถของบุคคล (2) เรื่องหนี้ (3) เรื่องทรัพย์ (4) เรื่องครอบครัว (5) เรื่องมรดก
   จากการที่ได้ศึกษาวิชาปัญหากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลทำให้ทราบถึงประโยชน์ของการศึกษาวิชานี้ เพราะเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าในปัจจุบันปัญหาคนไร้สัญชาติในประเทศไทยมีอยู่เป็นอันมาก ซึ่งบุคคลที่ไม่มีสัญชาติอาจจะไม่ทราบถึงหลักกฎหมายที่มีอยู่ทำให้เขาไม่ได้รับสัญชาติที่เขาควรจะได้ซึ่งส่งผลที่ตามมาคือทำให้เขาไม่ได้รับสิทธิที่ควรจะได้ตามหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งในปัจจุบันนอกจากคนที่ไม่มีสัญชาติแล้ว ก็ยังมีบุคคลไร้รากเหง้าอีก โดยในขณะนี้รัฐบาลก็มีนโยบายที่ให้ความช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ในส่วนของประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาในกรณีของกฎหมายขัดกัน ทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในประเด็นต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในสังคมได้ ซึ่งการที่เลือกมาเรียนในวิชานี้ ในครั้งแรกที่เรียนในระดับปริญญาตรีรู้สึกว่าวิชานี้ยากมาก เพราะต้องรู้ในลายละเอียดของตัวตุ๊กตาที่เราต้องนำมาศึกษาเพื่อที่จะมาเทียบกับปี พ.ศ. ที่มีใช้บังคับในขณะที่ตัวตุ๊กตาเกิดซึ่งในขณะนั้น ซึ่งก็ต้องทราบถึงความเป็นมาของ        บิดา – มารดา ของตัวตุ๊กตาอีกเพื่อมาประกอบในการพิจารณาประเด็นเรื่องสัญชาติ นอกจากการได้มาของสัญชาติแล้วก็ยังมีเรื่องประเด็นอื่น เกี่ยวกับสถานะของบุคคลต่าง ๆ อีก ซึ่งถ้าเราไม่ทราบถึงกฎหมายว่าด้วยสัญชาติเราก็อาจะพลาดสิทธิต่าง ๆ ที่เราควรจะได้รับ พอมาศึกษาในระดับปริญญาโทก็ทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น ได้มองเห็นว่าในแต่ละประเทศก็จะมีมุมมองของการศึกษาในประเด็นของกฎหมายขัดกันที่ไม่เหมือนกัน นอกจากนี้เมื่อโลกได้เปิดกว้างมากขึ้นก็ทำให้มีบุคคลต่างด้าวหลักไหล่เข้ามาสู่ประเทศไทยมายิ่งขึ้น ปัญหาต่าง ๆ ก็จะตามมา ดังนั้น การที่มาเลือกลงศึกษาวิชานี้ ในครั้งแรกมาจากคำแนะนำของอาจารย์ เพราะในขณะนั้นก่อนที่จะทำการลงทะเบียนก็ยังไม่ทราบถึงความจำเป็นของการศึกษาวิชานี้ แต่พอได้ทำการศึกษาแล้วรู้สึกว่าได้รู้อะไรที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รู้ว่าวิชานี้สามารถช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้ รวมถึงปัญหาที่อาจจะเกิดตามมาจากการที่มีคนหลั่งไหลเข้ามาในประเทศมากยิ่งขึ้น 

หมายเลขบันทึก: 47005เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2006 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ในวิทยานิพนธ์ของณัติยานั้น จะมีการใช้หลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลในการวิเคราะห์ความเป็นต่างด้าวของผู้ประกอบการในตลาดเสรีไหมคะ ?

ขอบคุณสำหรับคำถามที่เสมือนข้อเสนอแนะนะค่ะ
 ในวิทยานิพนธ์ของข้าพเจ้าจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ความเป็นต่างด้าวของผู้ประกอบการในตลาดเสรี เนื่องจากเมื่อมีการเปิดเสรีแล้วทำให้มีการหลั่งไหล

เช้ามาของคนชาติต่าง ๆ โดยอาจมีการเข้ามากันในหลายรูปแบบแต่อย่างหนึ่งก็คือการเข้ามาประกอบการต่าง ๆ โดยเราสามารถจำแนกผู้ประกอบการต่างด้าวได้ดังนี้
 1) บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
 2) นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย
 3) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยโดยบุคคลธรรมดา ซึ่งไม่มีสัญชาติไทยหรือนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยมีการลงทุนตั้งแต่ร้อยละ 50

ของทุนทั้งหมดในนิติบุคคล หรือมีหุ้นเป็นทุนตั้งแต่ร้อยละ 50 ของหุ้นที่เป็นทุนทั้งหมด
 4) ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
โดยผู้ประกอบการดังกล่าว อาจเป็นผู้ประกอบการต่างด้าวที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทยหรืออาจเป็นผู้ประกอบการต่างด้าวซึ่งไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย ดังนั้น ใน

วิทยานิพนธ์นี้เป็นวิทยานิพนธ์ที่มีการเปิดเสรี ซึ่งเห็นได้จากจะมีการเข้ามาของผู้ประกอบการต่างด้าวซึ่งจำเป็นต้องใช้หลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลมา

เป็นตัววิเคราะห์ความเป็นต่างด้าวของผู้ประกอบการด้วย ซึ่งในพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ได้กำหนดว่าสาขาของธนาคารต่างประเทศต้องก่อตั้งเป็น

บริษัทมหาชนจำกัด ดังนั้น ผู้เขียนคิดว่าในส่วนของนิติบุคคลนั้น จะศึกษาเฉพาะนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดเท่านั้น
 ดังนั้น ในวิทยานิพนธ์จะมีการปรับเพิ่มบทที่เกี่ยวกับความเป็นต่างด้าวของผู้ประกอบการในการเปิดเสรีการค้าบริการทางการเงินสาขาธนาคาร ดังนี้
 1. คำนิยามของผู้ประกอบการต่างด้าว
     1.1 บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
     1.2 นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย
     1.3 นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยแต่ผู้ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 50 เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยหรือนิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนใน

ประเทศไทย
     1.4 ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนในประเทศไทยโดยหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการเป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
 2. สถานะความเป็นต่างด้าวของผู้ประกอบการ
      2.1 ผู้ประกอบการสัญชาติไทย
      2.2 ผู้ประกอบการสัญชาติไทยที่มีภูมิลำเนาในต่างประเทศ
      2.3 ผู้ประกอบการต่างด้าวซึ่งมีภูมิลำเนาในประเทศไทย
      2.4 ผู้ประกอบการต่างด้าวซึ่งมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ
 3. ประเภทผู้ประกอบการต่างด้าวสาขาธนาคาร
     3.1 บริษัทจำกัด
     3.2 บริษัทมหาชนจำกัด
 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท